พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

05.03.2024

เมื่อลูกอายุได้ 9 เดือนก็จะเริ่มมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ  ด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ และการเรียนรู้ หากคุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจและทราบถึงพัฒนาการของเด็ก 9 เดือน วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสม รวมถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ก็จะช่วยให้สามารถดูแลลูกน้อยของคุณเติบโตสมวัย และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่จะมีอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบบ้าง ไปชมกันเลย

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 9 นาที

สรุป

  • เด็ก 9 เดือน เป็นช่วงกำลังตั้งไข่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูก วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ รวมทั้งข้อควรระวัง เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น
  • พ่อแม่ควรดูแลลูกน้อย 9 เดือนอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงที่ลูกเริ่มคลานได้คล่องตัวมากขึ้น เริ่มมีการพยุงตัวเพื่อยืน รวมทั้งมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ การเรียนรู้ และการสื่อสาร

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็ก 9 เดือน เป็นวัยที่จะเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการคลาน สามารถดันตัวขึ้นนั่งและนั่งอยู่โดยไม่ต้องพยุงไว้ รวมทั้งสามารถพยุงตัวขึ้นยืนได้โดยการเกาะเครื่องเรือนความสูงระดับอก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยได้โดยการเอาลูกไปอยู่ใกล้ ๆ โต๊ะเก้าอี้ที่ไม่สูงมากให้ลูกได้เกาะเพื่อยืนก็จะช่วยให้ลูกสามารถยืนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ด้านการสื่อสาร

เด็ก 9 เดือน จะเริ่มทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยอาจเป็นการสื่อสารผ่านวัจนภาษา (การพูด) หรืออวัจนภาษา (การแสดงออกด้านอื่น ๆ เช่นท่าทาง) ก็ได้ การแสดงความต้องการผ่านการชี้ เริ่มออกเสียงต่าง ๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนอาจสามารถตบมือ หรือโบกมือได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก 9 เดือน ได้โดยการอ่านหนังสือภาพสำหรับเด็กให้ลูกน้อยฟัง บอกชื่อสิ่งของที่ลูกเห็นในชีวิตประจำวัน ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้น

 

 

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ด้านการสื่อสาร

 

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ด้านการเรียนรู้

เด็ก 9 เดือน เป็นช่วงวัยที่สมองของพวกเขามีการพัฒนาขึ้นมาก โดยอาจสังเกตได้จากการที่ลูกมองตามสิ่งของที่หล่นมือ การชอบเล่นจ๊ะเอ๋ หยอกล้อ การย้ายสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การหยิบของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ รวมไปถึงการเอาของเข้าปาก เป็นต้น

 

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกน้อยวัย 9 เดือนได้โดยการเอาของชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกหยิบจับ ซึ่งควรมีการดูแลอย่างใกล้ชิด หรืออาจหาเกมอื่น ๆ เช่น การต่อบล็อก อ่านนิทานเรื่องใหม่ ๆ หรือออกไปเดินเล่นเพื่อให้ลูกไม่เบื่อกับสภาพแวดล้อมเดิม ๆ

 

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ด้านอารมณ์

เมื่อลูกอายุได้ 9 เดือน เด็กจะเริ่มมีการแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น การเริ่มติดผู้ใหญ่ที่คุ้นเคย ขี้อายเมื่อพบกับคนแปลกหน้า รวมถึงมีการแสดงออกผ่านสีหน้าว่ารู้สึกสุข เศร้า ประหลาดใจ มีการยิ้ม หัวเราะ เมื่อเล่นหรือถูกหยอกล้อ รวมไปถึงพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการหยิบของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กชิ้นโปรดมาเล่นบ่อย ๆ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นดังนั้นแล้ว ก็อาจจะอ่านสัญญาณและให้ลูกเป็นผู้นำระหว่างการเล่น

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 9 เดือน

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 9 เดือน

1. ควรปูพรม เบาะ หรือฟูก ป้องกันลูกล้ม

เด็ก 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่พวกเค้าจะเริ่มยืน แต่กำลังขายังไม่แข็งพอ ทำให้ยืนอย่างมั่นคงไม่ได้ ลุกขึ้นยืนแล้วล้มอยู่บ่อย ๆ ล้ม ๆ ลุก ๆ คล้ายการนำไข่มาตั้ง หรือที่เรียกว่าตั้งไข่นั่นเอง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจมีการปูพื้นด้วยพรมหรือแผ่นโฟมเพื่อช่วยลดแรงกระแทกขณะลูกน้อยหกล้ม รวมทั้งอาจมีการยึดเฟอร์นิเจอร์ สิ่งของต่าง ๆ ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยดึงลงมาขณะพยุงตัวยืน

 

2. ไม่ควรตามใจลูกเกินไป

เด็ก 9 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เริ่มเข้าใจถึงเหตุและผลมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรตามใจลูกมากเกินไป เพื่อไม่ให้ลูกติดนิสัยเอาแต่ใจไปจนถึงตอนโต

 

3. อย่าปล่อยให้ลูกเล่นมากเกินไป จนเวลานอนไม่เพียงพอ

เด็ก 9 เดือนส่วนใหญ่ต้องการนอนประมาณ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน และหลับในตอนกลางคืนประมาณ 10-12 ชั่วโมง ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกเล่นมากเกินไป จนเวลานอนไม่เพียงพอก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกได้

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 9 เดือน

1. ให้ทานอาหารที่หั่นชิ้นเล็ก เพื่อฝึกการขบกัด

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้อาหารบำรุงสมองและร่างกายของลูกน้อยวัย 9 เดือนได้เหมือนกับที่ผ่านมา แต่อาจหั่นให้อาหารหนาและหยาบขึ้น เพื่อเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อในปากของเด็กได้ฝึกการเคี้ยว เช่น เนื้อสัตว์สุกหรือผักสุกหั่นชิ้นเล็ก

 

2. ใช้เสียงดนตรี ทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี

เสียงดนตรีนอกจากจะช่วยกระตุ้นสมอง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางด้านการพูดและภาษาแล้ว ยังส่งผลดีต่ออารมณ์และอาจทำให้ลูกเรียนรู้ได้ง่ายมากขึ้น

 

3. พาลูกออกไปเล่นนอกบ้าน

การพาลูกออกไปเล่นนอกบ้าน นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากสภาพแวดล้อมแบบเดิม ๆ แล้ว ยังช่วยให้ลูกได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้กลิ่น ได้ยิน ได้สัมผัสกับธรรมชาติ ได้พบกับผู้คนใหม่ ๆ และได้สำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอีกด้วย

 

4. ให้ลูกจับมือพ่อแม่ เพื่อพยุงร่างกายในการฝึกยืน

ในช่วงที่เด็ก 9 เดือนเริ่มตั้งไข่ นอกจากสิ่งของต่าง ๆ ที่ลูกน้อยใช้พยุงเพื่อช่วยในการยืนแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกจับมือเพื่อช่วยพยุงร่างกายในการฝึกยืนได้ เพราะแม้ว่าจะเริ่มตั้งไข่ได้ง่ายขึ้นแล้ว แต่การยืนของเด็กในวัยนี้ก็อาจจะยังไม่ได้มั่นคงมาก ลูกจะได้รู้สึกปลอดภัยที่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ

 

เด็ก 9 เดือน นับว่าเป็นช่วงเวลาอีกช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม การเรียนรู้ และการสื่อสาร พ่อแม่จึงควรดูแลลูก ๆ อย่างใกล้ชิด และทราบถึงพัฒนาการ วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการ รวมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ ในเด็กวัยนี้ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีและเติบโตสมวัย พร้อมกับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 9 เดือน, Unicef
  2. Your baby's growth and development — 9 months old, Pregnancy birth baby
  3. Important Milestones: Your Baby By Nine Months, Centers for Disease Control and Prevention
  4. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 9 เดือน, Unicef
  5. 9-Month-Old Baby, What to expect
  6. Your Child's Development: 9 Months, Kids health
  7. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 9 เดือน, Unicef
  8. Your Child's Development: 9 Months, Kids health
  9. Everything You Need for Your Baby at 6-9 Months, Parents
  10. Should I worry about spoiling my baby?, babycenter
  11. Everything you need to know about 9-month sleep regression, CHOC
  12. My 9 Month Old Won’t Sleep! Sleep Training Tips, Baby sleep made simple
  13. What is insufficient sleep?, Children’s hospital Colorado
  14. Feeding Your baby: The How & When of Food Textures, FeedingPlus
  15. How Playing Music Helps Boost a Baby's Brain Development, Conceive Abilities
  16. Benefits of classical music for babies, babycenter
  17. 9-10 months: baby development, Raisingchildren
  18. Developmental milestones: standing, babycentre
  19. Take a Stand! When Do Babies Stand on Their Own, Pathways

อ้างอิง ณ วันที่ 21 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

รวมของเล่นฝึกสมาธิเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก ให้ลูกมีพัฒนาการทางที่ดี ของเล่นฝึกสมาธิเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกพูดไม่ชัดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดไม่ชัด พร้อมวิธีรับมือปัญหา อาการลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก