สังเกตอาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีป้องกันและวิธีแก้ทารกท้องอืดในทารก

ทารกท้องอืด ไม่สบายท้องพร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกท้องอืด

02.02.2024

ทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้ อีกทั้งร่างกายยังเติบโตไม่เต็มที่อวัยวะยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องอืด มีลมในท้อง ไม่สบายท้องอยู่บ่อย ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร ลูกจะหายเมื่อไหร่ คุณแม่ควรทำอย่างไรดี คำถามทั้งหมดนี้ เราได้หาคำตอบมาให้คุณแม่แล้วค่ะ มาติดตามกันเลย

headphones

PLAYING: ทารกท้องอืด ไม่สบายท้องพร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกท้องอืด

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ทารกท้องอืดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ลูกเกิดอาการท้องอืด หรือแก๊สในท้องอยู่บ่อย แต่อาการนี้จะหายไปเมื่อลูกน้อยโตขึ้น รวมถึงการดื่มนม และท่าให้นมของคุณแม่ด้วย
  • อาการท้องอืดในเด็กคุณแม่สังเกตง่าย ๆ คือ ลูกน้อยมีอาการท้องป่อง ลูกร้องไห้งอแง และมีการบิดตัวไปมา เพราะลูกน้อยรู้สึกไม่สบายท้อง หากเด็กมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และร้องไห้งอแงนานกว่า 2 ชั่วโมง ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • หลังจากที่คุณแม่ให้นมลูกเรียบร้อยแล้วควรจับลูกเรอ เพื่อไล่ลมออกจากกระเพาะอาหารของลูกรัก ลดอาการแน่นท้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของท้องอืด และอาการแหวะนมในทารก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุการเกิดอาการท้องอืดในทารก

อาการทารกท้องอืด เกิดจากการที่ลูกน้อยมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่มากเกินไป ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดอาการท้องอืดในทารก มีดังนี้

  • ระบบย่อยอาหารไม่สมบูรณ์: เนื่องจากระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะทารกในช่วง 3 เดือนแรก ทำให้เกิดแก๊สขึ้นหลังทานนมได้ง่ายลูกน้อยจึงเกิดอาการท้องอืดอยู่บ่อย ๆ ซึ่งอาการท้องอืดนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อลูกน้อยโตขึ้น
  • ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างดื่มนม: ปัญหานี้พบได้ทั้งในเด็กที่กินนมแม่และนมขวด ในกรณีลูกที่กินนมแม่มักเกิดขึ้นขณะที่ลูกเข้าเต้าแล้วดูดนมช้าหรือเร็วเกินไป ทำให้ดูดอากาศเข้าไปแทน ส่วนหนูน้อยนมขวดจะเกิดจากท่าให้นมของคุณแม่ทำให้ลูกกินอากาศเข้าไปแทนนม
  • ไม่ได้จับลูกเรอ: หลังจากคุณแม่ให้นมลูกน้อยแล้วต้องจับลูกเรอทุกครั้ง เพราะในกระเพาะอาหารของลูกน้อยอาจเกิดการสะสมของแก๊สหลังทานนมได้
  • ลูกน้อยร้องไห้เป็นเวลานาน: ทุกครั้งที่ทารกร้องไห้มักจะกลืนอากาศเข้าไปในท้องด้วย ยิ่งลูกน้อยร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดลมในท้องมากขึ้น
  • แม่ให้นมทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก: เพราะลูกน้อยจะได้รับสารอาหารผ่านทางนมแม่ เมื่อแม่ทานอะไรไปลูกน้อยจึงได้ด้วย สำหรับอาหารที่ทำให้เกิดลมในท้อง เช่น หัวหอม กระหล่ำปลี ถั่ว และช็อกโกแลต เป็นต้น

 

ลูกท้องอืด จะมีอาการอย่างไร

อาการทารกท้องอืด เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อยแต่การมีลมเยอะ ๆ อาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้องได้ โดยอาการที่บอกว่าลูกน้อยท้องอืด มีลมในท้องเยอะ คือ เด็กร้องไห้งอแง บิดตัวไปมา ท้องแน่น และผายลมมาก เป็นต้น

 

ท้องอืดแบบไหน ถือว่าอันตราย

แม้ว่าอาการท้องอืดในเด็กและทารกจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที คือ

  • อาเจียน
  • ลูกท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่ออก
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • มีไข้
  • ร้องไห้งอแงนานกว่า 2 ชั่วโมง

 

วิธีดูแลทารกท้องอืด

เมื่อลูกเกิดอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการท้องอืดของลูกน้อยด้วยวิธีดูแลอาการท้องอืด ดังนี้

  • นวดท้องเมื่อทารกมีอาการท้องอืด : การนวดบริเวณท้อง หรือวิธีแก้ทารกปวดท้อง ให้ใช้มือถูหลังเบา ๆ จะช่วยไล่ลมในท้องให้ลูกน้อยได้ แถมยังทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย
  • พาลูกปั่นจักรยานไล่ลม: เริ่มจากคุณแม่ให้ลูกน้อยนอนหงาย จากนั้นยกขาเด็กนั้นทำท่าปั่นจักรยานแล้วดันเข่าลูกให้เข้าใกล้ที่หน้าท้อง ค้างไว้ประมาณ 10 นาที แล้วจับขาทารกเหยียดออก
  • พาลูกนอนคว่ำ: การให้ลูกนอนคว่ำหรือที่เรียกว่า Tummy Time อาจช่วยบรรเทาแก๊สในบริเวณช่องท้องของทารกน้อยได้
  • จับลูกน้อยเรอ: คุณแม่สามารถใช้วิธีจับลูกเรอ โดยการอุ้มทารกน้อยพาดบ่าแล้วลูบหลังเพื่อไล่นมในท้อง

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อยท้องอืด

เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกท้องอืด มีลมในท้อง ท้องแน่น หรือรู้สึกไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรทำดังต่อไปนี้

  • เมื่อพาลูกเข้าเต้า คุณแม่ต้องพยายามไม่ให้ลูกน้อยดูดนมช้าหรือเร็วจนเกินไปเพื่อลดโอกาสในการกลืนอากาศเข้าท้องที่มากเกินไปของลูกน้อย
  • หากจำเป็นต้องให้ลูกน้อยกินนมจากขวด คุณแม่ควรจัดท่าให้นมลูกให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกดูดอากาศในขวดเข้าไปแทนนม
  • จับลูกอุ้มเรอทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกมีลมให้ท้องเยอะ ท้องอืด และอาการแหวะนมในทารก
  • พยายามให้นมลูกในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรให้ลูกกินนมมากเกินไปเพราะนอกจากจะทำให้ลูกท้องอืดแล้วยังอาจทำให้ลูกมีภาวะ over breastfeeding คือ แน่นท้อง ลูกร้องไห้งอแง ดูดนมไม่ได้ และแหวะนมได้

 

ท่าจับลูกเรอง่าย ๆ บรรเทาอาการท้องอืด

หลังจากที่ลูกน้อยกินนมคุณแม่ควรจับลูกเรอ เพื่อป้องกันทารกท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายตัว และการแหวะนม

  • ท่าที่ 1: อุ้มลูกน้อยพาดบ่า โดยพยายามให้หน้าท้องของลูกน้อยอยู่บริเวณหัวไหล่ของคุณแม่ จากนั้นใช้มือข้างหนึ่งลูบที่หลังลง ทำอย่างนี้ประมาณ 5-10 นาที เพื่อขับลมออกจากท้องของทารก
  • ท่าที่ 2: ให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยมาวางไว้บนตัก โดยหันหน้าออกแล้วใช้มือข้างหนึ่งประคองบริเวณหน้าอกหรือคางของลูกน้อยไว้ โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มืออีกข้างลูบหลังลงหรือเคาะที่หลังเบา ๆ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อไล่ลมออก

 

ทารกท้องอืด เป็นอาการปกติที่พบได้บ่อย ๆ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายท้อง สำหรับวิธีแก้อาการท้องอืดของทารกคุณแม่สามารถช่วยได้ โดยเริ่มจากปรับพฤติกรรมการกินนมให้ลูกน้อย ปรับท่าให้นมและการให้นมของคุณแม่ และที่สำคัญหลังจากให้นมทารกแล้วต้องจับลูกเรอทุกครั้งเพื่อขับลมในท้องออก แต่บางครั้งอาการปวดท้องของลูกน้อยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย คุณแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอ หากเด็กมีไข้ ทารกถ่ายเหลว ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และร้องไห้งอแงติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 2 ชั่วโมง พ่อแม่อย่านิ่งนอนใจให้พาไปพบแพทย์ทันทีเพราะนี่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกน้อยท้องอืดแก้ไขอย่างไร ใช้ยาตัวไหนดี?, สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย
  2. ทารกกินนมแม่แล้วมีลมในท้องมากเกิดจากอะไร, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. What to do about a baby’s distended abdomen, Norton Children's Hospital Foundation
  4. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก สำหรับคุณแม่, UNFPA และกรมอนามัย
  6. แผ่นพับคลินิกนมแม่, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

อ้างอิง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

รวมของเล่นฝึกสมาธิเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก ให้ลูกมีพัฒนาการทางที่ดี ของเล่นฝึกสมาธิเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกพูดไม่ชัดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดไม่ชัด พร้อมวิธีรับมือปัญหา อาการลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก