Colostrum คืออะไร น้ำนมเหลืองที่มีสฟิงโกไมอีลิน เสริมภูมิคุ้มกันลูก

Colostrum คือ น้ำนมสีเหลืองที่มีสฟิงโกไมอีลิน เสริมภูมิคุ้มกันลูก

13.09.2023

น้ำนมแม่ไม่ได้มีแค่น้ำนมสีขาวแต่ยังมีน้ำนมสีอื่นด้วยนะ คุณแม่มือใหม่รู้หรือไม่ว่า “น้ำนมสีเหลือง (Colostrum)” ที่ไหลออกมาหลังคลอด อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีโภชนาการสูงที่สุด มีแอนติบอดีสำหรับสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย และมี สฟิงโกไมอีลิน ช่วยสร้างไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญสำหรับของสมองของทารก น้ำนมส่วนนี้จึงเป็นน้ำนมที่ล้ำค่ามากที่สุด 1

headphones

PLAYING: Colostrum คือ น้ำนมสีเหลืองที่มีสฟิงโกไมอีลิน เสริมภูมิคุ้มกันลูก

อ่าน 5 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

น้ำนมเหลือง (Colostrum) คืออะไร?

น้ำนมเหลือง (Colostrum) คือ น้ำนมส่วนแรก หรือที่เรียกว่า “หัวน้ำนม” เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าน้ำนมชนิดนี้จะมีปริมาณน้อยแต่อุดมไปด้วยสารอาหารทั้งโปรตีน มีแอนติบอดีที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นการเติบโตของทารก น้ำนมเหลืองจากอกแม่จึงเป็นทั้ง “อาหารมื้อแรก” ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด และยังเป็น “วัคซีนหยดแรก” ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้ดีที่สุด

 

ทำความรู้จักนมแม่ทั้ง 3 ระยะ 

เพราะนมแม่ คือ โภชนาการที่ดีที่สุดของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด และยังเป็นวัคซีนธรรมชาติหยดแรกที่ทารกได้รับ ทำให้ภายในน้ำนมแม่จึงมีการปรับเปลี่ยนสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกในแต่ละช่วงเวลาอยู่เสมอ สีของน้ำนมแม่ในแต่ระยะจึงมีสีและสารอาหารที่แตกต่างกัน โดยนมแม่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1:  น้ำนมเหลือง (Colostrum) 

    เป็นหัวน้ำนมที่ไหลออกมาภายใน 2-3 วันแรกหลังคลอดลูก ช่วงแรกอาจจะมีสีใสก่อนจะเป็นสีเหลือง น้ำนมช่วงนี้ถือได้ว่าอุดมไปด้วยประโยชน์ของนมแม่และเป็นแหล่งอาหารสำคัญมากกว่าน้ำนมระยะอื่น ทั้งโปรตีนที่มีมากกว่า แร่ธาตุมากกว่า และมีไขมันต่ำทำให้ย่อยได้ง่าย รวมถึง “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารที่สำคัญของน้ำนมเหลืองที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง

 

  • ระยะที่ 2: น้ำนมช่วงปรับเปลี่ยน (Transitional Milk) 

    เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 4 หลังคลอดและกินระยะเวลาไปประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงนี้สีของน้ำนมคุณแม่จะไม่มีสีเหลืองเข้มแล้วแต่จะค่อย ๆ จางลงไปจนกลายเป็นสีขาวขุ่น อุดมไปด้วยสารอาหารหลักจำพวกไขมัน วิตามินและพลังงานมากกว่าในระยะน้ำนมเหลือง 

     

  • ระยะที่ 3: น้ำนมสีขาวปกติ (Mature Milk) 

    สีของน้ำนมแม่ จะเป็นน้ำนมสีขาวขุ่นปกติที่เกิดขึ้นหลังจากคลอดลูกได้ 2 สัปดาห์แล้ว น้ำนมในส่วนนี้ยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกันทั้งไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ  คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน แต่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 87% เลยทีเดียว

 

น้ำนมเหลือง ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย

 

ประโยชน์และสารอาหารในน้ำนมเหลืองที่ดีต่อลูกน้อย

1. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน 

ในน้ำนมเหลืองมีเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมากที่ช่วยผลิตแอนติบอดีที่สำคัญในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส จึงเกิดการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก ทั้งยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้และระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย และยังลดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงลงได้ดี โดยภูมิคุ้มกันเหล่านีจากแม่ได้ส่งผ่านโดยตรงไปยังลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่

 

2. ช่วยระบบย่อยอาหาร 

น้ำนมเหลืองมีทั้งเวย์โปรตีน และไขมันที่ต่ำที่ช่วยให้ลูกน้อยย่อยได้ง่ายขึ้น และมีระดับแร่ธาตุที่น้อย ทำให้ไม่ต้องขับถ่ายของเสียมากนัก และมักจะมีกลิ่นที่ไม่เหม็นมาก

 

3. ช่วยเรื่องการขับถ่าย 

น้ำนมเหลือง อุดมไปด้วยสารที่ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง เมื่อลูกน้อยกินนมแม่ที่เป็นน้ำนมเหลืองเข้าไปจะช่วยให้ภายในลำไส้เกิดการกระตุ้นการเพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ลูกน้อยจึงถ่ายง่าย แถมยังช่วยป้องกันอาการไม่สบายท้อง และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ที่ช่วยขับขี้เทา (อุจจาระครั้งแรกของทารก) ของลูกน้อย

 

4. มีแร่ธาตุที่สำคัญ

น้ำนมเหลืองเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการแรกเริ่มของทารกที่สุด และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันธรรมชาติที่ดีที่สุด นอกจากโปรตีน ไขมันแล้ว ยังมีวิตามินเอที่มีส่วนสำคัญต่อการมองเห็นของทารกและผิวหนัง รวมทั้งยังมีแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมที่ช่วยบำรุงหัวใจและกระดูก มีทองแดงกับสังกะสีที่ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน มีสารอาหารที่ช่วยเรื่องการเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้ออีกด้วย

 

5. มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง

ภายในสมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ ในนมแม่ มีทอรีนและสังกะสีที่มีส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง รวมถึงสฟิงโกไมอีลิน ไขมันที่พบมากในน้ำนมเหลืองที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจของทารก

 

น้ำนมเหลือง สารอาหารสำคัญจากแม่สู่ลูก

 

คุณแม่ควรให้น้ำนมกับลูกรักนานเท่าไหร่

คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และสามารถให้ต่อเนื่องได้นานถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด อุดมไปด้วยแหล่งอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการของระบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการทางสมอง 

 

ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอดลูก เป็นช่วงเวลาทองของน้ำนมแม่ คุณแม่ต้องไม่พลาดให้ลูกน้อยได้ทาน “น้ำนมเหลือง (Colostrum)” เพราะเป็นโอกาสเดียวที่คุณแม่ได้มอบคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดให้ลูกแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาเดียวที่ได้ส่งมอบวัคซีนธรรมชาติหยดแรกจากอกแม่สู่ลูกน้อย ทำให้หนูน้อยได้รับสารอาหารและวิตามินเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ควบคุมการเจริญเติบโต และยังมีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลืองที่ช่วยในการทำงานของสมองอีกด้วย เพื่อที่ลูกจะได้มีพัฒนาการอย่างสมวัย และมีภูมิคุ้มกันที่ดี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. น้ำนมแม่ ‘โคลอสตรัม’ ดีที่สุด, โรงพยาบาลราชวิถี
  2. Breastfeeding Makes a Difference, Department of Health, State of New Jersey
  3. Colostrum (Liquid Gold), El paso Children’s Hospital
  4. สารอาหารในน้ำนมแม่, กรมอนามัย
  5. คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก, กรมอนามัย
  6. Lindahl IEI, et al. Nutrients. 2019 Feb; 11(2): 222.

อ้างอิง ณ วันที่ 12 ส.ค. 2566

 

บทความแนะนำ

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก กับ 3 ข้อเท็จจริงของอาการภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ ป้องกัน ด้วย 2’FL ที่พบในนมแม่ วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย