พ่อแม่เช็กด่วน อัปเดต ตารางวัคซีน 2563 วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน
คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายมาเช็กได้เลย ตารางวัคซีน 2563 กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2020 ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว มาอัปเดตกันได้ว่า วัคซีนพื้นฐานของเด็กแรกเกิด ไปจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอะไรบ้าง ตัวไหนต้องฉีดตอนอายุเท่าไหร่
พ่อแม่เช็กด่วน อัปเดต ตารางวัคซีน 2563
วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน
การพาลูกไปฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะสำหรับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุประมาณ 12 ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้
ตารางวัคซีนพื้นฐานของเด็ก
ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค หรือตารางการให้วัคซีน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กฉีดวัคซีนพื้นฐานฟรี โดยในปัจจุบันวัคซีนพื้นฐานของเด็ก สามารถควบคุมโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากกว่าสิบโรค ได้แก่
- วัคซีนวัณโรค หรือวัคซีนบีซีจี
- วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี
- วัคซีนโรคคอตีบ
- วัคซีนโรคไอกรน
- วัคซีนโรคบาดทะยัก
- วัคซีนโรคโปลิโอที่มีทั้งแบบชนิดรับประทานและชนิดฉีด
- วัคซีนโรคหัด
- วัคซีนโรคหัดเยอรมัน
- วัคซีนโรคคางทูม
- วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี
- วัคซีนโรคเอชพีวี
- วัคซีนโรคฮิบ
- วัคซีนโรต้า
กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี
ตารางวัคซีน 2563

วัคซีนที่ให้เด็กแรกเกิด
- HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด)
- BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล)
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 เดือน
- HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี)
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 เดือน
- DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
- OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์)
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน
- DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
- OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
- Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์)
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 6 เดือน
- DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
- OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- Rota3 วัคซีนโรต้า
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 9 เดือน
- MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี
- LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน
- DTP4 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน
- LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
- MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
- วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 ปี
- DTP5 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 (ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน)
- MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
- HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
- LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
- IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด
- dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด
- OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
- BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค
- วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 (เฉพาะผู้หญิง)
- HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี
- วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 6
- dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด
สำหรับเด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า
วัคซีนทุกชนิด ถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก
สำหรับวัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กมารับวัคซีนครั้งต่อไปล่าช้า สามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
กรณีให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนปกติ
สถานที่ขอรับวัคซีนพื้นฐาน
คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนได้ตามคลินิกทั่วไป เทศบาลท้องถิ่น รวมไปถึงโรงพยาบาล โดยควรนำสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของเด็กไปด้วยทุกครั้ง และไม่ควรรับวัคซีนถ้าหากเด็กมีไข้ขึ้นสูงค่ะ
- วัคซีนโรต้า (Rota) สิ่งที่คุณแม่จะต้องอัปเดตกันหน่อย ก็คือวัคซีนโรต้า (Rota) ที่ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้บรรจุไว้ในวัคซีนพื้นฐานของเด็กแล้ว คุณแม่สามารถขอรับวัคซีนหลักได้ฟรี โดยสำหรับวัคซีนโรต้านั้น ให้หยอดตามตารางวัคซีนเด็ก ที่ช่วงอายุ 2, 4 และ 6 เดือน หยอดครั้งแรกอายุ 6-15 สัปดาห์ ส่วนครั้งสุดท้าย ให้หยอดในช่วงที่ไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งต้องห่างกันมากกว่า 1 เดือน สำหรับการรับวัคซีนล่าช้า สามารถทำได้ แต่องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า อายุไม่ควรเกิน 2 ปีค่ะ
- วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella Vaccine / Chickenpox Vaccine) วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ถือเป็นวัคซีนเสริม สามารถให้ได้ที่อายุน้อยสุด 1 ปี แนะนำว่าควรได้รับวัคซีนเข็มแรกในช่วง 12-18 เดือน จะดีที่สุด ส่วนเข็มที่ 2 ควรให้เมื่ออายุ 2-4 ปี อาจจะฉีดก่อน 4 ปีได้ ถ้าหากช่วงนั้นโรคอีสุกอีใสกำลังระบาด
สำหรับเด็กอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป ไปจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ให้ฉีด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างกัน 1 เดือน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สุดยอดวิธีพัฒนาสมองลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน
อ้างอิง
บทความโดย
theAsianparent Thailand
https://th.theasianparent.com/vaccination-schedule-2020
อ้างอิง
https://www.honestdocs.co/vaccination-schedules-of-newly-born-and-child…
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1048320191202064105.pdf
อ้างอิงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
บทความแนะนำ

ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

เริ่มนมยูเอชทีกล่องแรก คุณแม่ต้องเลือกอย่างไร
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ จากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน นมกล่องสำหรับเด็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
นอกจากวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว “ให้ลูกกินอะไร ลูกถึงจะสมองดี?” ก็เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่คุณแม่หลายคนสงสัยกัน เพราะเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินของลูกนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำและให้ข้อมูลแก่คุณแม่ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการที่จะช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาให้กับสมองของลูกน้อย