ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ลูกมีเสียงหายใจที่ผิดปกติ ประกอบกับมีอาการต่าง ๆ ร่วม อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ให้ดี หากมีความผิดปกติของเสียงหายใจเกิดขึ้น ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรับการรักษาอย่างถูกวิธี
PLAYING: ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม
สรุป
- อาการหายใจครืดคราดที่รุนแรงอาจเป็นสัญญาณของภาวะหอบหืด ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์
- หากลูกน้อยมีอาการที่สงสัยว่าเป็นหอบหืด จะต้องให้คุณหมอวินิจฉัยดูอาการก่อน ในเด็กช่วงวัยก่อน 5 ขวบจะวินิจฉัยแน่นอนได้ยาก คุณหมอจะต้องทั้งตรวจร่างกายวินิจฉัย และทดสอบต่าง ๆ ด้วย
- ถ้าสงสัยว่าเป็นหอบหืด หรือคุณหมอวินิจฉัยมาแล้ว ควรดูแลจัดห้องนอนและห้องต่าง ๆ ในบ้านที่ลูกน้อยจะไปอยู่ให้ระบายอากาศได้ดี สะอาด ไม่มีฝุ่นหรือสิ่งที่จะกระตุ้นอาการหอบหืด และยังรวมถึงการจัดการอุณหภูมิกับความชื้นอย่างเหมาะสมด้วยค่ะ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไรได้บ้าง
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก อาจเป็นเพราะกินนมมากไป
- ทารกหายใจครืดคราด อาจเป็นเพราะหอบหืด
- ทารกหายใจแรงแบบนี้ อาจแพ้นมวัว
- เสียงหายใจของลูกแต่ละแบบ ที่ต้องคอยสังเกต
- ทารกหายใจครืดคราด อาจแพ้อะไรได้บ้าง
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ควรจัดที่นอนให้ลูกแบบไหนดี
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไรได้บ้าง
- ทางเดินหายใจผิดรูปตั้งแต่กำเนิด หรือหลังจากการเจ็บป่วยที่ทางเดินหายใจ
- กล่องเสียงเป็นอัมพาตตั้งแต่แรกเกิด หรือกล่องเสียงเป็นอัมพาตที่พัฒนาในภายหลัง
- กล่องเสียงอักเสบ เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อในกล่องเสียงกีดขวางทางเดินหายใจในบางส่วน
- การอุดตันที่ผิดปกติในทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการมีแผลเป็นในทางเดินหายใจที่อาจบวมโต
- มีการไออย่างกะทันหัน เพราะสำลักสิ่งแปลกปลอม หรืออาหารที่ทางเดินหายใจ
- เกิดจากโรคหอบหืดหรือสิ่งระคายเคืองในแวดล้อม ทำให้อาการกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตีบแคบ หดตัว เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง
- ภาวะทางเดินหายใจเรื้อรังตั้งแต่กำเนิด พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ หรือปอด เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก อาจเป็นเพราะกินนมมากไป
การกินนมเยอะเกินไป หรือ Overfeeding คือ อาการที่ลูกน้อยกินนมเยอะเกินไป เมื่อลูกกินนมเยอะเกินไป จนทำให้ไม่สามารถย่อยน้ำนมได้ อาจจะมีอาการดังนี้คือ ร้องไห้ บิดตัวส่งเสียงร้องเหมือนแกะ แหวะนม หรืออาเจียนนมออกทางปากและจมูก หายใจมีเสียงครืดคราดเพราะน้ำนมล้นมาถึงคอ ลูกมีพุงกางเหมือนน้ำเต้าตลอดเวลา การแหวะนมบ่อย ๆ ของลูกนั้น ทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว ทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้ เนื่องจากกรดจากกระเพาะอาหารนั้นจะย้อนออกมายังหลอดอาหาร หากลูกน้อยมีอาการเบื้องต้นดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด
ทารกหายใจครืดคราด อาจเป็นเพราะหอบหืด
หากลูกน้อยมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกวิธี
- หายใจเร็ว ดังครืดคราด (มีความคล้ายเสียงผิวปาก) หายใจแรงมาก
- อาการร่วมของหอบหืดที่ไม่ควรชะล่าใจ และควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เช่น ลูกหายใจลำบาก หอบเหนื่อยกับกิจกรรมทั่วไป หรือระหว่างการเล่น ไออย่างต่อเนื่อง ทานอาหารลำบาก เหนื่อยล้า ไม่สนใจกิจกรรมตามปกติหรือกิจกรรมที่ชอบ มี อาการตัวเขียว มีการเปลี่ยนแปลงสีของเนื้อเยื่อ (ลิ้น ริมฝีปาก และรอบดวงตา) และปลายนิ้วหรือบริเวณเล็บ
ทารกหายใจแรงแบบนี้ อาจแพ้นมวัว
อาการแพ้โปรตีนในนมวัวนั้น ไม่ได้แสดงออกมาทางผิวหนังของเด็กได้อย่างเดียว อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว เวลาหายใจมีเสียงวี้ด ๆ เหมือนโรคหอบหืด ไอเยอะ อาการคล้ายกับการเป็นหวัดเรื้อรัง หรือการแพ้อากาศ ทั้งนี้อาการแพ้นมวัวของเด็กในแต่ละคน อาจมีการแสดงออกต่อระบบที่ไวของสารก่อภูมิแพ้ไม่เหมือนกัน บางรายที่มีการแพ้แบบเฉียบพลันหลังดื่มนมวัวภายใน 1-4 ชั่วโมง มีน้ำมูกไหล ไอ หอบ มีผื่นรอบปาก หน้าบวม อาเจียน หรือบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการแพ้นมวัวนั้นไม่สามารถรู้แน่ชัดจากการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว หากลูกมีอาการต่าง ๆ คล้ายกับอาการแพ้นมวัว คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปตรวจเช็กกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง
เสียงหายใจของลูกแต่ละแบบ ที่ต้องคอยสังเกต
- เสียงหวีด หรือเสียงครืดคราดขณะหายใจ
- หายใจเสียงดัง โดยเฉพาะหายใจเข้า
- หายใจมีเสียงวี๊ด เป็น ๆ หาย ๆ
- หายใจแรง หายใจสะดุด
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยในอาการหายใจของลูกว่ามีความผิดปกติ ไม่ควรชะล่าใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการโดยละเอียด
ทารกหายใจครืดคราด อาจแพ้อะไรได้บ้าง
1. เกสรดอกไม้
ละอองเกสรจากต้นไม้ หญ้า และดอกไม้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในบุคคลที่มีความอ่อนไหวได้ อาจทำให้เกิดการอักเสบและตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้ทารกหายใจได้ยากขึ้น
2. ขนสัตว์
สัตว์ที่มีขน เช่น สุนัข หนูแฮมสเตอร์ นก และโดยเฉพาะแมว แต่ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่ขนสัตว์เพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น ด้วยเหตุนี้แม้แต่สุนัขและแมวที่ไม่มีขนหรือขนสั้นก็ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ สิ่งที่ลูกน้อยแพ้จนหายใจครืดคราดอาจเป็นเพราะขนสัตว์เลี้ยงของคุณจะสะสมสะเก็ดผิวหนังหรือน้ำลาย ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ค่ะ นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงยังสามารถเป็นพาหะของสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ฝุ่น เชื้อรา หรือละอองเกสรดอกไม้ได้ด้วยค่ะได้ด้วยค่ะ
3. บุหรี่
การได้รับควันบุหรี่ไม่เพียงแต่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้เท่านั้น แต่ยังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ตั้งแต่แรก
4. ไรฝุ่น
ไรฝุ่นอยู่กับพรม เครื่องนอน และเฟอร์นิเจอร์ การดูแลอาการ หายใจมีเสียงวี๊ดที่เกิดจากการแพ้ไรฝุ่นคือการทำความสะอาดสิ่งเหล่านั้น รวมถึงจุดที่มีความชื้นต่าง ๆ ด้วย
5. แมลงสาบ
แมลงสาบมีโปรตีนที่เป็นสารก่อภูมิแพ้สำหรับหลาย ๆ คน ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ทั้งร่างกาย น้ำลาย และของเสียจากแมลงสาบถือเป็นสารก่อภูมิแพ้ แม้แต่แมลงสาบที่ตายแล้วก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ควรจัดที่นอนให้ลูกแบบไหนดี
คำนึงว่าฝุ่นหรือสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ อาจมีผลกับลูกน้อยของคุณแม่ ดังนั้นเมื่อคิดถึงที่นอน แนะนำให้จัดห้องและดูแลในรูปแบบที่กำจัดสิ่งที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้
- หมั่นเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ให้พื้นที่ในห้องนอนไม่ปิดอับ
- ทำความสะอาดชุดเครื่องนอนเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- หมั่นดูดฝุ่นในห้องนอน และกำจัดไรฝุ่นที่มองไม่เห็น นอกจากนี้ไม่ควรซื้อตุ๊กตามีขนหรือเลี้ยงสัตว์ไว้ใกล้ชิดกับลูกน้อยเกินไป
- รักษาอุณหภูมิห้องไม่ให้ชื้น หรือเย็นเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นอาการภูมิแพ้
หากลูกน้อยหายใจแรง แต่ไม่มีน้ำมูก อาจเกิดได้หลายปัจจัยที่น่าสนใจ เช่น แพ้สิ่งต่าง ๆ แพ้นม หรือเป็นหอบหืด ต้องสังเกตเสียงหายใจของลูกและไปพบคุณหมอหากมีข้อสงสัยหรือเชื่อว่าจำเป็น นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมให้ดีย่อมดีต่อสุขภาพ วิธีที่แนะนำสำหรับดูแลห้องของลูกน้อยตามที่แนะนำไปเบื้องต้นจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ห้องสะอาด มีอุณหภูมิเหมาะสม ถ้าเด็กเป็นหอบหืดจริงจะช่วยให้อาการไม่เป็นหนัก แต่ถ้าไม่ได้เป็นหอบหืดก็จะสบายตัว เติบโตอย่างแข็งแรงค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย
- DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย
- 2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)
- น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก
- ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ คุณแม่รับมือภูมิแพ้ในเด็กได้อย่างไร
- ลูกอ้วก ไม่มีไข้ ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี
- อาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีป้องกันและวิธีดูแลทารกท้องอืด
- สีอุจจาระทารก สีแบบไหนปกติ สีแบบไหนที่คุณแม่ต้องระวัง
- ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง
- ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกี่วันหาย อาการแบบไหนเรียกรุนแรง
- ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย ลูกน้อยควรกินอะไรให้ขับถ่ายง่าย
- ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ อุจจาระเป็นเม็ด พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น
- ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
- วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน
- ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง
อ้างอิง:
- Noisy Breathing, Nationwide Children’s Hospital
- Your Newborn Baby's Breathing Noises, WebMD
- What should you do if your child is wheezing?, Patient
- Asthma in Infants, Asthma and Allergy Foundation of America
- รู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว, โรงพยาบาลนครธน
- What to do if your baby has spring allergies?, Pediatric Partners of Augusta
- Pet allergies in children and babies, BabyCenter
- Can You Be Allergic to Cigarette Smoke?, Healthline
- Causes and treatment of allergic wheezing, Medical News Today
- Cockroach Allergy, Asthma and Allergy Foundation of America
- เสียง 'ครืดคราด' แบบนี้..สังเกตให้ดีลูกเราเป็นอะไร, โรงพยาบาลสินแพทย์
- What is the best room temperature for asthma?, Medical News Today
- ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร, hellokhunmor
- เสียงครืดคราด! แบบนี้สังเกตให้ดีลูกเราเป็นอะไร? , โรงพยาบาลสินแพทย์
- ลูกหอบ หายใจเสียงดัง ระวัง! โรคครูป...อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม , โรงพยาบาลพญาไท
- โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่ควรต้องรู้ , โรงพยาบาลกรุงเทพ
- การOverfeeding ในทารก, Premiere Home Health Care
อ้างอิง ณ วันที่ 26 เมษายน 2567