เลือกนม UHT สำหรับเด็ก นมกล่องเด็กแบบไหน ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองลูก
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมกล่องเด็กวันละ 3 กล่อง เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ ๆ และจากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน การเสริมด้วยนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็กวัยกำลังโตจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องเด็ก UHT นมกล่องสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่
วิธีเลือกนมกล่องเด็ก UHT กล่องแรก ต้องเลือกอย่างไร
เด็กในวัยนี้ มีกล้ามเนื้อแขนขาที่แข็งแรงมากขึ้น เริ่มเดินได้ ทรงตัวได้ดีขึ้น และสามารถทำงานที่ละเอียดเล็กๆ ได้มากขึ้น มีการประสานงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ดี รู้จักแยกความแตกต่างของอวัยวะของร่างกายได้ กินอาหารเองได้บ้าง ในส่วนของพัฒนาการทางสมองก็มีความสำคัญ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้พบเจอ และได้ลงมือทำ นมกล่องเด็ก UHT นมกล่องสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การเลือกนมกล่องเด็ก UHT ให้ลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ เรามาดูวิธีเลือกนมกล่อง UHT สำหรับเด็ก ที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านสมองของลูกน้อย ให้มีพัฒนาการที่ดี สมองไวและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนกัน
7 วิธีเลือกนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป
1. เลือกนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็กรสจืด
เพราะในนม UHT สำหรับเด็ก มีคุณค่าสารอาหารหลากหลาย อาทิ แคลเซียม โปรตีน วิตามินเอ วิตามินอี นอกจากนี้ การให้ลูกดื่มนมรสจืด ยังช่วยลดโอกาสการติดรสหวาน และการเกิดฟันผุ เบาหวาน และโรคอ้วนอีกด้วย
2. เลือกนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็กให้เหมาะกับช่วงวัยของลูก
เพราะเด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ความต้องการสารอาหารในแต่ละวัยจึงมีความแตกต่างกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกนม UHT สำหรับเด็ก ให้เหมาะกับช่วงวัยของลูก
3. เลือกนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็ก ที่มีสารอาหารบำรุงระบบประสาทและสมอง
เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาที่รุดหน้า เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว โดยจะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าผ่านการสังเกต และการลงมือทำ คุณแม่จึงควรเลือกนมกล่องเด็ก UHT ที่มีสารอาหารช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง
4. เลือกนมกล่องเด็ก UHT ควรพิจารณาถึงนมที่มีใยอาหารจากธรรมชาติ
เด็กในวัยนี้เริ่มกินอาหารที่หลากหลายมากขึ้น แต่มักจะได้รับใยอาหารไม่เพียงพอ จึงทำให้มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือท้องผูก คุณแม่จึงควรเลือกนมกล่องเด็ก UHT ที่มีใยอาหารจากธรรมชาติ
5. ควรเลือกนมกล่อง UHT สำหรับเด็กมีปริมาณแคลเซียมสูง
นมกล่องเด็ก UHT เหมาะกับเด็กในวัยนี้ เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว โดยเด็กในวัย 2 ขวบ จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นจากวัย 1 ขวบ ประมาณ 12 เซนติเมตร ดังนั้นสารอาหารแคลเซียมจึงมีความจำเป็นสำหรับเด็กวัยนี้ คุณแม่จึงควรเลือกนมกล่องเด็ก UHT ที่มีแคลเซียมสูง เพื่อช่วยให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่สมวัย
6. เลือกนมกล่อง UHT สำหรับเด็ก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน และ ดีเอชเอ เพื่อช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาที่ดี
คุณแม่ควรเลือกนมกล่องเด็ก UHT สำหรับเด็ก ที่มีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เช่น สฟิงโกไมอีลิน ช่วยสร้างไมอีลิน ช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้ไวขึ้น และ ดีเอชเอ มีส่วนช่วยในการพัฒนาความจำและการเรียนรู้
7. เลือกนมกล่อง UHT สำหรับเด็ก รสชาติอร่อย ดื่มง่าย
เด็กในวัยนี้ควรดื่มนมวันละ 3 กล่อง ดังนั้น การเลือกนมกล่องสำหรับเด็ก ที่มีรสชาติอร่อย จะช่วยให้ลูกดื่มนมได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการสร้างนิสัยรักการดื่มนมให้ลูกอีกด้วย

สารอาหารสำคัญที่ควรมีในนมกล่องเด็ก UHT ที่แม่ต้องรู้!
เมื่อลูกทำกิจกรรมทั้งนอกบ้านหรือในบ้าน คุณแม่สามารถเลือกนมกล่อง UHT สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับลูกรักได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น สารอาหารที่มีส่วนเสริมสร้างพัฒนาการและสมองอย่าง สฟิงโกไมอีลิน และ ดีเอชเอ และสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ เช่น ลูทีน และวิตามินต่างๆ เป็นต้น และเนื่องจาก นมกล่อง UHT สำหรับเด็กแต่ละยี่ห้อ อาจมีสารอาหารพื้นฐานใกล้เคียงกัน เช่น โปรตีน แคลเซียม แต่จะมีสารอาหารเฉพาะที่แตกต่างกันไป ดังนั้น หากคุณแม่มองหานมกล่องสำหรับเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไปที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการสมองให้กับลูกน้อย ให้มองหานมกล่องสำหรับเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไปที่มีสารอาหาร เหล่านี้
- สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารที่พบมากในนมแม่ นมและผลิตภัณฑ์นม ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง โดยไมอีลินจะเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน เพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการทำงานของสมองที่ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพ
- ดีเอชเอ-DHA (Docosahexaenoic Acid) เป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 เป็น กรดไขมันที่พบมากในสมองและจอประสาทตา เพราะในสมองและเซลล์ประสาทตาของคนเราประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากที่สุด คือ DHA มี DHA ประมาณ 20% ของไขมันในสมอง หรือ 90% ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ในสมองคือ DHA
DHA ช่วยในการพัฒนาความจำและการเรียนรู้ (cognitive development, learning and memory) โดยช่วยสร้างเซลล์ประสาท สารสื่อประสาท การ ติดต่อระหว่างเซลล์ประสาท - โคลีน เป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายใช้ในการสร้างสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน ที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมอง ช่วยบำรุงสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและความสามารถในการเรียนรู้ และการควบคุมกล้ามเนื้อ
- แอลฟา-แลคตัลบูมิน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง เพราะนอกจากสมองจะมีการพัฒนาด้านโครงสร้างอย่างการสร้างเซลล์ประสาทแล้ว สมองยังต้องการระบบการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน ส่งต่อข้อมูลเพื่อทำให้สมองเกิดการทำงานและสร้างกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทต้องอาศัยสารสื่อประสาทนั่นเอง
- ลูทีน เป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดสำคัญที่มีอยู่ในจอประสาทตา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเม็ดสีจอประสาทตา มีหน้าที่กรองแสงและป้องกันดวงตาจากแสงแดดหรือคลื่นแสงพลังงานสูงอย่างรังสีอัลตราไวโอเลต จึงเชื่อว่าเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการมองเห็นและบำรุงสุขภาพดวงตา โดยเฉพาะแก้วตาและจอประสาทตา
- วิตามินซี มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- วิตามินบี 12 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง
- แคลเซียม มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
- วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมตามปกติของแคลเซียมและฟอสฟอรัส

นอกจากการให้อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี คุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ทดลอง และเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยตนเอง ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย เช่น ติดกระดุม ใส่กางเกง ใส่ถุงเท้า ผูกเชือกรองเท้า เก็บของเล่นเข้าที่ และเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ทั้งกิจกรรมประจำวันในบ้าน หรือกิจกรรมนอกบ้าน เพราะทุกการเรียนรู้ เกิดขึ้นได้ทุกที่
สำหรับคุณแม่คนไหนที่ต้องการให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมวัยและมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป คุณแม่สามารถเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและร่างกายให้ลูกน้อยได้ง่ายๆ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมสำหรับเด็ก 1 ปี หรือ นมสูตร 3 เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก
อ้างอิง
- DHA and Cognition throughout the Lifespan. Nutrients 2016
- Retina and omega-3. J Nutr Metab 2011
- https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1659948
- http://www.wongkarnpat.com/upfileya/Medical%20journal%20247.pdf
- http://www.wongkarnpat.com//upfileya/รอบรู้เรื่องยา%20180.pdf
- https://www.pobpad.com/ลูทีน-ดีต่อดวงตา-มีประโย
- http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความแนะนำ

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

พัฒนาการลูกรักวัย 1 ขวบ ในขวบปีแรกลูกควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง?
ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น