ผื่นทารก ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผิวผื่นทารกในเด็ก

ผื่นทารก ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลลูก

09.05.2024

เมื่อผิวของลูกไวต่อภาวะภายนอก จนเกิดผื่นขึ้นตามตัวหรือผื่นแดงที่ใบหน้า คุณแม่ควรใส่ใจดูแลอย่างถูกวิธี เพราะผื่นทารกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาวได้

headphones

PLAYING: ผื่นทารก ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลลูก

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี มักพบผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ผื่นที่พบได้บ่อยคือ ผื่นต่อมไขมันอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และผื่นผดร้อน
  • ผื่นแพ้ทารกเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อลูกโต ควรได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี
  • นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารก ควรให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หากผื่นแพ้ในเด็กลุกลาม ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิวของทารก การเลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำและโลชั่นที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันผื่นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยุง แมลง สารเคมี

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ผื่นทารก ปัญหาที่สร้างความกังวลใจของพ่อแม่อันดับต้น ๆ หากไม่รีบรักษาตั้งแต่ต้น มีโอกาสที่จะลุกลามจากผื่นจุดเล็ก ๆ จนลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว คุณแม่ควรใส่ใจดูแลอย่างถูกวิธี เพราะผื่นทารกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาวได้ ซึ่งผื่นมีหลายชนิด ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับอาการเหล่านี้ พร้อมวิธีการดูแลกันค่ะ

 

ผื่นทารก ผื่นในเด็ก คืออะไร

เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มักจะพบผื่นขึ้นในบริเวณต่าง ๆ โดยผื่นที่พบได้บ่อยในทารก ได้แก่

  • ผื่นต่อมไขมันอักเสบ มักเกิดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น บริเวณแก้ม คอ คิ้ว หนังศีรษะ หน้าอก เป็นต้น โดยจะมีลักษณะเป็นผื่นแผ่นแดง มีขุยสะเก็ดสีเหลือง ไม่ค่อยมีอาการคัน
  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักพบบริเวณแก้ม ข้อพับ และแขนขา มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีอาการคันมาก
  • ผื่นผดร้อน มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดง ขนาดเล็ก มักจะเป็นเวลาที่อากาศร้อน

 

ผื่นแพ้ทารก รักษาให้หายขาดได้ไหม

ผื่นแพ้นั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปในเด็กแต่ละคน โดยเด็กที่มีอาการผื่นแพ้อาจจะมีผื่นเห่อขึ้นมาเป็นระยะ เป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การดูแลผิวหนังของลูก การสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่น เป็นต้น โดยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มักจะมีอาการมาก และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น จึงควรได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ลักษณะลูกเป็นผื่นแพ้ทารก ผื่นแดงตามตัวที่มักพบบ่อย

ลูกเป็นผื่นบนผิวหนัง เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถรักษาความสะอาดของผิวหนัง และผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารเคมีและวัสดุอื่น ๆ รวมทั้งแมลงกัดต่อย โดยทั่วไป ผื่นที่ผิวหนังมักมีลักษณะเป็นผื่นราบ ตุ่มนูน ตุ่มใส หรือผื่นลมพิษ หากลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัวหรือลูกเป็นผื่นที่มีอาการคันและเด็กเกา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา ทำให้ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มหนองที่เรียกว่า "พุพอง" หรือเกิดเป็นฝีหนองได้ ผื่นคันในเด็กมีหลากหลายชนิด ได้แก่
 

1. ผดผื่นทารก ที่เกิดจากต่อมเหงื่อ

เมื่อลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว อาจเกิดจากต่อมเหงื่อของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการอุดตัน กลายเป็นผดผื่นได้ง่าย ซึ่งได้แก่ ผดใส ผดแดง และผดลึก ที่มักเกิดในฤดูร้อน ผดแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับ ความลึกของการอุดตันของต่อมเหงื่อที่ชั้นผิวหนัง ถ้าอุดตันที่ผิวหนังตื้น ก็จะเห็นเป็นผดใส ถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับกลางก็จะเห็นเป็นผดแดง และถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับล่าง ก็จะเป็นผดสีขุ่น

 

2. ผื่นทารก ที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก

อาการลูกเป็นผื่น โดยเฉพาะทารกอายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากต่อมไขมันมีการทำงานมากจากฮอร์โมนของมารดาที่ส่งผ่านมายังทารกในครรภ์ บริเวณใบหน้าร่วมกับเชื้อยีสต์บางชนิดบนผิวหนังทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ แก้ม ตามซอกข้อพับ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าอก และแผ่นหลังช่วงบน โดยเฉพาะที่ ศีรษะ บริเวณคิ้ว ใบหู หลังหู จะมีต่อมไขมันมากกว่าส่วนอื่น ทำให้เห็นคราบไขมันเหลืองหนา แห้งเป็นเกร็ดติดอยู่ และจะผลิตออกมาเรื่อย ๆ ของเก่าแห้งไป ของใหม่มาอีก แต่จะไม่ค่อยมีอาการคัน ทารกจึงไม่หงุดหงิด

 

3. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว เป็นผื่นแพ้เรื้อรัง ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ในช่วงวัยทารก เมื่อมีผื่นแดงขึ้นตามลำดับ โดยผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่ม แดงคัน หรือ ตุ่มน้ำใส โดยผื่นทารกจะขึ้นบ่อย ผื่นขึ้นหน้าทารก บริเวณใบหน้า คอ ด้านนอกของแขนขาและอาจมีน้ำเหลืองไหลได้ ในเด็กโต ผื่นจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือปื้นแดงหนาที่ คอ ข้อพับต่าง ๆ ในรายที่เป็นมาก ผื่นสามารถขึ้นได้ทั่วร่างกายและมีอาการคันมาก เด็กบางคนมีอาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน พันธุกรรมจากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าและไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าเด็กทั่วไป หากเด็กเล็กมีพันธุกรรมผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมา ผิวหนังก็จะไวและแพ้ได้ ง่ายต่อสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ พ่อแม่มักอาบน้ำอุ่นมากให้ลูก จึงทำให้ผิวแห้งและคันได้ หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารในเด็ก หรือแม้แต่เหงื่อของตัวเอง จึงทำให้เกิดผื่นขึ้นมา

 

4. ผื่นแพ้ผ้าอ้อม

ผื่นทารก สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน พันธุกรรมจากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าและไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งผื่นที่เกิดขึ้นจากการแพ้สัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระที่อยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ในปัจจุบันมีการใช้ผ้าอ้อมน้อยลงมาก ส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแทน เพราะสะดวก สะอาดและไม่ทำให้เปื้อนเสื้อผ้าหรือที่นอนเหมือนหุ้มด้วยพลาสติกเอาไว้ ข้อเสียคือราคาแพง ถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนทุกครั้งที่เด็กปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาจะทำให้สิ้นเปลืองมาก โดยปกติไม่ควรปล่อยให้เด็กแช่แบบนั้นอยู่เป็นเวลานาน ต้องรีบล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เช็ดให้แห้งและเปลี่ยนผืนใหม่ทันที ในเด็กที่แพ้สัมผัสจะเกิดผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศและก้น อาจลามไปถึงขาหนีบและเกิดเป็นเชื้อราขึ้นมาได้ง่ายด้วย เด็กมักมีอาการแสบและคัน ทำให้มีอาการร้องกวน

 

5. ผื่นลมพิษ

ผื่นทารกอีกชนิด ที่มักทำให้ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว จะมีลักษณะเป็นผื่นบวมแดง มีขอบนูนชัดเจน จะเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการคันมาก ยิ่งถ้าลูกเกาก็จะยิ่งกระตุ้นให้มีผื่นมากขึ้นและคันมากขึ้น สาเหตุของ ลมพิษ นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แพ้ยา การติดเชื้อ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร ในกรณีที่มีอาการแพ้แบบรุนแรงเฉียบพลัน อาจพบว่าจะมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ คือ

  1. ผื่นทารกหรืออาการทางผิวหนัง ผื่นขึ้นหน้าทารก หรือลูกน้อยเป็นผื่นลมพิษ มีอาการเป็นผื่นนูนแดง คัน ยิ่งเกายิ่งเห่อขึ้น อาจจะขึ้นทั้งตัว มีปากบวม ตาบวมร่วมด้วย หรือบวมตามมือและเท้า
  2. ระบบทางเดินอาหาร มีอาการคือ ริมฝีปากบวม เยื่อบุช่องปากบวม หรือระบบทางเดินอาหารมีความผิดปกติ เช่น เด็กอาจแสดงอาการปวดท้อง อาเจียนและท้องเสียได้
  3. ระบบทางเดินหายใจ มีอาการ ไอ หลอดลมจะบวมและตีบ ทำให้ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หมดสติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันการ อาจถึงขั้นช็อก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้

 

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัวจนทำให้เกิดอาการคัน

กรณีที่ลูกเป็นผื่นและมีอาการคันมาก หรือลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ โดยเฉพาะผื่นลมพิษ หากคุณแม่กังวลใจ สามารถพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์ได้้ และควรถ่ายรูปลักษณะผื่นเก็บไว้ด้วยเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง หากทราบหรือคาดเดาถึงสาเหตุการแพ้ได้ ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น กรณีลูกเป็นผื่นที่ผิวหนังไม่หายหรือไม่ดีขึ้นภายใน 1 วัน ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัวหรือผื่นลมพิษที่มีอาการบวม หรือมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย หรือเป็นโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางโดยทันที

 

นอกจากนี้ควรดูแลรักษาความสะอาดของผิวเด็กเล็กและเสื้อผ้าเครื่องใช้ เพราะอาจทำให้เกิดการอับชื้น หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณยุงชุมและระวังแมลงกัดต่อย หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้อักเสบหากไม่จำเป็น บันทึกชื่อยาที่เด็กแพ้หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นผื่นคันทั้งตัว และแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นไข้ออกผื่น

 

การป้องกันผื่นคันตามลำตัวหรือผื่นทารกที่อาจเกิดจากการแพ้นมวัว

นมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด มีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. รวมทั้งมีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน และ 2’FL ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ได้และช่วยลดอาการผื่นทารก เพราะ มีการศึกษาที่พบว่านมแม่มีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน จึงอาจกล่าวได้ว่า โปรตีนในนมแม่บางส่วนมี PHP (Partially Hydrolyze Protein : โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน) และนมแม่มีเวย์โปรตีนสูงซึ่งย่อยง่าย จึงทำให้ดูดซึมได้ดีกว่า เนื่องจากลูกในช่วง 6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง รวมถึงน้ำย่อยอาหารยังมีไม่มาก และสารภูมิคุ้มกันที่จะคอยดักจับสิ่งแปลกปลอมยังมีไม่มากพออีกด้วย

 

ดังนั้นการได้รับนมแม่จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมที่แข็งแกร่งให้กับร่างกายลูกด้วยค่ะ โปรตีนนมแม่เป็นชนิดที่ไม่แปลกปลอม จึงมักไม่ก่อให้เกิดการแพ้ เมื่อลูกกินนมแม่ก็จะทำให้ได้รับโปรตีนชนิดดี ย่อยง่าย และมีสารภูมิคุ้มกัน เปรียบเหมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกัน้ให้กับลูกน้อย เพื่อลดความเสี่ยงอาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือทำให้ลูกเป็นผื่นได้

 

นอกจากนี้ยังพบว่า นมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด โดยมี 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharides หรือ 5 HMOs เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และในนมแม่ยังมีพรีไบโอติกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

 

ดังนั้น การได้รับนมแม่จะช่วยป้องกันผื่นทารกและการเกิดผื่นแพ้ ที่อาจเกิดจากการลูกแพ้นมวัว เพราะการได้รับนมแม่ทำให้ลดการสัมผัส โปรตีนแปลกปลอม เพิ่มปริมาณ secretory IgA

 

นมแม่จะกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารมีกลไกการป้องกันโรคและช่วยให้ภูมิคุ้มกันมีการพัฒนาจนสมบูรณ์ได้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ ควรให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อไป


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ผื่นในลูกน้อย ปัญหากังวลใจของพ่อแม่, โรงพยาบาลเวชธานี
  2. มารู้จัก โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก...แบบเจาะลึกกัน!, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก