วิธีเตรียมของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

วิธีเตรียมของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

30.04.2024

ช่วงใกล้คลอดคุณพ่อคุณแม่ก็มักจะจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ สำหรับลูกน้อยเอาไว้เพื่อความสะดวกหลังคลอด เพราะหากคลอดทารกน้อยแล้วในระหว่างนั้นหลาย ๆ อย่างอาจจะไม่เอื้ออำนวยให้ออกไปเลือกซื้อสิ่งของได้สะดวก เพราะของใช้ทารกแรกเกิดบางอย่างต้องไปดูสินค้าจริง ไม่สามารถซื้อผ่านออนไลน์ได้ แต่จะออกไปหาซื้อก็คงลำบากหรือฝากซื้ออาจไม่ได้ของตามต้องการ ของใช้บางอย่างเช่น คาร์ซีท ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทารกตั้งแต่แรกคลอดเช่นกัน คาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยช่วยในเรื่องความปลอดภัยเวลาเดินทาง ป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ การเลือกซื้อสินค้าเด็กทารกที่สำคัญอย่าลืมดูวันหมดอายุด้วยนะคะ

headphones

PLAYING: วิธีเตรียมของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • การเตรียมของใช้สำหรับเด็กแรกคลอด ไม่จำเป็นต้องซื้อทีละจำนวนมาก ๆ เพราะทารกแรกเกิดเติบโตเร็ว เสื้อผ้า แพมเพิส ใช้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนขนาด
  • สิ่งสำคัญสำหรับการเลือกซื้อสินค้าเด็กทารก คือ ความปลอดภัย ความสะอาด ดังนั้นควรตรวจดูวันหมดอายุของสินค้านั้น ๆ
  • คาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารกหรือเด็กเล็กก็ตาม แม้กระทั่งทารกแรกคลอด เพราะคาร์ซีทช่วยลดความเสี่ยงการบาดเจ็บร้ายแรงและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ของใช้เด็กแรกเกิด ควรเริ่มเตรียมตอนไหนดี

สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลทารกแรกเกิด หลัก ๆ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ การดูแลด้านร่างกาย ในเรื่องโภชนาการด้วยการให้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในสถานที่ที่มีความสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และมีความปลอดภัย และด้านจิตใจ คือ การดูแล เลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานทางจิตใจที่ดีให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด สำหรับการดูแลด้านร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ที่คุณพ่อคุณแม่เตรียมไว้ดูแลทารกแรกเกิด สามารถเตรียมไว้ก่อนเผื่อไว้หลาย ๆ วัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อให้ครบทุกอย่าง เพราะในช่วงนี้ทารกน้อยจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน แพมเพิส เป็นต้น ใช้ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนขนาด สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าเด็กอ่อน คือ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง และความเหมาะสมต่อความต้องการใช้งาน

 

เช็กลิสต์ของใช้เด็กแรกเกิด เตรียมใส่กระเป๋ารอไว้เลย

สิ่งของสำคัญและจำเป็นสำหรับทารกแรกคลอดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมไว้ สำหรับทารกแรกเกิด แบ่งตามหมวดหมู่ที่จำเป็น มีดังนี้

ของใช้ทารกแรกเกิด หมวดเครื่องใช้อาบน้ำและทำความสะอาด

  • อ่างอาบน้ำ ควรมีที่กั้นกันลื่นเพื่อความปลอดภัยของทารกน้อย เก้าอี้อาบน้ำ ฟองน้ำธรรมชาติ สบู่ แชมพู ควรเลือกใช้สูตรธรรมชาติ
  • ผ้าขนหนู ควรเตรียมไว้สำหรับห่อตัวทารก 1 ผืน และผ้าเช็ดตัว 2 ผืน สำหรับใช้สลับกัน และผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ อีก 1-2 ผืน
  • สำลี สำหรับทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ จะขับถ่ายง่ายและถ่ายบ่อย อาจจะถ่ายมากถึง 3-4 ครั้ง/วัน ลักษณะของอุจจาระมีลักษณะนิ่ม ๆ เละ ๆ สีเหลือง ทำให้คุณแม่ต้องเตรียมสำลีไว้จำนวนมาก สำลี มีหลายลักษณะ เช่น สำลีแบบก้าน (คอตตอนบัด) สำลีแบบแผ่นรีดข้าง สำลีแบบแผ่น สำลีแบบก้อน เอาไว้เช็ดก้น
  • กระดาษทิชชู่ สำหรับใช้ทำความสะอาดทั่วไป หรือกระดาษทิชชู่แบบเปียก สำหรับใช้เช็ดทำความสะอาดเมื่อต้องออกเดินทางไปข้างนอก
  • ผ้าก๊อซ ชุบน้ำอุ่น ใช้เช็ดปาก เช็ดสันเหงือกและลิ้นให้ทารก ไม่ควรปล่อยให้เป็นฝ้าขาว เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย
  • ฟองน้ำธรรมชาติ เอาไว้ชุบน้ำแล้วบีบ ทำให้คุณแม่ทำความสะอาดได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการสระผมทารก
  • กระติกน้ำร้อนใช้สำหรับผสมน้ำอาบ
  • กะละมังซักผ้าอ้อม
  • ถังแช่ผ้าที่เลอะฉี่ เลอะอุจจาระ
  • ราวตากผ้าอ้อม ไม้แขวนเสื้อเด็ก
  • ถังขยะ

 

ของใช้ทารกแรกเกิด หมวดห้องนอน ที่นอน

  • ที่นอน เบาะนอน ผ้าปูที่นอน หมอน ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับทารกให้นอนหลับในท่าหงาย ผ้าปูที่นอนต้องขึงตึงอยู่เสมอ เพราะผ้าปูหรือเบาะรองนอนที่หลุดออกจากเตียง อาจทำให้อุดปากหรือจมูกทำให้ทารกหายใจไม่ออกเกิดอันตรายได้ รวมถึงที่นอน วัสดุรองนอน ต้องไม่นิ่มจนบุ๋ม รวมถึงปราศจากของเล่น หรือหมอนและเครื่องนอนอื่น ๆ เพื่อป้องกันความปลอดภัย
  • ผ้ายางรองฉี่ ควรเตรียมไว้ 2 ผืน หากยังเป็นทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กที่ยังควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ คุณแม่ควรปูผ้ายางกันซึมทับลงบนที่นอน เพื่อไม่ให้ปัสสาวะของลูกซึมลงที่นอน
  • ผ้าห่ม ผ้าคลุม การใช้ผ้าห่ม ผ้าคลุมสำหรับทารกแรกเกิด รวมถึงปรับอุณหภูมิห้องช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารกได้ ช่วยให้ทารกเกิดความปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

 

ของใช้ทารกแรกเกิด หมวดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

  • ผ้าห่อตัวหรือผ้าพันตัวผืนใหญ่ 1 ผืน ในวันออกจากโรงพยาบาล หรือพาไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพตามนัด ควรใช้เป็นผ้าสำลี เพื่อความอบอุ่น
  • เสื้อผ้า 4-6 ตัว ควรเป็นผ้าฝ้ายคอกว้าง หรือเสื้อแบบผูกด้านหน้าจะผูกง่ายกว่าเสื้อที่ผูกด้านหลัง
  • หมวกใบเล็ก ๆ คลุมศีรษะเวลาที่ต้องออกแดดหรืออยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็น
  • ถุงมือ 2-4 คู่ เพื่อป้องกันทารกน้อยเอาเล็บข่วนใบหน้า ถุงเท้า เพื่อความอบอุ่นเท้าเตรียมไว้ 2-4 คู่ การใช้ถุงมือถุงเท้าสำหรับทารกแรกเกิดมีความปลอดภัยช่วยดูแลรักษาและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงปรับอุณหภูมิห้องอย่างเหมาะสม จะสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกได้

 

ของใช้ทารกแรกเกิด ผ้าอ้อม

  • ผ้าอ้อม เตรียมผ้าอ้อมสัก 2 โหล ผ้าอ้อมหากเป็นผ้าสาลู ยิ่งซัก ผ้าจะยิ่งนุ่ม คราบเปื้อนซักออกง่ายและแห้งไว
  • แพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับทารกแรกเกิด ใช้เฉพาะช่วงกลางคืน

 

ของใช้ทารกแรกเกิด หมวดอุปกรณ์การกิน

 

สำหรับคุณแม่

  • เสื้อชั้นในสำหรับให้นม ประมาณ 4 ตัว เพื่อให้คุณแม่สะดวกเวลาให้นมลูกตอนอยู่นอกบ้าน หรือต้องปั๊มนมในที่ทำงาน หรือที่สาธารณะ
  • แผ่นซับน้ำนม เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลซึม มีแบบใช้แล้วทิ้ง ป้องกันการหมักหมมของเชื้อโรค และแบบใช้แล้วซักได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของคุณแม่
  • เครื่องปั๊มนม มีทั้งแบบปั๊มมือ แบบใช้ไฟฟ้า มีหลากหลายราคา
  • ถุงเก็บน้ำนม
  • เครื่องอุ่นนม
  • หมอนรองให้นมลูก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยคุณแม่ได้มาก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มักเกิดความเมื่อยล้าเวลาที่อุ้มลูกรวมถึงเวลาที่ให้นมลูก ต้องนำหมอนมาวางหนุนซ้อนเพื่อรองรับทารก หมอนที่ไม่โอบกระชับยิ่งส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า หมอนให้นมลูกเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าให้แม่ได้ รูปทรงของหมอนที่โอบกระชับตามหน้าท้องของแม่ เพื่อใช้รองรับทารกขณะที่ดูดนมแม่ เพิ่มความสะดวกสบายคลายความปวดเมื่อยได้อย่างดี

 

เตรียมของใช้เด็ก ทุกอย่างต้องอ่อนโยน

การเตรียมของใช้สำหรับทารก ทุกอย่างต้องอ่อนโยน และมีความปลอดภัย นอกจากนี้ มีข้อควรคำนึงเวลาเลือกซื้อของใช้ทารก ดังนี้

  • เลือกซื้อด้วยความใจเย็น คิดก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อเปรียบเทียบราคา และคุณภาพของใช้
  • ของใช้ที่จำเป็น ควรเลือกใช้ที่มีอายุการใช้งานยาวนานหรือนำมาดัดแปลงใช้จนลูกโต
  • สิ่งของที่มีลวดลายน่ารัก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยได้
  • อุปกรณ์ที่มีเชือกผูก ต้องผูกให้แน่น หรือบางอย่างไม่จำเป็นก็ตัดเชือกทิ้งไปได้
  • ของใช้ต่าง ๆ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก และตรวจดูวันหมดอายุของสิ่งของที่นำมาใช้

 

เตรียมของใช้ทารกแรกเกิด อย่าลืมดูวันหมดอายุด้วยนะ

ของใช้เตรียมคลอด การเตรียมของใช้สำหรับทารกแรกเกิด ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจดูวันหมดอายุของสิ่งของที่นำมาใช้สำหรับทารกแรกเกิดด้วย

 

เตรียมของใช้ทารกแรกเกิด แล้วคาร์ซีทจำเป็นกับลูกน้อยไหมนะ

 

คาร์ซีท สำคัญกับเด็กแรกเกิดไหม

การเลือกใช้คาร์ซีท หรือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง สามารถใช้ได้ตั้งแต่ทารกแรกคลอด เพราะคาร์ซีทช่วยป้องกันความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ได้

  • คาร์ซีทสำหรับทารกแรกเกิด คาร์ซีท หรือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก กรณีเป็นเด็กทารกแรกเกิด เลือกใช้คาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ จะมีด้ามจับอยู่ด้านบน สามารถถอดออกจากฐานที่ยึดเบาะรถได้ และติดตั้งโดยหันหน้าเข้าหาเบาะหลังเท่านั้น เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดถึง 2 ปี

 

เครื่องปั๊มนม ไอเทมสำคัญ ห้ามลืมเอาไปเด็ดขาด

สำหรับแม่ให้นมทุกคนจำเป็นต้องเก็บสำรองนมแม่ไว้เพื่อลูกน้อย ปั๊มนมจึงเป็นวิธีเก็บสำรองนมแม่ที่สะดวกและประหยัดเวลาในการให้นมลูก หากคุณแม่ไม่ว่างหรือต้องไปทำงานนอกบ้าน ผู้ที่รับหน้าที่เลี้ยงลูกแทนสามารถป้อนนมแม่ให้ทารกได้ และยังเปิดโอกาสให้คุณพ่อได้ใกล้ชิดลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ปั๊มนม ช่วยอุ้มลูกแทนแม่ นอกจากนี้ การปั๊มนม ยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก ดังนี้

  • กระตุ้นการผลิตน้ำนม ทำให้ปริมาณน้ำนมของคุณแม่มากขึ้น
  • เก็บสำรองนมแม่ไว้ให้ทารก ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือแม่ให้นมจากเต้าโดยตรงไม่ได้ หรือแม่ให้นมต้องหยุดให้นมเนื่องจากต้องรับการรักษาหรือให้ยาบางอย่างที่จะส่งผลกระทบต่อทารก การปั๊มนมไว้ก่อนการรักษาช่วยให้ทารกยังได้รับนมแม่ ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียมและสฟิงโกไมอีลิน อีกทั้งนมแม่ยังช่วยลดอัตราการเกิดลำไส้อักเสกในทารกอีกด้วย
  • ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการคัดเต้านม เต้านมคัดเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ ร่างกายของคุณแม่สร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ แม่ให้นมเว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป หรือลูกดูดนมแม่ไม่บ่อย แม่จำกัดเวลาให้นมลูก หรือแม่ให้นมลูกไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำนมระบายได้ไม่ดี ดังนั้น การใช้เครื่องปั๊มนมช่วยลดอาการคัดเต้านมและช่วยสำรองนมแม่ไว้ให้ลูกน้อยได้
  • ป้องกันลูกน้อยสำลักนมแม่ หากน้ำนมในเต้ามีเยอะ การปั๊มนมเก็บไว้เป็นสต๊อกให้ลูกกินในมื้อถัดไป รวมถึงทำให้น้ำนมไม่หลงเหลือในเต้าเยอะเกินไปอาจทำให้ลูกสำลักนมได้

 

ดังนั้น เครื่องปั๊มนมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรลืมที่จะติดตัวไปด้วยทุกที่ สามารถปั๊มนมได้ทุกเวลาเพื่อกระตุ้นน้ำนมแม่ให้มีเพียงพอสำหรับเลี้ยงทารกน้อยและลดอาการปวดคัดตึงเต้านมด้วย

 

วิธีเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับเด็กแรกเกิด

การเลือกเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดตัว ทารกแรกเกิดเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรเตรียมเสื้อผ้าไว้เยอะจนเกินไป และเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายความอับชื้นได้ดี เช่น ผ้าฝ้ายหรือผ้าป่าน อ่อนนุ่มและไม่ระคายเคืองผิว เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย แนวทางการเลือกเสื้อผ้าสำหรับทารกแรกเกิด มีดังนี้

  • เสื้อผ้าที่ใส่ควรสวมใส่ง่ายและถอดง่าย เช่น เสื้อคอกว้าง กางเกงเอวยางยืดแบบยืดหยุ่นพอดีไม่รัดจนเกินไป เพราะทารกแรกเกิดขับถ่ายบ่อยหรือคายนมจนเปื้อนเสื้อผ้า ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ
  • เลือกเสื้อผ้าที่มีกระดุมที่เป้า เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • เลือกเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย ผ้าป่าน เพราะมีเนื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม และอ่อนโยนต่อผิวทารกแรกเกิด
  • เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ และมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน ถุงมือและหมวกผ้าฝ้าย สำหรับให้ความอบอุ่นและปกป้องผิวทารกแรกเกิด
  • เลือกเสื้อผ้าสำหรับทารกแรกเกิด ควรเลือกที่มีป้ายกำกับว่า มีอันตรายจากไฟไหม้ต่ำ (Low Fire Hazard Label) เนื้อผ้าที่ลดความเสี่ยงต่อการติดไฟ
  • ตัดป้ายที่ติดคอเสื้อออกก่อนสวมใส่ให้ทารกแรกเกิด เพราะป้ายอาจบาดผิวหรือเกิดความระคายเคืองผิวได้
  • หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีลวดลาย ลูกไม้ หรือของประดับตกแต่ง เพราะอาจบาดผิวหรือระคายเคืองผิวทารกแรกเกิดได้
  • หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีการถักทอหรือตัดเย็บที่ไม่แข็งแรง อาจทำให้วัสดุบางอย่าง เช่น ซิป กระดุม หลุดออกมาได้ง่าย
  • เสื้อผ้าที่ซื้อมาทุกครั้งต้องซักทำความสะอาดก่อนนำมาสวมใส่ให้ทารก เพื่อป้องกันสารเคมีหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่

 

การเลือกซื้อของใช้ทารกแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกได้ตามความต้องการใช้งานที่จำเป็น ซึ่งราคาและคุณภาพ ขึ้นอยู่กับสะดวก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึง คือ ความปลอดภัย และสังเกตวันหมดอายุของสิ่งของแต่ละชิ้นเพื่อมาตรฐานและความปลอดภัยของทารกน้อย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลทารกแรกเกิด, โรงพยาบาลยันฮี
  2. 108 ของใช้เด็กอ่อน & ของใช้เด็กแรกเกิด มีอะไรจำเป็นบ้าง ?, Medthai
  3. การดูแลทารกแรกเกิดหลังคลอด, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  4. ห่อตัวทารกอย่างไรป้องกันภาวะไหลตาย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คาร์ซีท เลือกซื้อและติดตั้งอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย, pobpad
  6. ปั๊มนมอย่างไรให้ถูกต้อง, pobpad
  7. เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไรให้เหมาะสม, hellokhunmor
  8. เคล็ดลับดูแลฟันลูกแต่ละช่วงวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  9. เทคนิคจัดการน้ำนมแม่ ให้ลูกอิ่มหนำสำราญ, โรงพยาบาลเวชธานี
  10. เด็กคลอดก่อนกำหนด ดูแลรักษาถูกวิธี พัฒนาการดีสมวัย, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  11. สาเหตุของเต้านมคัด, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  12. หมอนให้นมลูก, โรงพยาบาลรามาธิบดี
  13. ผลงานเชิงวิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดจากมารดาทีได้รับการผ่าตัดคลอด, โรงพยาบาลวิชรพยาบาล

อ้างอิง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลีย หรือมีอาการอาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวด ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด วิธีให้ลูกดูดขวด ต้องเตรียมตัวอย่างไร เช็กตารางปั๊มนม เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก