พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

05.03.2024

พัฒนาการเด็ก 7 เดือนที่สำคัญ ในเดือนนี้ลูกน้อยจะเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัส เช่น การมอง การสัมผัส การได้ยิน และความสามารถด้านการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การเอื้อมหยิบของที่ต้องการ กลิ้งตัว ลุกขึ้นนั่งได้เอง และอาจรวมถึงการเคลื่อนไหวด้วยการคลาน บทความนี้รวบรวมสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้เกี่ยวกับลูกน้อยวัย 7 เดือน ตั้งแต่พัฒนาการ การเคลื่อนไหว การสื่อสาร การเรียนรู้ และอารมณ์ของลูกน้อย ไปจนถึงความปลอดภัย และการเสริมสร้างพัฒนาการทารก 7 เดือน

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • พัฒนาการทารก 7 เดือน เริ่มนั่งได้เอง เริ่มเคลื่อนที่ด้วยการกลิ้ง หรือคลาน คว้าจับสิ่งของได้เอง ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อตัวเอง สามารถพูดเป็นคำง่าย ๆ ได้
  • เด็กวัยนี้จะติดแม่ และกลัวคนแปลกหน้า ลูกจะร้องงอแง เมื่อไม่เห็นแม่อยู่ในสายตา
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย เนื่องจากลูกอาจเกิดอันตรายจากการเคลื่อนที่ รวมถึงระวังสิ่งแปลกปลอมติดคอลูก จากการคว้าของชิ้นเล็กเข้าปาก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่ออายุ 7 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งตัวตรงได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย และจะสามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้องได้ ไม่ว่าจะกลิ้งไปรอบ ๆ หรือแม้แต่คลานไปก็ตาม หากลูกน้อยยังไม่สามารถทำได้คุณแม่อย่าเพิ่งเป็นกังวล เด็กจะพัฒนาไปตามจังหวะที่เหมาะสม เมื่อเขาพร้อมเขาก็จะทำสิ่งเหล่านั้นได้ในไม่ช้า

 

เด็ก 7 เดือนจะมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้นกว่าหลายเดือนที่ผ่านมา และจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง เนื่องจากลูกน้อยมีความคล่องตัวมากขึ้น และต้องการสำรวจโลกรอบตัวด้วยทักษะที่ค้นพบใหม่ ทักษะอย่างหนึ่งที่เริ่มปรากฏให้เห็นในวัยนี้คือการคลาน แต่ทารกบางคนจะคลานเร็วกว่านี้ บางคนจะคลานทีหลัง และบางคนจะไม่คลานเลยก็ได้

 

คุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการทารกด้านการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้โดย ให้โอกาสลูกน้อยได้สำรวจโลกรอบตัวพวกเขา แต่ยังคงต้องยึดตารางการนอนกลางวันและการเข้านอนของลูกน้อยให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เนื่องจากการเจริญเติบโตของทารกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับนั่นเอง

 

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ด้านการสื่อสาร

 

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ด้านการสื่อสาร

จุดเด่นอย่างหนึ่งของพัฒนาการของลูกน้อยในวัยนี้ คือ การเข้าสังคม ลูกน้อยสนุกกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว และมักจะหัวเราะและส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความสุขและหัวเราะตามไปด้วย

 

พัฒนาการสำคัญของเด็ก 7 เดือนเห็นได้ชัดในเรื่องของภาษาและการสื่อสาร ลูกน้อยจะยังคงอ้อแอ้เหมือนตอนอายุ 6 เดือน แต่อาจส่งเสียงเฉพาะเจาะจงที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ เช่น มีความสุข หรือกำลังหงุดหงิด ลูกน้อยจะ "พูด" กับคุณแม่ด้วยการทำเสียง "โอ้" และ "อา" และ "อืม" รวมถึงมีการตอบสนองที่ชัดเจนต่อเสียง เสียงรบกวน และสิ่งกระตุ้นการมองเห็นของทารก

 

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ด้านการเรียนรู้

เมื่ออายุ 7 เดือน ทารกบางคนเริ่มตอบสนองต่อชื่อของตัวเอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเรียกชื่อลูกน้อยบ่อย ๆ และอาจใช้ชื่อของลูกน้อยในเกมหรือในขณะอ่านหนังสือได้เช่นกัน เด็กทารกส่วนใหญ่จะพอใจกับเสียงชื่อของตัวเอง และจะตอบแทนคุณแม่ด้วยรอยยิ้มกว้าง ๆ

 

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ด้านอารมณ์

ลูกน้อยช่วงวัย 7 เดือนอาจมีอาการติดแม่ กลัวคนแปลกหน้า ลูกอาจร้องไห้งอแงเมื่อต้องแยกจากคุณแม่ หรือแม่หายไปจากสายตา ดังนั้น หากคุณแม่ต้องทิ้งลูกน้อยไว้กับพี่เลี้ยงควรออกจากบ้านตอนที่ลูกนอนหลับ หรือให้พี่เลี้ยงช่วยดึงดูดความสนใจของลูกน้อยไว้ก่อน หากลูกน้อยร้องไห้ คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกผิด ไม่นานลูกจะหยุดร้องเอง

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงเด็ก 7 เดือน

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงเด็ก 7 เดือน

เด็ก 7 เดือน กำลังพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย การรับประทานอาหารตามวัย อาหารบำรุงสมอง  ดูแลด้านอารมณ์และสังคม คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการเลี้ยงลูกน้อยวัยนี้ ดังนี้

1. ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง เพราะเป็นช่วงที่กำลังติดแม่

เนื่องจากเป็นวัยที่กลัวการพรากจาก หากคุณแม่มีธุระ ควรหาจังหวะรีบออกไปทำในช่วงที่ลูกนอนหลับ

 

2. จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยต่อการเล่นของลูก

ทารกในวัยนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะล้ม ตกเตียง ตกบันได ถูกน้ำร้อนลวก หรือถูกไฟดูด เนื่องจากลูกน้อยเริ่มเคลื่อนที่ไปทั่วห้อง จึงไม่ควรวางสิ่งของที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม สายไฟฟ้า หรือสารเคมีไว้บนพื้น และควรกั้นประตูที่บันได รวมทั้งควรระวังสิ่งที่ลูกน้อยสามารถคว้าดึงได้ เช่น ผ้าปูโต๊ะ ถ้วยกาแฟร้อน ๆ สายไฟ สายมู่ลี่ เป็นต้น

 

3. ระวังผลไม้ที่มีเมล็ดติดคอ

เนื่องจากลูกน้อยเริ่มหยิบจับอาหารเข้าปาก คว้าสิ่งต่าง ๆ เข้าปากได้ จึงควรระวังลูกหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก เช่น เหรียญ หรือผลไม้ที่มีเมล็ด ควรแยกให้ดี เพื่อป้องกันการสำลักอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมติดคอ

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 7 เดือน

1. สอนให้รู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตัวเอง

การที่ลูกเริ่มรู้จักตอบสนองต่อชื่อตัวเอง แสดงว่าเริ่มเรียนรู้คำได้บ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรเล่นกับลูกบ่อย ๆ ด้วยการชี้และเรียกชื่ออวัยวะบนร่างกาย เพื่อให้ลูกน้อยได้รู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตัวเอง

 

2. ให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ

เด็กวัยนี้จะติดเล่น อยากเรียนรู้อยากสำรวจสิ่งใหม่ ๆ อาจไม่ยอมนอนกลางวัน คุณแม่ควรฝึกกิจวัตรการนอนให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับ ร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมนขึ้นมาทำหน้าที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับลูกน้อย

 

3. ฝึกให้ออกเสียงตามสระ

พยัญชนะเป็นคำง่าย ๆ ในวัยนี้ ลูกน้อยสามารถออกเสียงเป็นคำ ๆ ได้บ้างแล้ว เและพยายามเลียนเสียงคนรอบข้าง จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการฝึกลูกออกเสียง

 

4. ปล่อยให้ลูกคลาน และเล่นอย่างเต็มที่

จัดพื้นที่ปลอดภัยเพื่อให้ลูกสามารถเคลื่อนที่ และเล่นได้อย่างอิสระ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่เข้ามาเล่นด้วย สังเกตว่าเล่นอะไรกับลูกแล้วลูกอารมณ์ดี ควรเล่นบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี

 

เมื่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการเด็ก 7 เดือนในด้านต่าง ๆ ก็จะสามารถดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย รวมถึงสามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้เติบโตได้อย่างสมวัย และแม้ว่าลูกน้อยอาจมีพัฒนาการสำคัญบางเรื่องที่เร็วหรือช้ากว่าเรื่องอื่น ๆ เล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ยังไม่ต้องเป็นกังวลนะคะ แต่หากลูกน้อยไม่เรียนรู้ หรือพยายามทำเสียง ไม่ตอบสนองต่อเสียงหรือใบหน้าที่คุ้นเคย ไม่เกลือกกลิ้งเมื่อเล่นบนพื้น ไม่ส่งเสียงหรือพยายามจะพูด ไม่พยายามคว้าจับสิ่งต่าง ๆ หรือแม้แต่เล่นนิ้วเท้าตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. Your 7-Month-Old Baby's Milestones and Development, Verywell Family
  2. เด็กทารกอายุ 7 เดือน กับการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้น, POBPAD
  3. อุบัติในเหตุในเด็กและการป้องกัน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  4. พัฒนาการเด็กทารก 7 เดือน กับกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการในแต่ละด้านที่สำคัญ, Nestlemomandme

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก