ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกี่วันหาย อาการแบบไหนเรียกรุนแรง

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง แบบไหนเรียกรุนแรง

02.02.2024

อาการท้องเสีย เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก คุณแม่จึงต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเด็กที่กินนมแม่ เพราะลูกน้อยมักถ่ายเหลวเป็นประจำทำให้คุณแม่ไม่แน่ใจว่าทารกมีอาการท้องเสีย หรือว่าแค่อาการถ่ายอุจจาระเป็นปกติ สำหรับวิธีที่คุณแม่จะทราบได้ว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียหรือไม่คุณแม่ต้องอาศัยการสังเกตการขับถ่ายและลักษณะอุจจาระของลูกน้อย หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียควรปฏิบัติอย่างไร ลูกท้องเสียให้กินอะไรได้บ้าง มาดูเคล็ดลับดี ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

headphones

PLAYING: ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง แบบไหนเรียกรุนแรง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการท้องเสีย เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย การแพ้อาหาร และภาวะแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งอาการท้องเสียจะทำให้เด็กถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือเกิดการถ่ายแล้วมีมูกเลือดปน
  • เมื่อลูกน้อยท้องเสียคุณแม่สามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับนมสูตรปราศจากแลตโตส (lactose free) ได้ โดยคุณหมออาจพิจารณาให้การดูแลตามความเหมาะสมหากมีความจำเป็น
  • หากลูกน้อยมีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 10 ครั้ง มีไข้ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระเป็นมูกเลือด ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร หอบลึก ปากแห้ง ร้องไห้งอแง แนะนำให้คุณแม่พาลูกน้อยไปพบหมอทันที เพราะอาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดน้ำ หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคติดเชื้อที่รุนแรงได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการท้องเสียในเด็กส่วนใหญ่เป็นการท้องเสียแบบเฉียบพลัน อาการท้องเสียเกิดจากหลายสาเหตุ คือ การติดเชื้อทางเดินอาหารจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรต้า ไวรัสโนโร ลำไส้อักเสบติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น อีคีไล, ชิเกลลา ซึ่งพบได้น้อยกว่า รวมถึงการแพ้อาหารบางชนิด หรือภาวะแพ้โปรตีนนมวัว

 

อาการแบบไหน ที่บ่งบอกว่าลูกท้องเสีย

อาการท้องเสีย คือ อาการทารกถ่ายเหลว โดยปกติทารกที่กินนมแม่จะถ่ายอุจจาระเหลวและบ่อยอยู่แล้วทำให้คุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกถ่ายปกติหรือท้องเสีย วิธีสังเกตว่าลูกน้อยท้องเสียหรือไม่ให้ใช้การเปรียบเทียบลักษณะของการถ่ายอุจจาระในครั้งก่อน ๆ หากทารกมีการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่าทุกครั้งที่เคยถ่าย หรือมีมูกเลือดปน แสดงว่า “ลูกท้องเสีย” และให้รีบไปหาหมอ แต่ถ้าทารกถ่ายบ่อย ถ่ายเป็นเนื้อดี และน้ำหนักตัวขึ้นดี แสดงว่าลูกน้อยถ่ายปกติคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบพาลูกไปพบคุณหมอ

  1. ถ่ายเหลว พร้อมมีไข้
  2. ถ่ายเหลวเกิน 3 ครั้งต่อวัน
  3. ถ่ายเหลวมีมูกเลือดปน

 

ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง ที่ไม่อันตราย

  • เด็กวัยทารก: หนูน้อยวัยนี้สามารถกินนมได้ตามปกติ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องงดนมสำหรับทารกแต่อย่างใด
  • ในเด็กเล็กที่เริ่มเพิ่มอาหารเสริม: คุณแม่สามารถให้ลูกทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น น้ำแกงจืด น้ำซุป โจ๊กในปริมาณที่น้อยไปก่อน เพื่อให้ลำไส้ของลูกน้อยค่อย ๆ ได้ดูดซึมสารอาหารเข้าไป ในช่วงที่เด็กมีอาการท้องเสียคุณแม่ควรงดให้ลูกดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลไปก่อน เพื่อรอให้ลำไส้ค่อย ๆ ปรับตัว
  • สำหรับเด็กโต: เด็กวัยนี้จำเป็นต้องได้รับอาหารเพิ่มโดยคุณแม่ควรเริ่มให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายแก่ลูกน้อย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำเต้าหู้ น้ำชา น้ำแกงจืด เป็นต้น และควรให้ลูกทานบ่อยกว่าปกติเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการท้องเสียได้อย่างรวดเร็ว

 

ลูกท้องเสีย ยังดื่มนมได้เหมือนเดิมหรือไม่

เมื่อลูกน้อยท้องเสียคุณแม่สามารถให้ลูกกินนมได้ตามปกติ คือ

  • ทารกที่กินนมแม่: คุณแม่สามารถให้นมลูกและให้ลูกกินนมแม่ได้ตามปกติ แต่อาจต้องเพิ่มความถี่โดยการให้บ่อยขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
  • เด็กที่กินนมผสม: คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยกินนมผงเด็กได้ตามสัดส่วนเดิม แต่อาจให้ในปริมาณต่อมื้อลดลงแล้วเพิ่มความถี่ต่อมื้อมากขึ้น เพื่อให้ลำไส้ของลูกน้อยค่อย ๆ ดูดซึมสารอาหารอย่างเพียงพอ
  • ลูกท้องเสียเกิน 3 วัน: ในกรณีนี้คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเกี่ยวกับนมสูตรปราศจากแลคโตส (lactose free) นอกจากนี้คุณหมออาจพิจารณาให้การดูแลลูกน้อยที่เหมาะสมตามความจำเป็น

 

วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการท้องเสีย

เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องเสีย คุณแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยทานเอง แต่ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอหรือเภสัชกรเกี่ยวกับสารละละลายเกลือแร่ หรือผงเกลือแร่โออาร์เอสก่อนซื้อยาทุกครั้ง

 

อาการท้องร่วง ต่างกับท้องเสียอย่างไร

อาการท้องเสีย และอาการท้องร่วงเป็นอาการที่เหมือนกันแต่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ คำว่า “ท้องเสีย” คือ อาการถ่ายอุจจาระเหลวมักใช้เป็นภาษาพูดมากกว่า ส่วนทางการแพทย์จะใช้คำว่า “อุจจาระร่วง” หรือท้องร่วง คือ อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากเกิน 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหรือลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือดเพียงครั้งเดียวใน 1 วัน โดยโรคอุจจาระร่วงหรือท้องร่วง จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  • อาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน เป็นอาการท้องร่วงที่มีระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน
  • อาการท้องร่วงแบบยืดเยื้อหรือเรื้อรัง เป็นอาการท้องร่วงที่มีระยะเวลามากกว่า 7 วันขึ้นไป

 

หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ให้รีบพาไปพบแพทย์

  • ปัสสาวะน้อย มีสีเหลืองเข้ม หรือไม่ปัสสาวะ
  • มีภาวะขาดน้ำ คือ ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ผิวแห้ง
  • ร้องไห้งอแง กระสับกระส่าย
  • อ่อนเพลีย และเซื่องซึม
  • กระหม่อมบุ๋มลึกในเด็กเล็ก
  • อาเจียนบ่อย
  • ปวดท้องมาก ท้องอืด
  • มีไข้สูง มีอาการชัก
  • ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือถ่ายเป็นสีดำเหนียว
  • หอบลึก
  • ถ่ายอุจจาระบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
  • ไม่ยอมกินข้าวหรือนม

 

เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกได้รับสารน้ำทดแทนของเหลวที่เสียไปให้เพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายของเด็กเกิดภาวะขาดน้ำ และก่อนจะให้นมลูก ป้อนอาหาร หรือหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม พ่อแม่ควรล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรคให้มากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยมีอาการปวดท้องที่รุนแรงขึ้น เช่น ถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 10 ครั้ง ปากแห้ง มีไข้สูง หอบ ถ่ายเป็นมูกเลือด ลูกไม่ยอมกินนมหรือกินข้าว อาเจียน หรืออ่อนเพลีย ให้คุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เสี่ยงระบบย่อยอาหารพัง !, โรงพยาบาลนครธน
  2. ปัญหาทางเดินอาหารที่พบบ่อยในทารก, สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย
  3. ท้องเสีย ดูแลอย่างไร, โรงพยาบาลสินแพทย์
  4. โรงท้องเสียในเด็ก, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  5. ลูกน้อยท้องเสียบ่อย ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
  6. ท้องเสีย..ซ่อมได้รึเปล่า, โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

อ้างอิง ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก