เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า
พัฒนาการของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องสังเกตกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ ซึ่งมีด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกก่อนวัยขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าลูกชูคอ พลิกคว่ำ พลิกหงาย และนั่งได้ตามวัยหรือไม่ ซึ่งพัฒนาการการนั่งของลูกเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ควรเริ่มขึ้นเมื่ออายุลูกได้ 6 เดือน
สรุป
- เด็กทารกจะเริ่มนั่งได้ตอนอายุ 6 เดือน และจะสามารถนั่งทรงตัวได้ด้วยตัวเอง มองหาของเล่น มองตามของที่ตกได้ตอนอายุ 7-8 เดือน
- เมื่อลูกอายุเข้า 9 เดือนเป็นต้นไป จะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงขึ้น ลูกสามารถที่จะลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้เอง และเกาะเดินได้ 4-5 ก้าว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- เด็กนั่งได้กี่เดือน เรียกว่าพัฒนาการไม่ช้าจนเกินไป
- พัฒนาการของลูกที่พ่อแม่ควรสังเกต
- พ่อแม่ควรเริ่มฝึกลูกนั่งเมื่อไหร่ดีที่สุด
- ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ฝึกลูกนั่งทำได้ยังไงบ้าง
- อุปกรณ์สำหรับลูกน้อยที่ช่วยให้ลูกฝึกนั่งได้ดี
- ลูกอายุครบ 9 เดือน ยังนั่งไม่ได้ แบบนี้ปกติไหม
เด็กนั่งได้กี่เดือน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงสงสัยกันใช่ไหมว่า ลูกน้อยคว่ำได้กี่เดือน และเริ่มนั่งได้กี่เดือน การนั่งเป็นทักษะพัฒนาการสำคัญที่ลูกน้อยต้องฝึกฝน ซึ่งปกติแล้วทารกจะเริ่มนั่งได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนด้วย ในเด็กบางคนอาจเริ่มนั่งได้เร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ บทความนี้จะมาไขข้อสงสัย พร้อมแชร์วิธีฝึกทารกนั่งอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้สร้างช่วงเวลาแห่งความสุขกับลูกน้อยได้อย่างมั่นใจ
เด็กนั่งได้กี่เดือน เรียกว่าพัฒนาการไม่ช้าจนเกินไป
การนั่งของเด็กคือพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มนั่งได้เมื่ออายุลูกได้ 6 เดือน และลูกจะสามารถนั่งทรงตัวได้เอง มีการเอี้ยวตัว หมุนตัวเพื่อที่จะหยิบของเล่น หรือหันตัวไปหาคุณพ่อคุณแม่ แล้วก็หันกลับมานั่งตัวตรงได้เหมือนเดิมตอนอายุ 7-8 เดือน และเมื่อลูกอายุ 9 เดือนเป็นต้นไป จะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงขึ้น ลูกสามารถที่จะลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้เอง และเกาะเดินได้เองประมาณ 4-5 ก้าว
พัฒนาการของลูกที่พ่อแม่ควรสังเกต
อยากรู้ไหมว่าเด็กนั่งได้กี่เดือน คุณพ่อคุณแม่มาเช็กพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 เดือน ว่าพัฒนาการสำคัญ ๆ ในแต่ละเดือนนั้นมีอะไรกันบ้าง
1. ช่วงวัยแรกเกิด (1-3 เดือนแรก)
- ลูกสบตาและมองหน้าคุณพ่อคุณแม่
- ทำเสียงอ้อแอ้ ยิ้ม หันหน้ามองหา
- เริ่มชันคอขึ้นในท่าคว่ำ
2. ช่วงวัย 4-6 เดือน
- นอนคว่ำชูคอตั้งขึ้น
- เริ่มเอื้อมมือไขว่คว้า
- พลิกคว่ำ พลิกหงาย และคืบ
- หันหาเสียง และส่งเสียงโต้ตอบ
- เริ่มที่จะนั่งได้
3. ช่วงวัย 7-9 เดือน
- นั่งทรงตัวได้มั่นคงขึ้น สามารถเอี้ยวและหมุนตัวขณะนั่ง
- นอนอยู่แล้วลุกขึ้นนั่งได้เอง
- เริ่มคลาน
- ชอบเล่นจ๊ะเอ๋กับคุณพ่อคุณแม่
4. ช่วงวัย 10-12 เดือน
- เริ่มพูดคำสั้น ๆ เช่น หม่ำ พ่อ แม่
- เริ่มตั้งไข่
- เริ่มทำตามคำสั่งได้ เช่น ปรบมือ โบกมือบ๊าย บาย
- ยืนได้ เริ่มก้าวสั้นได้ 1-2 ก้าว
5. ช่วงวัย 13-15 เดือน
- จำชื่อสิ่งของรอบตัวได้
- ยืนเองได้มั่นคงและนานขึ้น
- เริ่มจับดินสอลากเขียนเป็นเส้น ๆ บนกระดาษได้
พ่อแม่ควรเริ่มฝึกลูกนั่งเมื่อไหร่ดีที่สุด
คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกนั่งได้ตั้งแต่ช่วง 4-6 เดือน โดยให้นั่งแบบ Tripod position แล้วมีคุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงคอยช่วยประคองตัวลูกไว้ เพื่อป้องกันลูกล้มระหว่างที่กำลังนั่ง และเมื่อลูกอายุได้ 5-9 เดือน จะสามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง การฝึกลูกนั่งสามารถฝึกได้บ่อยวันละ 3-4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ฝึกลูกนั่งทำได้ยังไงบ้าง
ลูกน้อยจะเริ่มนั่งได้ตอน 4-6 เดือน เป็นการเริ่มนั่งแบบที่ต้องมีตัวช่วย หรือมีคนช่วยประคอง และ 5-9 เดือนเริ่มนั่งได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นเพื่อให้การนั่งของลูกน้อยมั่นคงแข็งแรงขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกนั่งได้ ดังนี้
- ฝึกการทรงตัว: การฝึกการทรงตัวให้กับลูก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นคอและหลัง ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกนั่งลงบนตักหรือให้นั่งตรงระหว่างขาก็ได้ จากนั้นให้จับที่รักแร้ลูก แล้วไล่ลงมาจับที่หน้าอก และจับที่สะโพกของลูก ขณะที่ลูกนั่งคุณแม่อาจจะร้องเพลง อ่านหนังสือ หรือเล่นของเล่นต่าง ๆ ไปกับลูกด้วยก็ได้
- ฝึกนั่งท่า Tripod: ด้วยการให้ลูกนั่งระหว่างขาของคุณพ่อคุณแม่เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกล้ม และเมื่อลูกเริ่มแข็งแรงให้ใช้หมอนโอบรอบตัวคอยพยุงป้องกันการล้ม
อุปกรณ์สำหรับลูกน้อยที่ช่วยให้ลูกฝึกนั่งได้ดี
เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการนั่งที่แข็งแรงขึ้นตามวัย คุณพ่อคุณแม่อาจหาตัวช่วยในการฝึกลูกนั่งได้ ดังนี้
- เก้าอี้หัดนั่ง: การใช้เก้าอี้ฝึกนั่ง ต้องดูที่ความพร้อมของลูกเป็นสำคัญ ต้องแน่ใจแล้วว่ากล้ามเนื้อต้นคอมีความแข็งแรง และลูกสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้แล้ว ค่อยฝึกให้นั่งเก้าอี้หัดนั่งสำหรับเด็ก
- เบาะหรือหมอนหลาย ๆ ใบ: เพื่อช่วยให้ลูกนั่งได้ดีมากขึ้น ให้ฝึกลูกนั่งลงบนพื้นที่ไม่มีความสูง คุณแม่สามารถหาหมอนใบใหญ่นุ่ม ๆ มาให้ลูกพิงหลังหรือวางเบาะรองไว้รอบ ๆ ตัวลูก
ลูกอายุครบ 9 เดือน ยังนั่งไม่ได้ แบบนี้ปกติไหม
หากลูกน้อยอายุ 9 เดือน แล้ว แต่ไม่สามารถนั่งโดยมีคนพยุงได้ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงขณะเคลื่อนไหว ไม่สามารถควบคุมศีรษะให้มั่นคงได้ ไม่สามารถเอื้อมมือ หรือไม่สามารถหยิบจับนำสิ่งของเข้าปากได้ พัฒนาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บอกถึงความล่าช้าของทักษะการเคลื่อนไหวโดยรวมของลูก ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ทันที
การฝึกลูกนั่ง เป็นก้าวสำคัญในพัฒนาการของเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกลูกนั่งเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 4-6 เดือนขึ้นไป เมื่อกล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงพอแล้ว ตามคำแนะนำจากกุมารแพทย์ของลูก ควรเริ่มจากการประคองตัวลูกให้นั่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาฝึกลูกนั่งทีละน้อย หากลูกยังนั่งเองไม่ได้ไม่ควรฝืน รวมถึงหากพบความผิดปกติของลูกน้อยควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของลูก และเพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย มีทักษะต่าง ๆ ของร่างกายที่แข็งแรง ตั้งแต่แรกเกิดแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง
- ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว
- ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กคอแข็งช้า คุณแม่ช่วยลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง
- ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ
- ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน
- วิธีชงนมผงที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่
- ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด
- ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ
- ของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอดเจ้าตัวเล็ก คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง
- วิธีชงนมผงที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่
- คลายความกังวลคุณแม่ด้วยแบบประเมิน สุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการ ของลูกน้อย
อ้างอิง:
- พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย แบบไหนเข้าข่าย “พัฒนาการล่าช้า”, โรงพยาบาลสุขุมวิท
- เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวันแรกเกิด 1 ปีผ่านไป หนูโตไวเหมือนกันนะ, โรงพยาบาลนนทเวช
- พัฒนาการลูกน้อยตามวัย, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์
- ลูกจะนั่งได้เมื่อไหร่? เทคนิคสอนลูกนั่ง เก้าอี้ฝึกนั่งจำเป็นหรือไม่ (When Can Babies Sit Up), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Dr.Noi TheFamily
- When Can Babies Sit Up and How Can You Help a Baby Develop This Skill?, Healthline
อ้างอิง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง