2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

2'-FL คืออะไร รู้จัก 2'-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

18.05.2020

คุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือผ่านหู ผ่านตากันมาบ้างแล้วนะคะ กับคำว่า 2’-FL บางท่านอาจจะพอรู้แล้วว่าเจ้า 2’-FL คืออะไร แต่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ เพื่อคลายความสงสัยวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ รู้จัก 2’-FL ซึ่งเป็น HMOs ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่  

headphones

PLAYING: 2'-FL คืออะไร รู้จัก 2'-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

อ่าน 4 นาที

2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs) 
สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อพัฒนาการที่ไม่สะดุดของลูกน้อย  

 

2’-FL คืออะไร คุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือผ่านหู ผ่านตากันมาบ้างแล้วนะคะ แต่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ เพื่อคลายความสงสัยวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ รู้จัก 2’-FL กันเลย  

 

รู้จัก 2’- FL  คืออะไรและพบได้ที่ไหนบ้าง 


คุณแม่รู้ไหมว่า นมแม่ที่ลูกดูดทุกวันนั้น ให้คุณประโยชน์ที่ช่วยให้ลูกแข็งแรงและเป็นการสะสมภูมิต้านทานให้กับลูกของคุณ และเจ้า 2’- FL หรือ  2’- ฟูโคซิลแลคโตส)  (2’-Fucosyllactose) พบในนมแม่ค่ะ และ 80%  ของแม่หลังคลอด สร้าง 2’-FL ได้  และ 2’-FL คือ HMOs (Human Milk Oligosaccharides) หรือ โอลิโกแซคคาไรด์ชนิดที่พบมากสุดในนมแม่  HMOs สร้างจากเต้านม มีปริมาณมากที่สุดในช่วงน้ำนมเหลือง (คือ นมแม่ที่ออกมา ในช่วง 5 วันหลังคลอด) ซึ่งเป็นสุดยอดของน้ำนมโดยมีสารหลายชนิดที่ให้ภูมิต้านทานสูงมาก โดยเฉพาะ โอลิโกแซคาไรด์  

 

ประโยชน์ของ 2’- FL (2’-Fucosyllactose)  

 

  • ป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ HMOs รวมทั้ง 2’-FL เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจุลินทรีย์สุขภาพที่มีจำนวนมาก จะป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ 
  • ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคมาเกาะผิวลำไส้  (Anti-Adhesive antimicrobial) ไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษ (toxin) ก่อโรคจำเป็นต้องมาเกาะที่เยื่อบุผิวของของลำไส้  HMOs มีโครงสร้างคล้ายเยื่อบุผิวลำไส้ จึงหลอกให้จุลินทรีย์ก่อโรค มาจับแทนที่จะไปจับกับเยื่อบุผิวลำไส้ ทารกที่กินนมแม่ที่มีปริมาณ 2’-FL สูงกว่า จะมีโอกาสท้องเสียน้อยกว่าทารกที่กินนมแม่ที่มีปริมาณ 2’-FL น้อยกว่า
  • กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทารกแรกเกิด จะมีภูมิต้านทานจากแม่ นมแม่ (innate immunity) มาป้องกันเชื้อโรค HMOs กระตุ้นให้เซลล์ที่อยู่บนพื้นผิวลำไส้สร้างภูมิต้านทาน และภูมิต้านทานในกระแสเลือด การศึกษาในหนู หลอดทดลองพบว่าช่วย ลดการติดเชื้อทั้งไวรัส แบคทีเรีย 

 

รู้จัก 2’FL  คืออะไรและพบได้ที่ไหนบ้าง  คุณแม่รู้ไหมว่า นมแม่ที่ลูกดูดทุกวันนั้น ให้คุณประโยชน์ที่ช่วยให้ลูกแข็งแรงและเป็นการสะสมภูมิต้านทานให้กับลูกของคุณ และเจ้า 2’FL หรือ  2’- ฟูโคซิลแลคโตส)  (2’-Fucosyllactose) พบในนมแม่ค่ะ และ 80%  ของแม่หลังคลอด สร้าง 2’-FL ได้  และ 2’-FL คือ HMOs (Human Milk Oligosaccharides) หรือ โอลิโกแซคคาไรด์ชนิดที่พบมากสุดในนมแม่  HMOs สร้างจากเต้านม มีปริมาณมากที่สุดในช่วงน้ำนมเหลือง (คือ นมแม่ที่ออกมา ในช่วง 5 วันหลังคลอด) ซึ่งเป็นสุดยอดของน้ำนมโดยมีสารหลายชนิดที่ให้ภูมิต้านทานสูงมาก โดยเฉพาะ โอลิโกแซคาไรด์    ประโยชน์ของ 2’ FL (2’-fucosyllactose)   	ป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ HMOs รวมทั้ง 2’-FL เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจุลินทรีย์สุขภาพที่มีจำนวนมาก จะป้องกันการติดเชื้อของลำไส้  	ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคมาเกาะผิวลำไส้  (Anti-Adhesive antimicrobial) ไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษ (toxin) ก่อโรคจำเป็นต้องมาเกาะที่เยื่อบุผิวของของลำไส้  HMOs มีโครงสร้างคล้ายเยื่อบุผิวลำไส้ จึงหลอกให้จุลินทรีย์ก่อโรค มาจับแทนที่จะไปจับกับเยื่อบุผิวลำไส้ ทารกที่กินนมแม่ที่มีปริมาณ 2’-FL สูงกว่า จะมีโอกาสท้องเสียน้อยกว่าทารกที่กินนมแม่ที่มีปริมาณ 2’-FL น้อยกว่า 	กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทารกแรกเกิด จะมีภูมิต้านทานจากแม่ นมแม่ (innate immunity) มาป้องกันเชื้อโรค HMOs กระตุ้นให้เซลล์ที่อยู่บนพื้นผิวลำไส้สร้างภูมิต้านทาน และภูมิต้านทานในกระแสเลือด  การศึกษาในหนู หลอดทดลองพบว่าช่วย ลดการติดเชื้อทั้งไวรัส แบคทีเรีย

 

ภูมิคุ้มกันแรกสุดเพื่อพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ไม่สะดุดของลูกน้อย  
เพื่อให้ลูกน้อยมมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตเต็มที่ แข็งแรง พัฒนาการเต็มศักยภาพ คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้หลังคลอด ยิ่งดูดเร็วและบ่อยน้ำนมจะยิ่งมาเร็ว และเริ่มมามากภายใน 3 – 4 วัน หลังคลอด อย่าให้ลูกคุณพลาดโอกาสที่จะได้ดื่มนมแม่ ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงแร่ธาตุและภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน ที่พบบ่อยในทารก จะเห็นได้ว่า...สารอาหารในนมแม่นั้นน่ามหัศจรรย์มาก เหมือนเป็นสิ่งคุ้มครองลูกน้อยให้แข็งแรงปลอดภัย และเมื่อลูกรักแข็งแรง ก็จะยิ่งส่งเสริมศักยภาพ ในการเรียนรู้ที่ไม่สะดุด ต่อยอดการเรียนรู้ใหม่ๆ ต่อไป เมื่อร่วมกับสารอาหารสมองชนิดอื่นๆที่มีอยู่ในนมแม่ เช่น "สฟิงโกไมอีลิน เพื่อ พัฒนาสมอง เสริมการเรียนรู้ ให้ลูกทำในสิ่งที่เค้าชอบและพัฒนาสู่พรสวรรค์ได้ต่อไป
 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นมแม่สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ด้วยนะ 

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

อ้างอิง

  • Milk Oligosaccharides: A review. International Journal of Dairy Technology 2015; 68 (3): 305-321

บทความแนะนำ

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำยังไงดี ลูกกัดเต้าจนหัวนมแม่เป็นแผล คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม ทำไมลูกถึงชอบกัดหัวนมแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกกัดเต้าเป็นแผล

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอดเป็นแบบไหน คุณแม่มีอาการประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

คุณแม่หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อน หลังคลอด 1 เดือน และหลังคลอด 2 เดือน มีเลือดออกนิดหน่อย เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน ปกติไหม ไปเช็กอาการคุณแม่เลือดออกเป็นก้อนกัน

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย