เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

29.08.2024

พัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของทารกนั้น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะพัฒนาการในแต่ละวัยสามารถบ่งบอกว่า ทารกมีพัฒนาการสมวัย หรือมีสัญญาณพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ โดยปกติทารกจะเริ่มพลิกคว่ำอายุ 4 – 6 เดือน พ่อแม่สามารถฝึกให้ลูกนอนคว่ำได้ การให้ลูกนอนคว่ำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ทำให้สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ แขน และไหล่

headphones

PLAYING: เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ทารกอายุ 4 เดือน จะเริ่มเรียนรู้พลิกตัวจากท่านอนคว่ำไปนอนหงาย ทารกบางรายอาจพลิกคว่ำได้ตอนอายุ 6 เดือน เด็กทารกในแต่ละคนจะมีพัฒนาการด้านร่างกายที่เร็วและช้า ไม่เหมือนกัน หากทารกอายุ 6 เดือนแล้วยังไม่พลิกคว่ำ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด
  • คุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ทารกนอนคว่ำได้ตั้งแต่แรกคลอด ช่วงอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกด้วยการให้ทารกน้อยนอนคว่ำบนหน้าอก หรือบนลำตัว 1-2 นาทีต่อวัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้น จับลูกนอนคว่ำบนหน้าอกแบบนี้ได้วันละหลาย ๆ ครั้ง
  • การให้ทารกนอนคว่ำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว ทำให้เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ แขน และไหล่ การนอนคว่ำยังช่วยฝึกพัฒนาการการมองเห็นของทารก ทำให้ทารกได้สังเกตมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้
  • ในการฝึกการนอนคว่ำนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อทารก คุณพ่อคุณแม่ และผู้ดูแลนั้นต้องอยู่กับทารกอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กคว่ำกี่เดือน สังเกตยังไงว่าลูกควรคว่ำตัวแล้ว

ทารกวัย 2 เดือน หากคุณแม่จับเด็กนอนคว่ำ เขาจะเริ่มชันคอขึ้นในท่าคว่ำ เมื่ออายุเข้า 4 เดือนจะเริ่มชันคอตั้งขึ้น ทารกน้อยจะเริ่มพลิกตัวคว่ำได้ เมื่อตั้งศีรษะได้ โดยไม่ต้องช่วยประคอง ใช้ศอกดันตัวเองขึ้นเมื่อนอนคว่ำ เริ่มพลิกตัวนอนหงายได้ พัฒนาการทางด้านร่างกายของทารกในวัยนี้เริ่มเตรียมความพร้อมที่จะพลิกหงาย พลิกคว่ำ พอเข้าเดือนที่ 5 ทารกจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดี สามารถคืบ พลิกหงาย พลิกคว่ำได้ด้วยตัวเอง

 

โดยทั่วไป จะสังเกตได้ว่า เมื่อ4 เดือนทารกมักเรียนรู้การเริ่มพลิกตัวจากท่านอนคว่ำไปนอนหงาย ทารกจะขยับนิ้ว เอื้อมมือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ชันคอมองสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ในขณะที่ทารกบางคนพลิกคว่ำได้ตอนอายุ 6 เดือน เด็กทารกแต่ละคนจะมีพัฒนาการด้านร่างกายช้าและเร็วที่แตกต่างกันออกไป หากทารกอายุ 6 เดือนแล้วยังพลิกคว่ำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์ในเรื่องพัฒนาการของลูก เพื่อดูแลลูกอย่างเหมาะสมตรงตามพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

 

พัฒนาการคว่ำตัวของเด็ก ในแต่ละช่วงวัย

อายุ 2-4 เดือน

  • ยกศีรษะ ชันคอได้ในท่าคว่ำประมาณ 45 องศา
  • ยกศีรษะ ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
  • ยกศีรษะ และหน้าอกขึ้นในท่านอนคว่ำ โดยใช้มือดันกับพื้น
  • เริ่มไขว่คว้าสิ่งรอบตัว
  • ใช้ขาถีบพื้นเมื่อเท้าอยู่บนพื้นแข็ง
  • ใช้ศอกยันตัวขึ้นเวลานอนในท่านอนคว่ำ
  • เริ่มพลิกตัวนอนหงาย

 

อายุ 5-6 เดือน

  • สามารถใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างดันตัวขึ้น ท้องและหน้าอกยกขึ้นพ้นพื้น จนข้อศอกของทารกนั้นเหยียดตรง
  • หันหาเสียงเรียกชื่อจากพ่อแม่ และเสียงต่าง ๆ รอบตัว คว้าของมือเดียว
  • โยกตัวไปมา พลิกตัวได้ทั้งคว่ำ และพลิกหงาย
  • ใช้ขาถีบพื้นไปมาเมื่อเท้าอยู่บนพื้นแข็ง

 

อายุ 6 เดือนขึ้นไป

 

เด็กนอนคว่ำช้ากว่าปกติ จะเป็นอะไรไหม

ส่วนใหญ่แล้วทารกมักจะนอนคว่ำได้ประมาณ 4-6 เดือน ทารกบางคนจะมีพัฒนาการ พลิกคว่ำได้เร็วช้า ไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะพลิกคว่ำได้เร็วกว่า ในบางรายอาจพลิกคว่ำได้ตอน 6 เดือน หากทารกอายุ 6 เดือนแล้วไม่พลิกคว่ำ เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาพัฒนาการล่าช้าในทารก คุณแม่ควรพาทารกไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อรับการดูแล กระตุ้นพัฒนาการในแต่ละวัยอย่างถูกวิธี

 

เด็กคว่ำกี่เดือนถือว่าปกติ ถ้าช้าหรือไวกว่าต้องพบแพทย์ไหม

ตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า เด็กทารกจะนอนคว่ำได้ในช่วงวัย 4 เดือน ไปจนถึงวัย 6 เดือน หากทารกอายุ 6 เดือนแล้วไม่พลิกคว่ำ ไม่สามารถพลิกตัวได้ ไม่คว้าสิ่งของใด ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว และไม่ตอบสนองต่อเสียงที่อยู่ใกล้ ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าทารกมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย และรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

 

หากทารกพลิกคว่ำได้ไว หรือพลิกคว่ำในช่วงที่ศีรษะยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี เพื่อความปลอดภัยคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทารกอย่างใกล้ชิดเมื่อเขานอนพลิกคว่ำ เพื่อป้องกันโรค SIDS หรือ ภาวะไหลตายในทารก ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกช่วงขวบปีแรกเสียชีวิตขณะนอนหลับ พบได้บ่อยในทารก 2-4 เดือน เป็นช่วงที่ทารกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะได้ดี

 

ภาวะไหลตายในทารก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ภาวะไหลตายในทารก เกิดจากการจัดท่าให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง นอนในที่นอนนิ่ม ๆ มีผ้าห่ม หรือมีตุ๊กตาวางใกล้ตัว ปิดหน้าขณะนอนหลับ วิธีป้องกันคือ คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ชิดทารกเมื่อพลิกคว่ำ ควรจัดท่านอนหงายให้ลูกในเวลานอน ไม่นำของเล่น ตุ๊กตาของเล่น ไม่ควรนำมาไว้ใกล้ตัวลูกน้อยเวลานอน และควรแยกที่นอนทารกออกจากที่นอนของพ่อแม่ เพื่อป้องกันการนอนทับของผู้ใหญ่

 

ควรเริ่มฝึกให้เด็กนอนคว่ำตอนไหน

เพื่อความปลอดภัยในการฝึกให้ทารกนอนคว่ำนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่กับทารกอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ควรเริ่มฝึกให้ทารกนอนคว่ำได้ตั้งแต่แรกคลอด ช่วงอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกด้วยการให้ทารกน้อยนอนคว่ำบนหน้าอก หรือบนลำตัว 1-2 นาทีต่อวัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลา 2-3 นาทีต่อวัน หรือ 10-15 นาทีต่อครั้ง จับลูกนอนคว่ำบนหน้าอกแบบนี้ได้วันละหลาย ๆ ครั้ง การให้ทารกนอนคว่ำจะช่วยให้เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ แขน การนอนคว่ำยังช่วยฝึกพัฒนาการการมองเห็นเด็กทารกได้สังเกตมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

 

ควรเริ่มฝึกให้เด็กนอนคว่ำตอนไหนดี

 

เคล็ดลับฝึกเด็กนอนคว่ำที่คุณแม่ทำตามได้

  • ให้ทารกนอนเล่นบนเบาะในท่านอนคว่ำ โดยใช้ของเล่นที่มีสีสันห่างจากสายตาทารกประมาณ 1 ศอก เพื่อให้ทารกมองตาม
  • ควรฝึกให้ทารกนอนคว่ำบนพื้นที่แข็ง ไม่นิ่ม เป็นพื้นที่ราบเรียบเสมอกัน
  • เมื่อทารกนอนคว่ำบนพื้น คุณพ่อคุณแม่สามารถลงไปนอนอยู่ข้าง ๆ ชวนอ่านหนังสือ โดยใช้นิทานภาพมาเปิดชี้ชวนให้ลูกดูไปพร้อมกัน หรือเล่นร้องเพลงกับทารก
  • วางกระจกที่ทำจากพลาสติก ช่วยกระตุ้นให้ทารกตอบสนองต่อสิ่งที่เห็นและเรียนรู้ กระตุ้นให้ทารกได้มองเห็นภาพสะท้อนของตัวเอง เรื่องรูปทรงของใบหน้า ช่วยในการพัฒนาประสาทสัมผัส
  • ใช้ของเล่นที่มีเสียง หรือสีสัน ขยับไปมา เพื่อกระตุ้นให้ทารกชันคอ หันศีรษะมองตาม
  • ร้องเพลง หรือพูดคุยกับทารก เพื่อสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายและสบาย
  • ในทุกขั้นตอนของการฝึก คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดู ต้องดูแลทารกอย่างใกล้ชิดห้ามละสายตาโดยเด็ดขาด

 

ฝึกเด็กนอนคว่ำ แล้วลูกร้องไห้ ทำยังไงดี

ในทารกบางรายอาจไม่ชอบนอนคว่ำบนพื้น หากทารกร้องไห้เพราะความไม่คุ้นชิน คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นให้ทารกนอนคว่ำบนหน้าอก หรือบนตักแทนได้ โดยให้คุณพ่อคุณแม่นอนหงาย แล้วอุ้มลูกมาคว่ำนอนบนหน้าอก ชวนพูดคุย หรือร้องเพลงให้ทารกฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศสบาย ๆ ผ่อนคลาย พยายามเริ่มฝึกด้วยเวลาที่น้อย ๆ ไปก่อน เพียงครั้งละ 1-2 นาที อาจเปลี่ยนสถานที่จากในห้องนอน เป็นสถานที่อื่นในบ้านที่ปลอดภัย เพื่อสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้น

 

ฝึกเด็กนอนคว่ำ ช่วงไหนดีที่สุด

ควรฝึกให้ทารกนอนคว่ำ ในช่วงเช้าหลังตื่นนอนจะดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ทารกนอนเต็มอิ่ม และเป็นเวลาที่สบายตัว ไม่หงุดหงิด ไม่ควรฝึกตอนลูกง่วงนอน หรือไม่สบายตัว

 

การนอนคว่ำมีประโยชน์มากกับพัฒนาการของทารกแรกเกิดตามช่วงวัย การส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการ ฝึกให้ลูกนอนคว่ำนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยฝึกให้ทารกได้ แต่การฝึกนั้นต้องไม่ประมาท และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากทารกอายุ 6 เดือนแล้ว ไม่พลิกคว่ำ พลิกหงาย อาจเป็นการส่งสัญญาณได้ว่ามีปัญหาเรื่องพัฒนาการในด้านร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด จะได้ดูแลและกระตุ้นพัฒนาการทารกอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  2. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 4 เดือน, Unicef Thailand
  3. เด็กคว่ำกี่เดือน และการฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธี, HelloKhunmor
  4. ตารางพัฒนาการเด็กปฐมวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  5. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 6 เดือน, Unicef Thailand
  6. โรค SIDS หรือโรคไหลตายในทารก ภัยเงียบที่ควรรู้, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข
  7. วิธีเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1 ปี ที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  8. Tummy Time for Baby, What to expect
  9. Benefits of ‘Tummy Time’ and How To Do It Safely, Cleveland Clinic

อ้างอิง ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก