พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ทารก 6 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

05.03.2024

ในช่วง6 เดือนแรกของชีวิตหรือ ทารก 6 เดือนนี้ เป็นอีกช่วงของพัฒนาการรอบด้านของลูกน้อย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ คือลูกสามารถเริ่มรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และการสื่อสาร การส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงนี้จึงสำคัญมาก เรามาดูกันดีกว่าว่า ทารก 6 เดือนจะมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการแต่ละด้านอย่างไร เรามาดูกัน

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ทารก 6 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เด็กช่วงวัย 6 เดือนจะมีพัฒนาการทางร่างกายมากขึ้น เริ่มยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำ เอื้อมมือหยิบได้ เล่นของเล่นที่จับได้มากขึ้น
  • หันตามเมื่อมีคนเรียก เลียนแบบการเล่น ทำเสียงได้ เริ่มทำเสียงพยางค์เดียวง่าย ๆ ได้
  • เริ่มแยกแยะระหว่างใบหน้าที่คุ้นเคยและคนแปลกหน้าได้ แสดงอารมณ์ได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกลัว สนุก มีความสุข หรือเศร้า
  • ลูกเริ่มกินมื้อแรกเสริมจากนมแม่ได้แล้ว แต่ควรเป็นอาหารอ่อนที่บดละเอียดชนิดเดียวก่อน เพื่อให้ร่างกายลูกค่อย ๆ ปรับสภาพการย่อยและลดความเสี่ยงการเกิดการแพ้อาหาร

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มาดูพัฒนาการของลูกในช่วงวัย 6 เดือนกันดีกว่า ลูกจะเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้ รับรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ใกล้ ๆ ตัวได้ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แม้จะเห็นเพียงบางส่วนก็ตาม เขาจะเริ่มรับรู้ว่าวัตถุอยู่ห่างจากตัวเองมากแค่ไหน การมองเห็นของทารก  อยู่ในช่วงมองเห็นโลกแบบสามมิติ มองเห็นสีได้มากขึ้นและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 

พัฒนาการทารก 6 เดือน จะแสดงอารมณ์ได้มากขึ้น ทั้งดีใจ เสียใจ เริ่มหันตามเสียงเรียกได้ เริ่มทำเสียงพยางค์เดียวได้ เช่น หม่ำ ป๊ะ เมื่อมีของตกลงพื้นสามารถมองตามได้ ด้านร่างกายเด็ก 6 เดือน ลูกจะเริ่มมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรงมากขึ้น จะสามารถคว้าของมือเดียวได้ หรือสลับมือถือของได้ ส่วนกล้ามเนื้อมัดใหญ่เด็กจะเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงาย จะเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น อยากรู้อยากเห็น  และสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น เด็ก 6 เดือน จะอยากหยิบจับของทุกอย่าง ลูกอาจมีอาการคันเหงือกเพราะฟันน้ำนมกำลังจะขึ้น อาจทำให้ลูกหยิบจับสิ่งของเข้าปากมากขึ้นกว่าเดิม

 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว

 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว

พัฒนาการทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวของเด็ก 6 เดือนนั้น มีดังนี้

  • สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่ง คอไม่อ่อนพับไปมา
  • ลูกจะสามารถเอื้อมมือหยิบของเล่นได้เมื่อนอนหงาย อาจใช้มือหรือนิ้วดึงสิ่งของเข้ามาหาตัว รวมทั้งถือสิ่งของและเปลี่ยนมือที่ใช้ถือได้
  • นั่งได้มั่นคงขึ้น เริ่มจะนั่งได้โดยไม่ต้องประคองจับ แต่ก็ยังคงต้องระวังอยู่ เพราะเด็กอาจล้มขณะนั่งได้
  • สามารถยันตัวจากท่านอนคว่ำโดยเหยียดแขนตรงทั้ง 2 ข้างได้ เริ่มพลิกตัวได้ทั้งสองด้าน และใช้ขาถีบพื้นเมื่อเท้าของเขาอยู่บนพื้นแข็ง และเริ่มโยกตัวไปมา

 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ด้านการสื่อสาร

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของเด็ก 6 เดือนนั้น มีดังนี้

  • ลูกจะเริ่มจำชื่อตัวเองได้และตอบสนอง หันตามเมื่อมีคนเรียก
  • ลูกจะสามารถออกเสียงแบบ ผสมเสียงสระเข้าด้วยกัน และชอบออกเสียงเหล่านั้นโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ เริ่มทำเสียงพยางค์เดียวได้เช่น หม่ำ ป๊ะ
  • ส่งเสียงตอบต่อเสียงที่ได้ยิน หรือเลียนแบบการเล่นทำเสียงได้ ลูกจะเลียนแบบการเล่นปาก เล่นเสียง เช่น จุ๊บปาก เป๊าะปากได้
  • ถ้าพูดกับลูกพร้อมของเล่น ลูกจะสามารถมองและพูดกับคุณพ่อคุณแม่ได้นานขึ้น ประมาณ 1 นาที จะส่งเสียงที่สื่อถึงอารมณ์ดีและไม่ดีได้

 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ด้านการเรียนรู้

พัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ของเด็ก 6 เดือนนั้น มีดังนี้

  • เจ้าตัวน้อยเริ่มอยากรู้อยากเห็น ลูกเริ่มจะมองวัตถุใกล้ตัวและพยายามคว้าสิ่งของ
  • ย้ายสิ่งของจากมือข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งได้ และชอบเอาของเข้าปาก
  • เริ่มแยกแยะระหว่างใบหน้าที่คุ้นเคยและคนแปลกหน้าได้

 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ด้านอารมณ์

พัฒนาการด้านอารมณ์และการแสดงความรู้สึกของเด็ก 6 เดือนนั้น มีดังนี้

  • ลูกมักจะมีความสุขและตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่น อาจยิ้ม หัวเราะ หรือเปล่งเสียงสั้น ๆ ได้
  • ลูกจะสนุกกับการเล่นกับคุณพ่อคุณแม่และคนอื่น ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงสนุกกับการมองตัวเองในกระจกเงาด้วย
  • ลูกอาจแสดงท่าทางหวาดกลัวเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้าหรือเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ ๆ
  • ลูกอาจตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง หรือร้องไห้เมื่อรู้สึกกลัวอีกด้วย

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 6 เดือน

  • ระมัดระวังคำพูด ท่าทาง และอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม

เพราะในวัยนี้ลูกจะเรียนรู้และจดจำพฤติกรรมของคนใกล้ชิด คุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวังคำพูด การแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ รวมถึงการแสดงออกทางสีหน้าด้วย เพราะลูกอาจจะเลียนแบบสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้

  • จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย

เพื่อให้เหมาะสมและกระตุ้นการคลานของลูก ควรเก็บของเล่นที่มีขนาดเล็กให้อยู่ห่างจากเด็กทารกวัยนี้ เพราะลูกน้อยอาจหยิบของเข้าปากจนอาจทำให้สำลักหรือเป็นอันตรายได้

  • ไม่ควรให้ลูกทานอาหารที่ย่อยยาก

รวมถึงไม่ควรให้ลูกลองกินอาหารหลายอย่างพร้อมกัน หากลูกไม่ยอมกินอาหารชนิดใด ไม่ควรบังคับแต่ควรรอ 2-3 วัน จึงค่อยลองป้อนอีกครั้ง หากลูกเคยมีอาการแพ้หลังจากให้ลองกินอาหารชนิดแรก หรือใช้วิธีจดบันทึกอาหารที่ให้ลูกลองกินไว้ด้วย เพราะหากเกิดอาการผิดปกติ อาจทำให้หาสาเหตุได้ง่ายขึ้น


เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 6 เดือน

  • หัดให้ลูกน้อยทานอาหารเสริมจากนมแม่

โดยเฉพาะผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และธัญพืชบดละเอียด โดยเบื้องต้นควรเริ่มทีละอย่าง เพื่อให้ร่างกายลูกปรับสภาพการย่อย และลดความเสี่ยงการเกิดการแพ้อาหาร

  • สอนให้เข้าใจการแสดงความรู้สึกต่าง ๆ

เพื่อให้ลูกเรียนรู้การตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เช่น เวลาสนุกให้ตบมือ เวลากลัวให้ปิดตา

  • เรียกชื่อลูกบ่อย ๆ

การเรียกชื่อบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกจดจำชื่อของตัวเองได้ และให้เขาได้เรียนรู้ว่าควรตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อ

  • ฝึกให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

วัยนี้เป็นวัยที่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายผ่านการเล่นกับลูก เช่น ชูของเล่นในที่สูง ให้ลูกพยายามคว้า เพื่อกระตุ้นให้ลูกใช้กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ หรือวางของเล่นให้ไกลเกินกว่าลูกจะเอื้อมมือถึง เพื่อกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยหัดคลาน

  • อ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังก่อนนอน

เพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้ด้านภาษา เล่นจ๊ะเอ๋ หรือกิจกรรมที่คล้ายกัน เพื่อสอนให้ลูกรู้ว่าสิ่งของต่าง ๆ ยังคงมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน แม้จะไม่เห็นในขณะนั้นก็ตาม

 

จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนนี้ ลูกจะมีพัฒนาการทุก ๆ ด้านมากขึ้น การส่งเสริมพัฒนาการทารกให้ลูกในช่วงนี้จึงสำคัญไม่แพ้ช่วงอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีเรื่องที่ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จึงควรค่อย ๆ ส่งเสริมพัฒนาการให้รอบด้าน รวมถึงส่งเสริมเรื่องโภชนาการด้วย เพราะช่วงนี้เป็นมื้อแรกที่ลูกจะได้ประโยชน์จากนมแม่  และอาหารตามวัย แต่ควรเสริมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้และปรับตัวไปตามวัยด้วยเช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 6 เดือน, Unicef
  2. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปีสำหรับผู้ปกครอง, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  3. พัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1 ปี และวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  4. เด็กทารกวัย 6 เดือน กับพัฒนาการการเจริญเติบโต, Pobpad
  5. พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย, โรงพยาบาลเปาโล
  6. ตารางพัฒนาการเด็กปฐมวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก