วิธีชงนมที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่

วิธีชงนมผงที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่

06.02.2024

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้คุณแม่ให้นมลูกในช่วง 6 เดือนแรก จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป ถ้ามีความจำเป็นต้องกินนมผสมหรือนมผงคุณแม่ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม รวมถึงควรเตรียมนมให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี ใช้นมผสมที่เหมาะกับช่วงวัย และอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อสุขภาพที่ดีและร่างกายที่แข็งแรงสมวัยของลูกรัก

headphones

PLAYING: วิธีชงนมผงที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • หลักการชงนมที่ดีให้ลูกน้อยต้องมีความสะอาดและปลอดภัย โดยก่อนที่คุณแม่จะชงนมให้ลูกน้อยควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้งและควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อขวดนมและอุปกรณ์ชงนมอยู่เสมอ
  • นมที่ชงแล้วสามารถวางไว้ในอุณภูมิห้องได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง หากเกินกว่านี้แนะนำให้คุณแม่เททิ้งทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยท้องเสีย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ขั้นตอนการเตรียมนมและวิธีชงนมให้ลูกน้อย

การเตรียมนมให้ลูกน้อยสิ่งสำคัญคือต้องสะอาดปลอดภัย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: วิธีชงนมที่ดี สุขอนามัยต้องสะอาด

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมนมทุกครั้ง
  2. เลือกภาชนะใส่นมที่สะอาด หากมีนมเหลือจากขวดนมให้ล้างทำความสะอาดก่อน
  3. นำภาชนะใส่นมไปฆ่าเชื้อด้วยการต้มหรือการนึ่งทุกชิ้น
  4. พักภาชนะใส่นมจนแห้งสนิท

 

ขั้นตอนที่ 2: วิธีชงนมที่ดี ต้องใช้น้ำร้อนผสมน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นจนเท่าอุณหภูมิห้อง

หลังจากเตรียมภาชนะใส่นมให้ลูกน้อยแล้วต่อมาคุณแม่ควรเตรียมน้ำสำหรับผสมนมผง โดยน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำต้มเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการชงนมให้ลูกน้อย จากนั้นปล่อยให้อุณภูมิน้ำลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส แล้วค่อยนำน้ำมาชงให้ลูกน้อยกิน และควรชงนมในปริมาณที่พอดีกับลูกน้อยแต่ละครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้มีนมผงที่เหลือทิ้งมากเกินไป

 

ขั้นตอนที่ 3: วิธีชงนม การเตรียม และการตวงนม

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนเริ่มเตรียมนมผงให้ลูกน้อย
  2. นำขวดนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วมาใช้
  3. ก่อนเตรียมนมควรตรวจสอบสัดส่วนของน้ำและนมผงที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำบนฉลากของนมผงแต่ละสูตร
  4. เติมน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ใส่ขวดนมตามปริมาณที่กำหนด คุณแม่ควรเติมน้ำก่อนใส่นมผงทุกครั้ง
  5. ใช้ช้อนตวงตักนมผงให้เต็ม แล้วเคาะเอาฟองอากาศออกก่อน จากนั้นปาดช้อนตวงให้เรียบ แล้วใส่นมผงตามสัดส่วนที่กำหนดไว้บนฉลาก
  6. ใส่จุกนมและปิดฝาขวดนมให้แน่นสนิท

 

ขั้นตอนที่ 4: วิธีชงนมให้นมผงละลาย

หลังจากที่คุณแม่เตรียมนมให้ลูกน้อยเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อย ๆ เขย่าขวดนมเบา ๆ หรือหมุนขวดนมเป็นวงกลมจนกว่านมผงจะละลายโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเขย่านมแรงจนเกินไป ก่อนให้นมลูกน้อยคุณแม่ควรตรวจสอบดูว่านมร้อนเกินไปหรือไม่ โดยการหยดนมลงหลังมือเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อย

 

วิธีเก็บรักษานมที่ชงแล้ว

  • นมที่ชงและกินแล้ว: คุณแม่ควรให้ทานนมให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมง
  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและนำไปแช่เย็น: นมที่ชงไว้แล้วแต่ลูกน้อยยังไม่ทันได้กิน คุณแม่สามารถนำนมไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้หลังจากที่นมเย็นตัวลงแล้วสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน คุณแม่ไม่ควรนำนมไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็งเพราะอาจทำให้นมลดคุณภาพลงไปได้ หากเก็บนมไว้เกิน 24 ชั่วโมงคุณแม่ควรเทนมทิ้งทันทีแล้วชงนมให้ลูกน้อยใหม่
  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและไม่ได้นำไปแช่เย็น: นมที่ชงแล้วคุณแม่ควรปิดฝาให้สนิทสามารถวางไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 1-2 ชั่วโมงในที่ร่ม พยายามไม่ให้โดนความร้อนและไว้กลางแจ้ง ในกรณีที่ลูกน้อย กินนมชงไม่หมดให้คุณแม่เททิ้งหลังจากวางทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง ห้ามนำมาป้อนให้กับลูกน้อยเพราะอาจทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้

 

ในกรณีที่คุณแม่ต้องการอุ่นนมให้ลูกน้อย แนะนำให้นำออกมาจากตู้เย็นแล้วนำไปวางลงในภาชนะสำหรับอุ่นนม โดยที่ต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำสัมผัสกับฝาขวดนมหรือจุกนม และควรหมุนนมให้นมอุ่นเท่า ๆ กัน กรณีที่คุณแม่ใช้เครื่องอุ่นนมควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และห้ามนำนมไปอุ่นโดยใช้ไมโครเวฟเป็นอันขาด เพราะความร้อนที่ใช้ไม่เท่ากัน และไม่ควรอุ่นนมนานกว่า 10 นาที

 

4 ขั้นตอนเก็บนมผงที่ถูกต้อง

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้เก็บนมผงต้องสะอาด
  2. หลีกเลี่ยงการเทนมผงลงภาชนะและควรพับปิดปากถุงนมให้สนิท
  3. ควรเก็บนมผงไว้ในที่แห้งให้ห่างจากความร้อนหรือความชื้น
  4. นมผงที่เปิดปากถุงแล้วสามารถอยู่ได้นานประมาณ 1 เดือน หรือตามคำแนะนำข้างฉลาก คุณแม่ควรเขียนวันที่กำกับไว้

 

ทำไมไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมเด็ก

น้ำที่ใช้สำหรับชงนมควรเป็นน้ำต้มเดือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชงนมให้ลูกน้อย จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิน้ำค่อย ๆ ลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส แล้วค่อยนำน้ำมาชงให้ลูกน้อยกิน  ซึ่งเป็นอุณภูมิที่เหมาะกับการชงนมเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยและคุณภาพของน้ำนม

 

ใช้น้ำอุณหภูมิห้องชงนมเด็กได้หรือไม่

ไม่แนะนำให้คุณแม่ชงนมให้ลูกน้อยด้วยน้ำอุณหภูมิห้องแต่ควรชงนมด้วยน้ำต้มเดือด จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิน้ำลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วควรทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องก่อนให้ลูกน้อยกินเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของเด็ก

 

เทคนิคการเขย่าขวดนมให้เกิดฟองน้อย

คุณแม่ไม่ควรเขย่าขวดนมแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกน้อยท้องอืดได้ คุณแม่ควรผสมนมโดยการแกว่งขวดนมไปมา หรือการพลิกขวดนมขึ้นลงแค่ไม่กี่ครั้งให้นมผสมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป ถ้ามีความจำเป็นต้องกินนมผสมหรือนมผงสำหรับเด็ก คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. การเตรียมการให้นมผงและการฆ่าเชื้อขวดนม, NSW Government
  2. ชงนมอย่างไรจึงจะปลอดภัยจาก…จุลินทรีย์ เอนเทอโรแบคเตอร์ ซาซากิ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  3. แนวทางการให้นมเด็กจากขวด, Family Health Service Department of Health Hong Kong
  4. คำแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท
  5. นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรชงนมและเก็บรักษาอย่างไร, HelloKhunmor
  6. Marburg Hemorrhagic Fever, จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 6 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก กับ 3 ข้อเท็จจริงของอาการภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ ป้องกัน ด้วย 2’FL ที่พบในนมแม่ วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก