ลูกอ๊วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี
ลูกอ๊วกท้องเสียมีไข้ อาการอาเจียน หรืออ้วกในเด็ก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ หลายครั้งอาการอาเจียนของเด็กมักจะใกล้เคียงกับการแหวะนม หรือสำรอกนม แต่บางครั้งก็รุนแรงและเป็นอาการที่นำไปสู่โรคร้ายได้ เพราะฉะนั้นหากลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสังเกตอาการร่วมด้วย เช่น ลูกมีไข้ ท้องเสีย ด้วยหรือไม่ หรือหากลูกอ๊วก ไม่มีไข้ ท้องเสีย ก็เสี่ยงกับโรคที่อาจจะอันตรายกว่าที่คิดได้
สรุป
- อาการอาเจียนในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อ หรือแม้แต่อาเจียนจากการไออย่างหนัก
- การอาเจียนกับการแหวะนมต่างกันตรงที่แหวะนมมักเกิดหลังให้นม และเป็นนมผสมน้ำไหลออกมา แต่การอาเจียนจะมีลักษณะพุ่งออกมา และเกิดไม่เป็นเวลา มักเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย
- การอาเจียนที่เป็นอันตรายที่สุดของลูกคืออาเจียนถี่และบ่อย อาเจียนเป็นสีเขียวหรือเหลืองซึ่งเป็นสีของน้ำดีและอาเจียนเป็นเลือด รวมถึงอาเจียนร่วมกับการขาดน้ำ ที่จำเป็นต้องพบแพทย์โดยด่วนอาการอาเจียนหรือการอ้วกในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ บางสาเหตุก็เกิดจากโรคที่ไม่รุนแรง แต่บางสาเหตุก็อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ลูกอ๊วกไม่มีไข้ไม่ท้องเสีย เกิดจากอะไร
- ลูกอาเจียนกับลูกแหวะนม แตกต่างกันอย่างไร
- ลูกมีไข้ ปวดหัว อาเจียน เสี่ยงเป็นโรคอะไร
- ลูกอ๊วก ปวดท้อง ท้องเสีย บอกโรคอะไรได้บ้าง
- ลูกอ๊วก ลูกอาเจียนแบบไหน คือสัญญาณอันตราย
- ลูกกินนมแล้วอาเจียนบ่อย อันตรายไหม
- ลูกอาเจียนแบบไหน ต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
ลูกอ๊วกไม่มีไข้ไม่ท้องเสีย เกิดจากอะไร
1. ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis)
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เชื้อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี คือ เชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus เชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น จาน ชาม ของเล่น พื้นที่ไม่สะอาด รับประทานอาหารที่ไม่สะอาดเข้าไป โดยเฉพาะในเด็กที่ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก อมของเล่นที่มีเชื้อโรคเกาะอยู่ ก็ทำให้ติดเชื้อโรคนี้ได้
2. แพ้อาหาร (Food Allergy)
เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อโปรตีนในสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดการปล่อยสารเคมีในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อาการแพ้อาจจะมีทั้งเป็นผื่นขึ้นตามตัว อาเจียน หรือหายใจติดขัด
3. อาการไออย่างรุนแรง (Hard Coughing)
การไอของลูกน้อยอย่างหนักทำให้ลูกอ้วกได้ เพราะไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณโคนลิ้นและคอหอย ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการอาเจียนได้
4. การติดเชื้ออื่น ๆ (Infections)
ในเด็กเล็ก เมื่อมีโรคติดเชื้อเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นใน หรือนอกระบบทางเดินอาหาร มักมีอาการอาเจียนร่วมด้วยเสมอ ทั้งอาจจะเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรงอย่าง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ หรืออาจจะมาจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง เช่น ทอนซิลอักเสบ ไข้หวัด เป็นต้น
ลูกอาเจียนกับลูกแหวะนม แตกต่างกันอย่างไร
การแหวะนม หรือการสำรอกนม เป็นอาการปกติของเด็กที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สับสนกับการที่ลูกอาเจียนเพราะป่วยได้ ลองมาดูกันว่า 2 ข้อนี้ต่างกันอย่างไร?
1. อาการแหวะนม
ทารกแหวะนม เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในเด็กแรกเกิด ซึ่งอาการก็จะมีลักษณะเป็นเหมือนเศษนมไหลออกจากปากเล็กน้อย ไม่ใช่ลักษณะของการอาเจียนหรือพุ่งออกมา การแหวะนมนี้เป็นอาการที่เกิดจากหูรูดบริเวณปากกระเพาะอาหารยังไม่กระชับนักทำให้เมื่อหนูน้อยดูดนมมากก็จะเกิดการไหลย้อนเอ่อออกมาทางปากนั่นเอง
2. อาการอาเจียน
การอาเจียนจะเป็นอาการที่แตกต่างจากการแหวะนมธรรมดา เพราะเป็นลักษณะที่นมจะพุ่งออกมาอย่างรุนแรงจากปากเด็ก และน้ำนมที่ออกมาจะมีกลิ่นเปรี้ยว
ลูกมีไข้ ปวดหัว อาเจียน เสี่ยงเป็นโรคอะไร
- โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง ลูกอ้วก ทารกท้องเสีย มีไข้ อาจเกิดขึ้นเพราะลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรต้าไวรัส ซึ่งมาจากของเล่น อาหาร หรือของใช้ใกล้ตัวที่ไม่สะอาด
- โรคไอพีดี หรือที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease (IPD) คือ โรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง เป็นโรคร้ายแรงที่อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้
- ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก โรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กโตขึ้นมาสักหน่อย จะมีลักษณะอาการคล้าย ๆ กับไข้หวัดทั่วไป มีไข้ ตัวร้อน ไอ จาม และในบางรายอาจมีอาการอาเจียน
- โรคไส้ติ่งอักเสบ หากลูกอ้วก ท้องเสีย มีไข้ และปวดท้องด้านล่างข้างขวา อาจเสี่ยงกับการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบได้ มักพบได้ในกลุ่มของเด็กโต
ลูกอ๊วก ปวดท้อง ท้องเสีย บอกโรคอะไรได้บ้าง
- โรคลำไส้กลืนกัน ซึ่งมักพบได้ในกลุ่มเด็กเล็ก อาการปวดท้องที่มักเกิดร่วมกับอาการ อาเจียนหลายครั้ง มีน้ำดีปน (อาเจียนเป็นสีเขียวหรือเหลือง) และถ่ายเป็นมูกเลือด
- โรคลำไส้อักเสบและอาหารเป็นพิษ มาพร้อมอาการปวดท้อง ที่มักเกิดร่วมกับถ่ายเหลว มีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจเป็น ซึ่งพบได้ในทุกอายุของเด็ก
- โรคเส้นเลือดในลำไส้อักเสบ ลูกจะมีอาการปวดท้อง ร่วมกับการมีผื่นขึ้นเป็นจ้ำ ๆ ปวดท้องรุนแรงมาก ปวดจนตัวบิด ไม่มีไข้
ลูกอ๊วก ลูกอาเจียนแบบไหน คือสัญญาณอันตราย
1. อาเจียนถี่บ่อยครั้ง
อาเจียนปนเลือดหรือน้ำดี ไม่สามารถดื่มน้ำได้ ปัสสาวะน้อยลง ริมฝีปากแห้ง ไม่มีเรี่ยวแรง หรือดูรู้สึกไม่สบาย นี่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ควรพาลูกไปพบแพทย์
2. อาเจียนถี่และพุ่ง
อาจเป็นอาการของโรคไวรัสลงกระเพาะ หรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ซึ่งอาจจะมีอาการทารกท้องอืด ร่วมด้วย
3. อาเจียนมีสีเขียวหรือเหลืองปนเขียว
สีเหล่านี้คือสีของน้ำดี อาเจียนแบบนี้จากน้ำดีที่ไหลย้อนเข้ามาในกระเพาะอาหารและอาจไหลเข้าหลอดอาหารและอาเจียนออกมา
4. อาเจียนเป็นเลือด
หากลูกอาเจียนที่มีเลือดหรือลิ่มเลือดปะปนออกมา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น และถือว่าเป็นอาการอันตรายที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
5. อาเจียนและมีอาการขาดน้ำ
เป็นการอาเจียนและมีอาการอาการท้องเสีย ลูกอ๊วกท้องเสีย อาจมีอุจจาระเหลว หรือมีเหงื่อออกมาก ปากแห้ง ง่วงซึม หรือเวียนศีรษะ
ลูกกินนมแล้วอาเจียนบ่อย อันตรายไหม
คุณแม่ต้องแยกเรื่องการอาการแหวะนม กับอาเจียนก่อน อาการแหวะนมในทารกนั้นเป็นเรื่องปกติ บางรายอาจแหวะนมไหลออกทางจมูกบ่อยครั้งได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังคือการสำลักที่น่ากลัวกว่า เพราะโดยธรรมชาติในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญไม่เต็มที่ เช่น กล้ามเนื้อหูรูด บริเวณหลอดอาหาร และกระเพาะ ทำให้เกิดการแหวะนมได้ง่าย
โดยเฉพาะในเด็ก 4 เดือนแรก จะมีโอกาสแหวะนมได้สูง เพราะลูกกินนมในปริมาณมาก ในขณะที่ความจุของกระเพาะยังน้อย และกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ หากลุกนอนหงาย ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแหวะนมได้ หรือแม้แต่มีอาการอาเจียนร่วมได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะหายไปได้เอง ภายในอายุ 12-18 เดือน แนะนำให้หลังกินนมแล้ว ให้จับนั่งหรือจับลูกไว้ในท่าอุ้มเรอ และให้นอนในท่านอนคว่ำหัวสูง ที่นอนตึง ช่วยลดอาการได้
แต่หากการอาเจียนเป็นลักษณะพุ่งออกมาจากปาก และน้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเป็นมากอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจได้
ลูกอาเจียนแบบไหน ต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
- อาเจียนและท้องเสียไม่หยุด ลูกอ๊วกท้องเสีย ทั้งสองอาการนี้จะมีเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ได้เลย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้ออักเสบลุกลามไปที่บริเวณอื่นได้
- อาเจียน และ ถ่ายเป็นเลือด หรือ เป็นสีดำจำนวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
- อาเจียนบ่อยครั้ง อาเจียนปนเลือดหรือน้ำดี ไม่สามารถดื่มน้ำได้
จะเห็นได้ว่าอาการอาเจียนของลูกนั้นมองข้ามไม่ได้เลย เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ไม่คาดคิดได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอาเจียน ลูกอ๊วกท้องเสีย และลูกอ๊วกไม่มีไข้ท้องเสีย ก็ต้องคอยสังเกตอาการและหากอาการไม่ดีขึ้น พาไปพบแพทย์ให้ไว จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- จุกหลอก ดีกับลูกน้อยจริงไหม จุกนมหลอก ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
- ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง
- สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
- วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
- เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร วิธีไหนที่ช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก
- ทารกไม่ยอมนอน ลูกร้องไห้งอแง นอนหลับยาก พร้อมวิธีรับมือ
- ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
- ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ
- ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น
- วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด อาการทารกเป็นไข้ ทารกตัวร้อน พร้อมวิธีวัดไข้
อ้างอิง:
- ‘ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก’ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- "การแพ้อาหารในเด็ก" เรื่องไม่เล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมพร้อม, โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน
- สัญญาณเตือนปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่ควรใส่ใจ, pobpad
- อาเจียนในเด็ก (Vomiting in children), doctorathome
- โรคระบบทางเดินอาหารและโภชนาการในเด็ก, โรงพยาบาลยันฮี
- รวม 6 โรคเด่น เด็กเสี่ยงเป็นมากที่สุดในหน้าฝน, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- เมื่อลูกปวดท้อง พ่อแม่อย่าชะล่าใจ! เพราะอาจร้ายแรงกว่าที่คิด, โรงพยาบาลพญาไท
- ลูกน้อยมีอาการตามนี้…พบหมอทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
- ภาวะฉุกเฉินในเด็ก ที่ต้องพบแพทย์ทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
- อ้วกเป็นสีเหลือง สาเหตุและสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์, pobpad
- ความหมาย อาเจียนเป็นเลือด, pobpad
- วิธีจัดการกับภาวะขาดน้ำในเด็ก, pobpad
- แหวะนม พบได้บ่อยในทารก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- แหวะนมในทารก เรื่องปกติที่ต้องระวัง, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง