พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการ 2 ขวบลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการ 2 ขวบลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการ 2 ขวบลูกน้อย

12-24 เดือน
บทความ
เม.ย. 29, 2020

พัฒนาการของลูกน้อยเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ และหมั่นสังเกตเพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัย 2 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการอย่างชัดเจน ทั้งการพูด เดิน ปีนป่าย กระโดด วิ่ง และคลังคำศัพท์ต่างๆ ในสมองที่มีมากขึ้น ลูกน้อยจะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง มีอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ แต่พัฒนาการในด้านเหตุและผลอาจจะพัฒนา  ไม่มากนัก ลูกน้อยจึงมีพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมใจรับมืออย่างดีที่สุดนะคะ

 

สรุป

  • ลูกน้อยวัย 2 ขวบ จะมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีพัฒนาการที่ชัดเจนทั้งทางด้านภาษา ร่างกาย การเคลื่อนไหว การสื่อสาร การเข้าสังคม  ความคิด การเรียนรู้ และอารมณ์ คุณแม่คุณพ่อควรสังเกตและใส่ใจการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยก่อนถึงวัยเข้าโรงเรียน
  • หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรง เช่น การตี และเด็กในวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอ หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดต่อพัฒนาการด้านการสื่อสารและอารมณ์

 

เมื่อลูกน้อย 2 ขวบเริ่มรู้จักคุณแม่

เมื่อลูกน้อยถึงวัย 2 ขวบ ช่วงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่คุณแม่ต้องรับมือและส่งเสริมพัฒนาการในหลายๆ ด้าน เพราะลูกน้อยของคุณจะเริ่มสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น เริ่มมีความอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเป็นวัยที่คุณแม่เริ่มสังเกตได้ว่าพัฒนาการในด้านต่างๆ เหมาะสมตามวัยหรือไม่ อาทิ การสื่อสารในวัย 2 ขวบ ลูกน้อยควรจะพูดได้ 2-3 คำติดกัน สำหรับเด็กที่ถือว่ามีปัญหาพูดช้า มักเป็นเด็กที่อายุครบ 2 ขวบแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้เลย ดังนั้นคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของลูกน้อย ควรฝึกลูกพูดและกระตุ้นให้ลูกพูด ด้วยเทคนิคคุยกับลูก เพื่อที่จะได้ปรับปรุงหรือส่งเสริมให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย

 

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทุกด้าน

1. พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ด้านร่างกาย

  • ร่างกายของเด็กวัย 2 ขวบ จะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถควบคุมแขน ขา ในการขยับร่างกายได้ดี อาทิ การเริ่มหัดวิ่ง สามารถวิ่งพร้อมเตะบอล การโยนลูกบอลข้ามหัว การปีนป่ายขึ้นและลง โดยไม่ต้องมีคนช่วย เริ่มใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบดินสอวาดรูปเส้นตรงหรือวงกลมได้ 
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย ด้วยการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้มากขึ้น เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การขีดเขียนระบายสี เป็นต้น 
  • โดยในช่วงวัยนี้การเจริญเติบโตของน้ำหนักและส่วนสูงมีค่าเฉลี่ย ดังนี้

    เด็กผู้หญิง: น้ำหนักเฉลี่ย 9.70 – 13.70 กิโลกรัม และมีส่วนสูงเฉลี่ย 80 – 89.90 เซนติเมตร
    เด็กผู้ชาย: น้ำหนักเฉลี่ย 10.50 – 14.40 กิโลกรัม และมีส่วนสูงเฉลี่ย 82.50 – 91.50 เซนติเมตร

 

2. พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ด้านสติปัญญา

  • ในวัยนี้ เด็กๆ สามารถฟังคำสั่งได้มากขึ้น เริ่มทำตามคำสั่งได้ สามารถแยกสีและรูปทรงต่างๆ ได้มากขึ้น เริ่มแสดงให้เห็นว่าถนัดใช้มือข้างไหนมากกว่า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ  หากเด็กมีความถนัดมือซ้ายมากกว่า เราอาจสามารถปรับเปลี่ยนได้ในวัย 1-3 ปี เพราะสิ่งของหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาจจะสร้างขึ้นมาให้แก่คนที่ถนัดมือขวามากกว่าเท่านั้นเอง แต่การถนัดมือซ้ายก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรือผิดธรรมชาติแต่อย่างใด โดยเมื่อเด็กอายุเกิน 3 ปี ไม่แนะนำให้ปรับเปลี่ยนแล้ว ควรปล่อยไปตามธรรมชาติและมุ่งเน้นพัฒนาการตามวัยจะดีที่สุด
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเสริมสร้างสมาธิ กระตุ้นการเรียนรู้ โดยอาจเล่นบทบาทสมมติกระตุ้นจินตนาการ ผ่านกิจกรรมฝึกสมอง หรือการบอกใบ้การซ่อนสิ่งของ เพื่อให้เด็กฝึกคิด วิเคราะห์ และค้นหาสิ่งของได้

 

สมัครสมาชิก

 

3. พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ด้านอารมณ์ และจิตใจ

  • วัยทอง 2 ขวบ คงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินมาตลอด เพราะเมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 2 ขวบนี้ จะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มมีการเลียนแบบการกระทำของคนรอบตัว มีการเข้าสังคมมากขึ้น มีความตื่นเต้นอยากรู้จักเพื่อนแปลกหน้า เริ่มแสดงออกว่าดีใจ เสียใจ หรือภูมิใจเมื่อทำอะไรสำเร็จ แต่เมื่อไม่พอใจ อาจจะมีการแสดงออกด้วยการกรีดร้องหรือร้องไห้ เพราะวัยนี้ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ได้ดีมากนัก ในบางครั้งอาจแสดงออกในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่คุณพ่อคุณแม่บอก มีการปฏิเสธและไม่ฟังคำสั่ง 
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นให้มากขึ้น คอยรับมือกับพฤติกรรมต่อต้านของลูกน้อย ใช้วิธีการพูดคุยสื่อสารและสัมผัสด้วยการกอด โดยอาจปรับเปลี่ยนการออกคำสั่งเป็นการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างแทน ที่สำคัญ คือพยายามเข้าใจลูกน้อยในช่วงวัยนี้ให้มากที่สุด

 

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ด้านสติปัญญา


4. พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ด้านโภชนาการ

  • วัยนี้เริ่มมีการเคี้ยวอาหารโดยฟันกรามที่ดีขึ้น เด็กเริ่มหัดใช้ช้อนส้อมในการตักอาหารเข้าปากได้ แต่มีตกหล่นบ้างเล็กน้อย ควรรับประทานอาหารเป็นเวลา ควรหลีกเลี่ยงความหวานจากลูกอมหรือขนมต่างๆ แต่อาจเสริมด้วยผลไม้แทน 
  • การดื่มนม ในวัยนี้สามารถดื่มนมวัวชนิดธรรมดาได้แล้ว โดยไม่ต้องกลัวว่าลูกจะอ้วน เพราะลูกอยู่ในวัยที่ใช้พลังงานทั้งวัน นม UHT สำหรับเด็ก จะไปช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเร็วขึ้น สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป คำแนะนำคือ ดื่มนมประมาณ 500 มล. หรือประมาณ 2 กล่องต่อวัน ร่างกายจึงจะได้แคลเซียมพอเพียงต่อการสร้างกระดูก 
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกฝนลูกน้อยในการรับประทานอาหารได้เอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยอนุบาล


วิธีส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ

  • ส่งเสริมกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว โดยอาจเปิดเพลงจังหวะสนุกสนาน และให้ลูกกระโดดตามเสียงเพลง
  • ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกอารมณ์ดี ด้วยการพาไปเรียนรู้นอกบ้าน อาทิ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ และสนามเด็กเล่น ช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายนอก 
  • ส่งเสริมการสื่อสารให้ลูก โดยสอนให้รักการอ่าน คุณพ่อคุณแม่อาจอ่านหนังสือนิทานให้ฟังเป็นประจำ และในวัยนี้สามารถฝึกฝนภาษาที่ 2 ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจนำคำศัพท์จากนิทานหรือการ์ตูนมาใช้ในการฝึกฝนเด็กๆ ทำให้ลูกมีคลังคำศัพท์ในสมองมากขึ้น
  • ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้ง การวิ่งเล่น การเข้าสังคมรวมกลุ่มกับเด็กอื่น 
  • ฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน การฝึกหัดขับถ่าย ฝึกหัดให้ควบคุมตนเองเวลาโกรธ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่รั้วโรงเรียน

 

ข้อควรระวัง พัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กทารกวัย 2 ขวบ

  • หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการตี หรือออกคำสั่งห้ามต่างๆ เพราะเมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 2 ขวบ จะมีพฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งส่วนมากคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบตัวจะคิดว่าเด็กดื้อ ซน ไม่เชื่อฟัง แต่ควรปรับเป็นการแสดงออกด้วยความเข้าใจลูก ให้ลูกได้เข้าใจอารมณ์ของตนเอง และค่อยๆ ฝึกการจัดการกับอารมณ์เหล่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอ หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ในวัยนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรจำกัดระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และควรเลือกโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับวัยและใช้ไปด้วยพร้อมกันกับเด็ก เพราะการดูจอนานๆ อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัดควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่ได้ รวมไปถึงปัญหาสายตาด้วย

 

วิธีสังเกตว่าลูกมีพัฒนาการช้าหรือไม่ สัญญาณเตือนว่า ลูกน้อยวัยเตาะแตะนั้น มีพัฒนาการ 2 ขวบ ช้าหรือไม่ ได้แก่

  1. เดินไม่มั่นคง
  2. เดินพร้อมถือของไม่ได้
  3. ไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย
  4. ไม่ตอบสนอง ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ
  5. มีพฤติกรรมแปลก ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโดยอธิบายไม่ได้

 

หากพบสัญญาณเตือนเหล่านี้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อทำการตรวจประเมินพัฒนาการ ให้ความรู้ หรือฝึกสอนวิธีการกระตุ้นพัฒนาการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้อง

 

สำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อยเข้าสู่วัย 2 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทั้ง IQ และ EQ และมีผลต่อการเติบโตในระยะยาวของลูกน้อย การพยายามทำความเข้าใจกับลูกในวัยนี้เป็นที่สำคัญต่อลูกมากที่สุด คุณแม่ต้องมีความมั่นใจทางจิตใจ ไม่จัดการด้วยการใช้อารมณ์ตัดสิน เสนอทางเลือกให้ลูกน้อยมากกว่าการออกคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญคุณแม่สามารถแสดงออกเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้อยที่อยู่ในวัยเรียนรู้ทำตาม และเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงบวก โดยให้คำชมเชยทุกครั้งที่ลูกปฏิบัติตัวดีมากกว่าคำพูดในเชิงลบเมื่อเวลาลูกน้อยมีพฤติกรรมต่อต้าน ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ง่ายสำหรับคุณแม่หลายๆ ท่าน แต่เชื่อว่าด้วยความรัก ความเข้าใจ จะทำให้คุณแม่ผ่านพ้นวัยทอง 2 ขวบนี้ไปได้อย่างมีความสุข

 

อ้างอิง

  • คู่มือ แนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง เผื่อประเมิณภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย, กองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า
บทความ
เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

7นาที อ่าน

View details เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง
บทความ
เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็วเป็นอย่างไร ลูกฉลาดเกินวัย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเด็กปกติคือเด็กอัจฉริยะหรือเปล่า พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

6นาที อ่าน

View details ของเล่นเสริมพัฒนาการ 2 ขวบ ตัวช่วยเสริมทักษะของลูกน้อย
บทความ
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 2 ขวบ ตัวช่วยเสริมทักษะของลูกน้อย

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 2 ขวบ ตัวช่วยเสริมทักษะของลูกน้อย

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 2 ขวบ เลือกแบบไหนให้ลูกดี ของเล่นพัฒนาการ 2 ขวบ ตัวช่วยเสริมทักษะทางด้านร่างกายและสมอง ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

11นาที อ่าน

View details รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ
บทความ
รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

วัยทอง 1 ขวบ คืออะไร ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการวัยทอง 1 ขวบ เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรีบมือ

13นาที อ่าน

View details ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม
บทความ
ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
บทความ
ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกพูดไม่ชัดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดไม่ชัด พร้อมวิธีรับมือปัญหา อาการลูกพูดติดอ่าง

11นาที อ่าน

View details เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้
บทความ
เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

6นาที อ่าน

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า
บทความ
อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

6นาที อ่าน

View details พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้
บทความ
พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้

พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้

พัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกในแต่ละช่วงวัย เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลต่อการตัดสินใจ การเข้าสังคม การแสดงออกและการใช้ชีวิตประจำวันของลูก

9นาที อ่าน

View details เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก
บทความ
เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

8นาที อ่าน