อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันแม่จ๋ารีบหาให้ลูกทาน สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกกันเถอะ
เด็กๆ ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับพลังงาน เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อให้เจริญเติบโตสมวัยเพื่อการพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีนั่นเองค่ะ นอกจากจะมีประโชน์กับเด็กๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คุณแม่รู้ไหมคะว่าสารอาหารบางชนิดยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บให้กับเด็กๆ ได้ด้วยนะ ส่วนจะเป็นสารอาหารตัวไหนและพบในอาหารชนิดใดไปดูกันเลยค่ะ
อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันแม่จ๋ารีบหาให้ลูกทาน
สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกกันเถอะ
เด็กๆ ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับพลังงาน เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อให้เจริญเติบโตสมวัยนั่นเองค่ะ นอกจากจะมีประโชน์กับเด็กๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คุณแม่รู้ไหมคะว่าสารอาหารบางชนิดยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บให้กับเด็กๆ ได้ด้วยนะ ส่วนจะเป็นสารอาหารตัวไหนและพบในอาหารชนิดใดไปดูกันเลยค่ะ
• เบต้าแคโรทีน มีมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้มจัด ผักใบเขียวจัด เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอ มะม่วงสุก มะเขือเทศ
• วิตามินซี พบในผักใบสีเขียวต่างๆ และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง
• วิตามินอี พบในน้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว
• วิตามินบี พบในผักใบเขียว นม เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ ตับ ไข่ และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ
• ซีลีเนียม พบในอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม ไข่ และธัญพืช
• สังกะสี พบในเนื้อวัว นม และถั่วต่าง ๆ
• กรดโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี พบมากในปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ซาร์ดีน และธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่ววอลนัท เมล็ดปอ รวมทั้งพืชผักใบเขียว

5 อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน รีบหาให้ลูกทานเลยแม่จ๋า
• เนื้อปลา
คุณแม่รู้ไหมเอ่ยว่าในเนื้อปลานั้น เต็มไปด้วยสารอาหารที่เรียกว่าโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องและซ่อมแซมร่างกายจากความเสียหาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ก็มีด้วยกันหลายชนิดค่ะ เช่น แซลมอน ทูน่า รวมไปถึงเนื้อปลาชนิดอื่น ๆ
• ไข่
ไข่เป็นแหล่งอาหาร ที่อุดมไปด้วยสังกะสีและซีลีเนียม ซึ่งช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ไข่ยังอุดมไปด้วยโปรตีน รวมไปถึงคอเลสเตอรอลด้วย หากคุณแม่บ้านไหน กังวลในเรื่องปริมาณของคอเลสเตอรอล ให้จำกัดปริมาณไข่แดง ไว้ที่ 4 ฟองต่อสัปดาห์ค่ะ
• ถั่วหลากชนิด
ถั่ว ถือเป็นแหล่งอาหารชั้นยอด เต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมายเลยล่ะค่ะ นอกจากโปรตีนแล้ว ถั่วเป็นแหล่งอาหาร ที่อุดมไปด้วยวิตามินอี อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งวิตามินนี้ จะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ทำลายเชื้อโรค สำหรับเด็กเล็ก คุณแม่สามารถลองบดถั่วให้เป็นผง แล้วใส่ลงในพวกอาหารเหลว ๆ เช่น ซุป มันฝรั่งบด เพื่อให้เด็กทานได้ง่ายขึ้นได้
• แคร์รอต
แคร์รอต ถือเป็นผักอีกชนิดที่ทานง่าย สำหรับลูกน้อยบ้านไหน ที่ไม่ยอมกินผักใบเขียว แคร์รอตไม่ถึงกับว่าใช้ทนแทนผักใบเขียวได้ แต่ก็เป็นอาหารอีกชนิดที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมวิตามินเอ ที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผิวสุขภาพดี เวลาร่างกายได้รับบาดเจ็บ ก็จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย สำหรับอาหารอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนเช่นเดียวกัน ก็มี มันฝรั่ง มันหวาน พริกแดง เป็นต้น
• กีวี่
กีวี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กได้ด้วย การที่จะทำให้ลูกมีภูมิต้านทาน ควรได้รับวิตามินซีที่เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ให้ลูกน้อยรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีทุกวัน นอกจากกีวี่แล้ว ผลไม้อื่น ๆ เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง ก็เป็นผลไม้ที่มีวิตามิน สูง สามารถรับประทานเพิ่มเสริมภูมิต้านทานได้เช่นเดียวกัน
• บรอกโคลี
บรอกโคลี ถือเป็นผักอีกชนิด ที่ควรให้เด็ก ๆ ทาน เนื่องจากบรอกโคลี เป็นผักที่อุดมไปด้วยกลูโคซิเนต ซึ่งเป็นไฟโตเคมิคอล ชนิดหนึ่ง นอกจากบรอกโคลีแล้ว ยังมีผักชนิดอื่น ๆ อีก ที่ใกล้เคียง และสามารถส่งเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กได้เหมือนกัน เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี
ผัก และ ผลไม้เหล่านี้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ยังที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกท้องผูก หรือ เด็กทารกถ่ายแข็งด้วยนะค่ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
นมแม่สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ด้วยนะ
คำแรกทั้งที่ต้องมีสฟิงโกไมอีลิน
อ้างอิง
อ้างอิงวันที่ 26 มีนาคม 2563
แชร์ได้เลย
บทความแนะนำ

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน