ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนไหน พร้อมวิธีดูแลฟันแท้ตามช่วงวัย

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนไหน พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

12.04.2024

ฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นซี่แรกเมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน และจะทยอยขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง และเมื่อลูกอายุประมาณ 6 ปี ฟันน้ำนมจะเริ่มทยอยหลุดออก โดยมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งฟันแท้จะมีจำนวนทั้งหมด 32 ซี่ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลการทำความสะอาดฟันของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยมีการดูแลฟันอย่างถูกวิธีและเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุด

headphones

PLAYING: ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนไหน พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ จะเริ่มขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 เดือน และจะเริ่มทยอยหลุดออกไปเมื่ออายุ 6 ปี และจะหลุดซี่สุดท้ายเมื่อตอนอายุประมาณ 11-12 ปี
  • ฟันแท้จะมีทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 32 ซี่ และแบ่งเป็นฟันซี่ล่าง 16 ซี่ และฟันซี่บนอีก 16 ซี่ ฟันแท้เริ่มทยอยขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6 ปี โดยขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมไปเรื่อย ๆ จนครบทุกซี่เมื่ออายุประมาณ 18 ปี

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มขึ้นตอนไหน

ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มขึ้นตอนลูกมีอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยจะเริ่มขึ้นมาตรงกลางด้านหน้าของขากรรไกรล่าง 2 ซี่ และจะขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง และเมื่อลูกอายุ 6 ปี ฟันน้ำนมก็จะเริ่มทยอยหลุดออกไป และจะเริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมต่อไป

 

ฟันน้ำนมหลุดซี่สุดท้าย เมื่อลูกอายุเท่าไหร่

ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มทยอยหลุดออกไปตอนช่วงอายุประมาณ 6 ปี และฟันน้ำนมหลุดซี่สุดท้ายเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี

 

ฟันน้ำนมหลุดซี่สุดท้าย ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ

 

ฟันน้ำนมหลุดช้ากว่าปกติ จะเป็นอะไรไหม

ฟันน้ำนมจะเริ่มทยอยหลุดออกไปในช่วงอายุ 6-12 ปี ฟันแท้ก็จะเริ่มขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมเช่นกัน แต่ถ้าหากฟันน้ำนมหลุดช้ากว่าปกติ ก็มีโอกาสเกิดภาวะฟันซ้อนได้ เพราะเมื่อฟันน้ำนมไม่หลุดตามกำหนด ฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทน และจะมีการซ้อนกันระหว่างฟันแท้และฟันน้ำนม ซึ่งถ้าเด็กเกิดปัญหาฟันน้ำนมหลุดช้ากว่ากำหนดและฟันแท้ขึ้นมาซ้อนกัน ก็ควรเข้าพบทันตแพทย์พิจารณาการถอนฟันน้ำนม เพื่อจะได้ไม่ให้เกิดภาวะฟันซ้อน ซึ่งอาจทำให้มีผลกระทบต่อการเรียงตัวของฟันของลูกในอนาคต

 

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ จะเริ่มขึ้นจากซี่ไหนก่อน

โดยธรรมชาติ ฟันแท้จะเริ่มขึ้นเมื่อลูกอายุได้ 6 ขวบ โดยจะเป็นฟันกรามล่าง ซึ่งจะอยู่ถัดจากฟันน้ำนมซี่ในสุด ซึ่งฟันแท้ซี่แรกที่ขึ้นมานี้ คุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นฟันน้ำนม เพราะขึ้นมาเป็นซี่แรกและอยู่ด้านในสุดของช่องปาก และไม่ได้ขึ้นแทนที่ฟันน้ำนมแต่อย่างใด ฟันแท้ซี่นี้จะทำหน้าที่เป็นฟันแท้ชุดแรกที่ช่วยบดเคี้ยวอาหารเป็นหลัก และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กอีกด้วย

 

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันแท้ขึ้นครบ 32 ซี่ ลูกจะอายุเท่าไหร่

ฟันแท้จะมีจำนวนทั้งหมด 32 ซี่ โดยแบ่งเป็นฟันซี่ล่าง 16 ซี่ และฟันซี่บนอีก 16 ซี่ โดยฟันแท้แต่ละซี่จะขึ้นในช่วงอายุที่แตกต่างกัน รวมถึงมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ฟันแท้จะมีหน้าที่แตกต่างกันด้วย เช่น ฟันเขี้ยวทำหน้าที่ฉีกอาหารให้แยกออกจากกัน ฟันหน้ามีหน้าที่กัดหรือตัดอาหาร ทำให้ฟันกรามเคี้ยวบดง่ายขึ้น ฟันกรามและฟันกรามน้อยทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารที่ฉีกขาดและมีขนาดเล็กให้ละเอียดมากขึ้น

 

ความแตกต่างของฟันน้ำนมและฟันแท้ คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ไม่ยาก

คุณพ่อและคุณแม่สามารถสังเกตฟันได้ว่าเป็นฟันน้ำนมหรือฟันแท้ได้

  • ฟันแท้จะมีขนาดใหญ่กว่าฟันน้ำนม
  • ฟันแท้จะมีสีขาวอมเหลือง
  • ฟันแท้เริ่มทยอยขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6 ปี โดยขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมไปเรื่อย ๆ จนครบทุกซี่เมื่ออายุประมาณ 18 ปี
  • ฟันแท้จะมีจำนวนทั้งหมด 32 ซี่ ต่างจากฟันน้ำนมที่มีจำนวนทั้งหมด 20 ซี่
  • ฟันแท้ซี่ที่ 4 และซี่ที่ 5 นับจากกึ่งกลางใบหน้า จะเป็นฟันกรามน้อยขนาดเล็ก ซึ่งฟันน้ำนมจะมีแค่ฟันกรามเท่านั้น

 

วิธีดูแลฟันลูกน้อย ในแต่ละช่วงวัย

คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลฟันให้ลูกน้อย โดยแบ่งตามช่วงอายุของลูกได้ดังนี้

  1. เด็กอายุ 6 เดือน เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นมาแล้ว เริ่มจากการใช้นิ้วพันผ้าถูที่ฟันของลูกให้สะอาด และควรถูทำความสะอาดบริเวณเหงือกด้วย ซึ่งในช่วงนี้ฟันของลูกยังเล็กอยู่ การใช้แปรงสีฟันอาจจะยังเหมาะสมและไม่สะดวก เมื่อเทียบกับการใช้ผ้าพันนิ้วถูทำความสะอาดฟันของลูก
  2. เด็กอายุ 1-3 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ฟันของลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถเริ่มใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกแปรงฟันด้วยตัวเอง โดยลองแปรงฟันให้ลูกก่อน และควรฝึกให้ลูกบ้วนน้ำก่อนที่จะให้ลูกแปรงฟันด้วยตัวเอง เพราะหากลูกเผลอกลืนยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เข้าไป อาจส่งผลเสียต่อฟันของลูกได้
  3. เด็กอายุ 3-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มแปรงฟันเองได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยตรวจสอบความสะอาดในช่องปากของลูกหลังแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าสะอาดจริง และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจเช็คสุขภาพปากและฟัน รวมไปถึงรับคำแนะนำในการดูแลช่องปากและฟัน เพราะเด็กวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยว หรือกิจกรรมบางอย่างที่อาจทำให้มีปัญหากับฟันของลูกได้ เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้น
  4. เด็กอายุเด็ก 6 ปีขึ้นไป ในช่วงนี้ฟันแท้จะเริ่มขึ้นมาทดแทนฟันน้ำนมบ้างแล้ว ทำให้ฟันน้ำนมบางซี่จะเริ่มโยกและหลุดไปเอง แต่หากฟันแท้ขึ้นมาแล้ว แต่ฟันน้ำนมยังไม่ยอมหลุดนานเกิน 3 เดือน ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดกับฟันแท้ที่งอกมาใหม่อีกด้วย

 

ฝึกลูกแปรงฟันแบบไหนให้ได้ผล

คุณพ่อคุณแม่สามารถชักจูงให้ลูกมีความสนใจและอยากที่จะแปรงฟันได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  • ลองให้ลูกเลือกยาสีฟันและแปรงสีฟันด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแปรงที่มีขนนุ่มและมีลวดลายการ์ตูนต่าง ๆ ที่ลูกชอบ และควรซื้อแปรงสำรองไว้ 2-3 อัน เพื่อให้ลูกได้สนุกเพลิดเพลินกับการเลือกแปรงและมีความสุขกับการแปรงฟันมากขึ้น ในส่วนของยาสีฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกที่มีส่วนผสมฟลูออไรด์ และเลือกที่มีกลิ่นผลไม้ต่าง ๆ หลาย ๆ ชิ้น เพื่อให้ลูกได้เลือกยาสีฟันที่ต้องการด้วยตัวเองเช่นกัน
  • หาของเล่นที่ลูกชอบและให้ลูกถือขณะแปรงฟัน จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุกและผ่อนคลายขณะแปรงฟัน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงฟันพร้อมกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าการแปรงฟันเป็นเรื่องปกติและไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และทำให้ลูกรู้สึกคุ้นชินกับการแปรงฟัน และเพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะเปลี่ยนสถานที่แปรงฟันจากห้องน้ำเป็นที่ระเบียงหรือที่สนามก็สามารถทำได้เช่นกัน
  • ให้รางวัลลูกทุกครั้งที่แปรงฟันเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชม การหอมแก้มหรือการกอด ล้วนเป็นการสร้างกำลังใจให้ลูกรู้สึกภูมิใจที่แปรงฟันสำเร็จ

 

พัฒนาการตามช่วงวัยของลูกน้อย เมื่อลูกเริ่มมีฟันงอกขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นดูแลสุขภาพของเหงือกและฟันของลูก เช่น การใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นจัดนวดบริเวณเหงือกลูกเพื่อลดอาการปวดบวมของเหงือก หาของเล่นที่เป็นยางให้ลูกกัด ให้ลูกดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อชดเชยที่ลูกน้ำลายไหลมากกว่าปกติในช่วงฟันขึ้น และควรทาครีมบริเวณคอ คาง และหน้าอกของลูก เพื่อกันอาการแสบจากน้ำลายไหล ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพฟันที่ดีและรอยยิ้มของลูก

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ฟันน้ำนม/ฟันแท้ การขึ้น และการหลุดฟันน้ำนม/ฟันแท้, สมาคมส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพไทย (Thai Health Literacy Promotion Association)
  2. เคล็ดไม่ลับ..กับการดูแลช่องปากและฟันให้ลูกน้อย, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. ลูกไม่ยอมแปรงฟัน..จับให้มั่นฟังให้ดี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  4. ความสำคัญของฟันน้ำนม, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย เกิดจากอะไร เด็กเล่นน้ำลายบ่อย ผิดปกติไหม จะมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกชอบเล่นน้ำลาย

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็วเป็นอย่างไร ลูกฉลาดเกินวัย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเด็กปกติคือเด็กอัจฉริยะหรือเปล่า พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำยังไงดี ลูกกัดเต้าจนหัวนมแม่เป็นแผล คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม ทำไมลูกถึงชอบกัดหัวนมแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกกัดเต้าเป็นแผล

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก