ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
พ.ค. 10, 2024
7นาที

ถ้าลูกน้อยตื่นมาอย่างกะทันหัน ไม่ว่าตอนกลางวันหรือกลางคืน โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่หรือคุณพ่อจะกังวลใจ ท่าทีที่เหมือนไม่สบายตัว แถมบางครั้งยังดูหวาดกลัวอีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีคำอธิบายอยู่ บทความนี้จะไขข้อข้องใจและเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

 

สรุป

  • ร่างกายของลูกน้อยแรกเกิดมีกลไกกระตุกตอนนอน เป็นท่าทีปกป้องตัวเองของลูกน้อย และสร้างสมดุลตัวตนของเขาในโลกนอกมดลูกคุณแม่
  • อาการกระตุก ผวา และอาจร้องไห้งอแงจนคุณแม่ตกใจ จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงประมาณ 3 เดือน
  • หากการกระตุกมีบางสิ่งแปลก ๆ เช่น กระตุกแบบไม่สมมาตร มีด้านหนึ่งไม่กระตุก หรือกระตุกจนน่ากลัว ควรปรึกษาคุณหมอเพราะมีความผิดปกติอย่างอื่นแทรกซ้อนที่คุณแม่อาจไม่ทราบ เช่น ปัญหาระบบประสาท ออทิสติก โรคสมาธิสั้น และความผิดปกติของการเรียนรู้และพัฒนาการ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร

อาการสะดุ้ง หรือมีชื่อเรียกกันทางการแพทย์ว่า อาการสะดุ้งแบบโมโร (Moro reflex) เป็นการตอบสนองในทารกแรกเกิดต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น เสียงดัง การพูด หรือความรู้สึกเหมือนกำลังตกจากที่สูง มักเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยของคุณแม่หลับ แต่ถ้าสังเกตก็จะพบว่าเกิดขึ้นในขณะที่ตื่นอยู่ได้เช่นกัน

  • การแสดงออกนั้น ลูกน้อยจะเกร็งหลัง เหวี่ยงแขนขึ้นและกวาดออก มีการแบมือออก ก่อนจะดึงเข่ากับแขนมาชิดตัวและกำหมัดแน่น จากนั้นการสะดุ้งตกใจที่เกิดขึ้นเป็นกลไกในร่างกายของลูกน้อยก็จะจบลง อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยอาจจะร้องไห้ไม่หยุด สร้างความกังวลใจให้บ้าง
  • แรก ๆ คุณแม่หลายคนอาจไม่สบายใจที่ช่วยลูกน้อยให้นอนหลับอย่างสบายไม่ได้ ตรงนี้ต้องมองกันอีกมุม ท่าทีการแสดงออกของน้องที่น่ากังวลนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นข้อบ่งชี้ว่าเขามีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาเป็นไปอย่างที่ควร
  • อยากให้คุณแม่พิจารณาว่าลูกนอนผวาร้องไห้เป็นรูปแบบของความพยายามเริ่มแรกของลูกน้อยที่จะปกป้องตัวเอง และการเรียนรู้ถึงการคงอยู่ของลูกน้อยนอกครรภ์ ความรู้สึกเหมือนตกจากที่สูงที่รับรู้ได้ และลูกน้อยรับมือกับมันได้

 

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า

  • ไม่ต้องกังวล กรณีของการสะดุ้งแบบโมโรจะไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อลูกน้อยของคุณแม่ และอาการที่ทำให้คุณแม่กังวลใจนี้จะหายไปภายในไม่กี่เดือน
  • ข้อเสียประการหนึ่งก็คือ ลูกน้อยแรกเกิดมักสะดุ้งตื่น และใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้รู้สึกว่าตนเองปลอดภัยแล้ว บางครั้งก็ถึงกับร้องไห้หนักมาก เพิ่มความกังวลใจให้กับคุณแม่อย่างมาก
  • การที่ลูกน้อยนอนสะดุ้ง แล้วร้องไห้หนักมาก ส่วนใหญ่ลูกน้อยมักจะไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และสุดท้ายก็หลับไป
  • ทารกนอนสะดุ้งจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเดือนแรก และหายไปใน 2-4 เดือน ก่อนอาการจะไม่ปรากฏหลัง 6 เดือน โดยทั่วไปในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์ ลูกน้อยก็จะเริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตนอกครรภ์ของคุณแม่และรู้สึกปลอดภัยกับสิ่งรอบตัวมากขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม ตามหลักการสะดุ้งแบบโมโร ลูกน้อยควรจะมีการขยับตัวที่ดูเป็นสมมาตร มีบันทึกว่าถ้าแขนของลูกน้อยเหยียดไปแค่ข้างเดียวแต่อีกข้างไม่เหยียดไปด้วย ก็อาจจะเป็นสัญญาณของประสาทที่มีความเสียหายหรือการแตกหักของกระดูกไหปลาร้าได้ หากพบอาการผิดปกติควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
  • การเกิดมาของลูกน้อยโดยปราศจากอาการสะดุ้งแบบโมโรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก และถ้าเกิดขึ้น คือสิ่งที่น่ากังวลใจ เพราะจะเป็นสัญญาณของสิ่งผิดปกติอื่น ๆ เช่น การได้รับบาดเจ็บจากตอนเกิด การติดเชื้อหรือปัญหาทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ

 

คุณแม่ติดกาแฟ เครื่องดื่มคาเฟอีน ก็ทำให้ทารกนอนสะดุ้งได้

  • มีคนบอกกับคุณแม่ให้จำกัดการดื่มกาแฟ หรือเลิกกาแฟระหว่างให้นมเลยหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของคาเฟอีนที่จะเข้าสู่นมที่ใช้เลี้ยงลูกน้อย และปริมาณที่น้อยมากเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในกรณีทั่วไป
  • แต่ลูกน้อยของคุณแม่บางท่านอาจจะไวต่อคาเฟอีน นี่ไม่ใช่กรณีทั่วไป ลูกน้อยอาจจะกระสับกระส่ายและขยุกขยิกได้ เบื้องต้นในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟคาเฟอีนในน้ำนมแม่อยู่ในระดับสูงสุด ควรสังเกตอาการของลูกน้อยหากกินน้ำนมแม่ในช่วงนี้ ถ้าเห็นมีท่าทีตอบสนองผิดปกติไป ก็อาจจะต้องงดดื่มกาแฟ
  • จำกัดการดื่มไว้ที่ไม่ควรเกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าการดื่มกาแฟ 1-2 แก้ว ถ้าดื่มมากกว่า 10 แก้วต่อวัน อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการกระวนกระวาย เพราะคาเฟอีนที่ได้รับก็มากด้วยตามจำนวนแก้ว
  • กรณีคุณแม่ติดกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่น ๆ ได้แก่ ชาเขียว ชาดำ ชาขาว น้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และผลิตภัณฑ์โกโก้และช็อกโกแลต ปริมาณที่รับเข้าไปเกิน 200 มิลลิกรัม จะทำให้ลูกน้อยนอนสะดุ้งได้ เพราะแบบนั้นควรทานลดลง คือน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม เพื่อช่วยให้ลูกรักหลับหรืออยู่สบายตัว สดใสทั้งคุณแม่และลูกน้อย

 

วิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง คุณพ่อคุณแม่รับมือได้ไม่ยาก

การสะดุ้งนั้นหลายครั้งจะเกิดขึ้นตอนที่คุณแม่วางตัวลูกน้อยลง การที่ตัวลูกน้อยอยู่ในท่าโน้มเอียงตัวลงนอน คือคุณแม่กำลังจะวางลูกน้อยลงไว้กับที่นอน จะให้ความรู้สึกเหมือนกับจะตก และจะปลุกให้ลูกน้อยสะดุ้งขึ้นได้แม้ว่าจะนอนหลับสนิทอยู่ เพราะแบบนั้นเบื้องต้นในตอนวางลูกน้อยลงนอน คุณแม่อาจจะลองทำแบบนี้

1. ทิ้งตัวลงนอนด้านข้างด้วย

ให้ลูกน้อยกระชับร่างอยู่กับคุณแม่ อยู่ข้างตัวลูกน้อยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้หลังเขาอยู่กับที่นอนชั่วครู่ใหญ่ ๆ แล้วถึงจะผละไปได้ ตรงนี้จะทำให้ลูกน้อยไม่ประสบกับความรู้สึกเหมือนตัวเองจะร่วงหล่น และจะไม่ไปกระตุ้นให้เกิดการสะดุ้งแบบโมโร

 

2. ห่อตัวลูกน้อยของคุณแม่ไว้

ผ้าห่อตัวทำให้อบอุ่นและทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในมดลูก ช่วยให้ลูกน้อยของคุณแม่นอนหลับได้นานขึ้นด้วย กรณีที่ลูกนอนอยู่ และอยากแก้ไม่ให้ลูกน้อยนอนสะดุ้ง วิธีการที่ใช้ร่วมด้วยคือจัดการกับสิ่งที่อาจไปกระตุ้นให้เขาสะดุ้ง

  • ให้ลูกน้อยนอนในห้องที่ไม่มีเสียงรบกวน
  • ไม่ปล่อยให้มีแสงสว่างมากเกินไปในห้องที่ลูกน้อยใช้พักผ่อน

 

คุณแม่ควรให้ลูกนอนอย่างไรเพื่อป้องกันอาการทารกนอนสะดุ้ง

 

ไม่อยากให้ทารกนอนสะดุ้ง ให้นอนท่าไหนดีที่สุด

  1. คุณหมอแนะนำว่าท่านอนที่เหมาะสมที่สุด คุณแม่ควรจัดวางลูกน้อยลงนอนโดยไม่มีหมอน ขณะนอนหลับ ให้นอนหงายเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการขาดอากาศหายใจ
  2. เพื่อไม่ให้นอนสะดุ้ง การให้นอนหงายโดยห่อตัวลูกน้อยไว้เป็นคำตอบไขข้อข้องใจ ขั้นตอนในการห่อตัวลูกน้อย
    • ใช้ผ้าห่มผืนใหญ่และบาง วางผ้าห่มไว้บนพื้นผิวเรียบ
    • พับมุมหนึ่งเข้าเล็กน้อย ค่อย ๆ วางลูกน้อยของคุณแม่หงายหน้าบนผ้าห่มโดยให้ศีรษะอยู่ที่ขอบมุมที่พับไว้
    • นำผ้าห่มมุมหนึ่งมาพาดตัวทารกแล้วสอดไว้ข้างใต้
    • พับผ้าห่มผืนล่างขึ้น โดยเหลือพื้นที่ให้เท้าและขาของลูกน้อยขยับได้
    • นำมุมสุดท้ายของผ้าห่มมาพาดตัวทารกแล้วสอดไว้ข้างใต้ จะเหลือเพียงศีรษะและคอเท่านั้น
    • ลูกน้อยที่ห่อตัว คุณแม่ควรให้นอนหงายเท่านั้น และหมั่นคอยตรวจสอบเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยไม่รู้สึกร้อนจนเกินไป ถ้ามีคำถามเรื่องการห่อตัว นำไปปรึกษากับคุณหมอที่ดูแลลูกน้อยได้

 

อาการลูกนอนผวาร้องไห้แบบนี้ ควรไปปรึกษาคุณหมอ

เสียงร้องทำให้คุณแม่กังวล แต่สิ่งที่น่าวิตกต้องสังเกตจากลักษณะการเคลื่อนไหว รูปแบบการนอนผวาที่ชวนให้เป็นห่วงและต้องพาลูกน้อยไปหาคุณหมอเพื่อตรวจอาการ นำเสนอข้างต้น มีลักษณะอาการดังนี้

1. การกระตุกแบบไม่สมมาตร

การกระตุกเกิดขึ้นเพียงซีกเดียวของร่างกาย อาจเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรือการแตกหักที่กระดูกไหปลาร้า อาการนี้แนะนำไปแล้วข้างต้น

 

2. การกระตุกแบบรัว ๆ น่าตกใจ

เกิดการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อการเคลื่อนไหว เสียง หรือการสัมผัสอย่างกะทันหัน อาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ยากที่เรียกว่า Hyperekplexia

 

3. การกระตุกที่ยาวนานเกินไปกว่า 6 เดือน

อาจเป็นสัญญาณว่าจะมีพัฒนาการล่าช้าหรือเป็นอาการของปัญหาระบบประสาท ออทิสติก โรคสมาธิสั้น และความผิดปกติของการเรียนรู้และพัฒนาการ

 

ร่างกายของคนเรามหัศจรรย์มาก อาการสะดุ้ง ผวา และร้องไห้ในลูกน้อยเป็นอาการหนึ่งที่ชวนให้กังวลมากคุณแม่รู้ความจริงเบื้องหลังอย่างนี้แล้ว ก็หวังว่าคุณแม่จะโล่งใจขึ้น สามารถหลับไปกับลูกน้อยได้อย่างสงบด้วยความรู้สึกปลอดภัยและไม่ต้องหวาดระแวง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 


อ้างอิง:

  1. What to know about the Moro reflex, What to Expect
  2. The Moro Reflex: What Makes Babies Startle and How to Calm the Reflex, The Bump
  3. Can you drink coffee while breastfeeding?, Medical News Today
  4. What Every Parent Should Know About Baby Tremors, Verywell Family
  5. How Long Does the Startle Reflex in Babies Last?, Healthline
  6. Understanding Flat Head Syndrome (Plagiocephaly) in Babies, Healthline
  7. What Is the Moro Reflex?, WebMD
  8. คาเฟอีน ผลเสียต่อทารกในครรภ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 26 เมษายน 2567 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 4 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 4 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 4 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 4-5 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 4-5 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details 10 ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ตามช่วงวัย 0-1 ปี
บทความ
10 ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ตามช่วงวัย 0-1 ปี

10 ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ตามช่วงวัย 0-1 ปี

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกายของลูกน้อย ให้มีพัฒนาการที่ดีแบบก้าวกระโดด ของเล่นพัฒนาการเด็กแบบไหน ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

View details 10,000 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกสาวลูกชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
10,000 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกสาวลูกชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

10,000 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกสาวลูกชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกสาว ตั้งชื่อเล่นลูกชาย ชื่อจีน ชื่อไทย ชื่ออินเตอร์ รวมให้แล้วแบบไม่ซ้ำใคร เหมาะกับปีมังกรทอง คุณพ่อคุณแม่คิดชื่อไม่ออก ตั้งตามได้เลย

View details ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย
บทความ
ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกท้องเสีย มีอาการอย่างไร ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง ลูกท้องเสียบ่อยอันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลับมาท้องเสียอีก

6นาที อ่าน

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด - 1 ปี พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย
บทความ
พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 ปี พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด - 1 ปี พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย

พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด - 1 ปี ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการทารกในแต่ละช่วงวัยอย่างไร พร้อมกิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก

4นาที อ่าน

View details ไอเดียตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อมงคลตามวันเกิด อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
ไอเดียตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อมงคลตามวันเกิด อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

ไอเดียตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อมงคลตามวันเกิด อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

ตั้งชื่อจริงลูกตามวันเกิด มีอักษรไหนที่เหมาะสมและควรหลีกเลี่ยงบ้าง ไปดูการตั้งชื่อลูกตามวันเกิด ทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับลูกน้อยกัน

13นาที อ่าน

View details เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุและร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีสังเกตลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกร้องไห้ไม่หยุด ไปดูวิธีรับมือเด็กร้องไห้กัน

7นาที อ่าน

View details เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก
บทความ
เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เมื่อลูกสะอึกทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ดูแลเด็กทารกสะอึกได้ยังไงบ้าง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details ไอเดียแคปชั่นลูกชาย แคปชั่นอวดลูกชาย สำหรับคุณแม่สายโซเชียล
บทความ
ไอเดียแคปชั่นลูกชาย แคปชั่นอวดลูกชาย สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกชาย แคปชั่นอวดลูกชาย สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกชาย แคปชั่นอวดลูกชาย สำหรับพ่อแม่สายโซเชียล ที่ยังคิดแคปชั่นสำหรับลูกชายตัวแสบไม่ออก ไปดูไอเดียแคปชั่นลูกชายสุดน่ารัก พร้อมอวดให้โลกรู้กัน

9นาที อ่าน

View details นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?
บทความ
นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย คืออะไร เหมาะสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้จริงไหม ทำไมคุณแม่ถึงควรรู้เกี่ยวกับนมย่อยง่าย สำหรับลูก ไปทำความรู้จักและหาคำตอบพร้อมกัน

2นาที อ่าน

View details ผดผื่นลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร
บทความ
ผดผื่นลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร

ผดผื่นลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้

9นาที อ่าน

View details แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่
บทความ
แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

1นาที อ่าน

View details เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
บทความ
เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

อยากเปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกยังไง ไปดูเอกสารที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อกัน

5นาที อ่าน

View details ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี
บทความ
ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

พ่อแม่ยุคใหม่ อยากเปิดบัญชีให้ลูกทำยังไงได้บ้าง เปิดบัญชีให้ลูกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ต้องเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนอย่างไร เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

3นาที อ่าน

View details ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง
บทความ
ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง

ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

8นาที อ่าน

View details ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี
บทความ
ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details สะดือทารกมีเลือดออกอันตรายไหม สะดือเด็กทารกเลือดออกทำยังไงดี
บทความ
สะดือทารกมีเลือดออกอันตรายไหม สะดือเด็กทารกเลือดออกทำยังไงดี

สะดือทารกมีเลือดออกอันตรายไหม สะดือเด็กทารกเลือดออกทำยังไงดี

สะดือทารกมีเลือดออกผิดปกติไหม คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าสะดือเด็กทารกเลือดออกแบบไหน ต้องรีบพาไปหาหมอ พร้อมวิธีดูแลสะดือทารกมีเลือดออก ที่พ่อแม่ควรรู้

5นาที อ่าน