พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 ขวบ

08.06.2020

ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น

 

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 ขวบ

อ่าน 10 นาที

สรุป

  • พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ หรือพัฒนาการเด็ก 12 เดือน ตามเกณฑ์ สามารถยืนได้อย่างมั่นคงชั่วครู่ สามารถพูดคุยคำง่ายๆที่คุ้นชิน หรือเปล่งเสียงเป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้ และสามารถแสดงความต้องการโดยทำท่าทางหรือเปล่งเสียง
  • พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ หรือพัฒนาการเด็ก 12 เดือน ที่อาจล่าช้า เช่น ไม่ลุกนั่ง ไม่คลาน มีอาการกระสับกระส่าย ไม่อยู่เฉย หรือไม่ตอบสนองต่อผู้เลี้ยงดู เวลาป้อนอาหารไม่อ้าปาก และไม่เข้าใจเสียงห้าม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทุกด้าน

เมื่อเด็กอายุ 12 เดือน หรือเด็กอายุ 1 ขวบ จะสามารถเริ่มทำอะไรได้มากขึ้น เจ้าตัวน้อยจะยืนได้อย่างมั่นคงชั่วครู่ จึงควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัย ให้ลูกได้หัดยืน โดยที่พ่อแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกับให้กำลังใจลูกไปด้วย ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้นี้เอง ลูกจะเริ่มส่งเสียงเรียกพ่อหรือแม่ หรือเปล่งเสียงเป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้ และยังเข้าใจเสียงห้ามและหยุดทำ ทำตามคำสั่ง 1 ขั้นโดยมีท่าทางประกอบ เช่น ขอของเล่นให้แม่นะคะ โดยที่แม่แบมือยื่นให้เด็ก รวมทั้งเริ่มสนุกกับการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆ จึงควรส่งเสริมพัฒนาการ ดังนี้

  • สอนให้ลูกเลียนแบบท่าทาง เช่น การไหว้ โบกมือบ๊ายบาย แล้วควรชมเชยเมื่อลูกทำได้
  • หาของเล่นที่ปลอดภัยให้ลูกเล่น ให้ฝึกจับด้วยปลายนิ้ว หรือปล่อยของเล่นลงภาชนะ

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านร่างกาย

  • น้ำหนักเด็ก 1 ขวบ: เด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 9.5 กิโลกรัม เด็กผู้หญิงที่จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 9 กิโลกรัม
  • ส่วนสูงเด็ก 1 ขวบ: เด็กผู้ชายจะมีพัฒนาการส่วนสูงโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่  76 เซนติเมตร เด็กผู้หญิงที่จะมีพัฒนาการส่วนสูงโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 74 เซนติเมตร

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านสติปัญญา

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบหรือพัฒนาการเด็ก 12 เดือน ในด้านสติปัญญา ลูกจะค่อย ๆ มีความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ กับตัวเอง ได้ฝึกการรู้คิด รู้เหตุผล และมีความสามารถในการแก้ปัญหาเมื่อโตขึ้น ซึ่งจะแสดงออกในด้านภาษา การพูดสื่อสารโดยเฉพาะพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาจะสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสติปัญญา รวมถึงสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วย ดังนั้น การเล่น อ่านหนังสือ ร้องเพลง และฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี โดยมีวิธีเสริมพัฒนาการ เช่น

  • ให้ลูกเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของของเล่น เช่น เล่นลูกบอลด้วยการใช้กลิ้งหรือโยน แต่หากยังเล่นด้วยการนำมาเคาะหรือนำของเล่นเข้าปาก ควรปรึกษาแพทย์ถึงพัฒนาการของลูก
  • ให้ลูกเล่นเลียนแบบ เช่น พ่อแม่ต่อก้อนไม้ให้ดู แล้วลูกก็จะต่อก้อนไม้ตาม

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านอารมณ์ และจิตใจ

การพัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ ลูกควรจะมีความสามารถในการแสดงความรู้สึกออกมา เช่น พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือเกลียด โกรธ กลัว และเป็นสุข อีกทั้งยังควรควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตัวเอง ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะและความต้องการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของพ่อแม่ที่สอดคล้องกับพื้นฐานทางอารมณ์ของลูกตั้งแต่เล็ก ๆ จึงควรเข้าใจธรรมชาติของลูก

ช่วงวัยเด็ก 1 ขวบเป็นอีกช่วงเวลาสำคัญ เพราะเด็กจะเริ่มเดินได้ พูดได้ อยากรู้อยากลอง พร้อมสำรวจสิ่งต่าง ๆ การถูกห้ามหรือเรียกร้องให้ลูกควบคุมตัวเองมากขึ้น จะทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมต่อต้านมากขึ้น เพื่อพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับ ปฏิบัติต่อลูกอย่างใจเย็นด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับและค่อย ๆ ฝึกวินัยเชิงบวกด้วยการกำหนดขอบเขตกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการควบคุมตนเองของเด็ก

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านโภชนาการ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบหรือพัฒนาการเด็ก 12 เดือน ในด้านโภชนาการ ลูกจะเริ่มคุ้นเคยกับอาหารมากขึ้นแล้ว แต่ยังควรให้อาหารควบคู่กับนมแม่ต่อไป สำหรับโภชนาการเด็ก 1 ขวบ จำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารให้ครบ รวมถึงอาหารบำรุงสมอง อย่างเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ที่ส่งผลต่อการสร้างอวัยวะ รวมถึงเซลล์สมอง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก โดยปริมาณอาหารสำหรับเด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่

  • กลุ่มอาหารข้าว-แป้ง เด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับปริมาณอาหาร 3 ทัพพีต่อวัน
  • เนื้อสัตว์ เด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับปริมาณอาหาร 3 ช้อนกินข้าวต่อวัน หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • ผัก เด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับปริมาณอาหาร 2 ทัพพีต่อวัน หรือ 6 ช้อนกินข้าว หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • ผลไม้ เด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับปริมาณอาหาร 3 ส่วนต่อวัน หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

 

โภชนาการเด็ก 1 ขวบ ควรได้รับอาหารครบ 5 กลุ่มอาหารอย่างหลากหลาย และกินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี โดยเสริมนมสำหรับเด็ก 1 ขวบ  รสจืดวันละ 2 แก้ว โดยฝึกฝนการกินอาหารรสธรรมชาติ เลือกผักผลไม้ที่หวานน้อย และดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงน้ำหวานหรือน้ำอัดลม

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

 

วิธีส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

ส่งเสริมกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว เมื่อลูกอายุ 12 เดือนขึ้นไป จะสามารถเดินได้ 2-3 ก้าวโดยไม่ต้องช่วยนั่งเองได้โดยไม่ต้องช่วยยันตัวให้ลุกขึ้นและเดินได้โดยเกาะตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ

  • ให้ลูกเกาะยืน ปีนป่าย ในสถานที่ที่ปลอดภัย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ให้เล่นของเล่นที่ต้องลากดึงเพื่อการเรียนรู้ เช่น หมุดไม้ หรือหยิบห่วงใส่แท่งไม้
  • ปล่อยให้ลูกหยิบอาหารด้วยมือ หรือจับถ้วยน้ำยกดื่มเอง

 

ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกอารมณ์ดี

หมั่นพูดคุยกับลูกเป็นประจำ กระตุ้นให้ลูกพูด  ให้ลูกฝึกการโต้ตอบ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกอารมณ์ดี เช่น

  • สอนลูกพูดว่า หม่ำ ๆ ตอนที่ป้อนข้าวไปด้วย
  • ชี้บอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สอนให้ลูกรู้จักอวัยวะต่าง ๆ
  • ฝึกให้ลูกทำตามคำสั่งง่าย ๆ
  • เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ให้ลูกอารมณ์ดี
  • ให้ลูกทำท่าทางเลียนแบบง่าย ๆ เช่น สวัสดี และโบกมือทักทาย
  • ร้องเพลงให้ลูกฟัง

 

ส่งเสริมการสื่อสารให้ลูก

เด็กวัยนี้เริ่มพูดคุย สื่อสาร และสามารถแสดงความต้องการโดยทำท่าทางหรือเปล่งเสียง วิธีส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษา สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านกิจกรรมพัฒนาสมองเด็ก  ด้วยการนำของเล่นหรืออาหารที่เด็กชอบมา 2-3 อย่าง วางไว้หน้าเด็กแล้วถามว่า "หนูเอาไหม เอาอันไหน" จากนั้นให้รอให้เด็กแสดงความต้องการก่อน จึงให้ของที่ลูกต้องการ ลองฝึกด้วยการถามทุกครั้งก่อนให้ของเล่นหรืออาหารกับลูก

 

ข้อควรระวัง พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

การเลี้ยงดูเด็ก 1 ขวบ ต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กมีความสนใจ ชอบสำรวจ ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าเรียนรู้ กล้าลองทำสิ่งใหม่ ๆ และควรปล่อยให้ลูกได้ทดลอง เพียงแต่เลือกสถานที่ให้ปลอดภัย คอยเฝ้ามองดูอยู่ในระยะใกล้ชิด

 

สำหรับพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ หากมีพัฒนาการที่ผิดปกติหรือล่าช้า ควรปรึกษาแพทย์ โดยสังเกตได้ ดังนี้

  • ไม่ลุกนั่ง ไม่คลาน
  • ไม่ส่งเสียงโต้ตอบ ไม่เลียนเสียงพูด ไม่เลียนแบบท่าทาง
  • กระสับกระส่าย ไม่อยู่เฉย
  • ไม่ตอบสนองต่อผู้เลี้ยงดู เวลาป้อนอาหารไม่อ้าปาก และไม่เข้าใจเสียงห้าม

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่

พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยการฝึก กิน กอด เล่น เล่า ให้เหมาะกับพัฒนาการทารก 12 เดือน ได้แก่

  1. กิน: ปล่อยให้ลูกตักหรือหยิบอาหารขึ้นมาด้วยมือตัวเอง หมั่นชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี หากลูกทำอาหารเลอะเทอะ ควรเข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนพัฒนาการ ไม่ควรดุว่าหรือตำหนิลูก
  2. กอด: เด็กวัยนี้ชอบสำรวจและอยากเรียนรู้ ควรปล่อยให้ลูกได้กล้าเล่น กล้าทดลองสิ่งใหม่ โดยมีพ่อแม่คอยดูแล ให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด เมื่อพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ จะเป็นการให้ความมั่นใจกับลูกได้
  3. เล่น: ให้ลูกเป็นผู้นำในการเล่น ปล่อยให้เล่นตามสิ่งที่ลูกให้ความสนใจ ลองชวนลูกทำกิจกรรมใหม่ ๆ ดูบ้าง และส่งเสริมให้ลูกได้เดิน วิ่ง ปีนป่าย ในสถานที่ปลอดภัย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
  4. เล่า: อ่านหนังสือนิทานที่มีเนื้อหาง่าย ๆ เรื่องใกล้ตัว หรือหนังสือนิทานที่มีสิ่งที่ลูกชอบ เช่น รถหรือสัตว์

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. 3 ปีแรก จังหวะทองของพัฒนาการ, โรงพยาบาลศิริราช
  3. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  4. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี , ราช
    วิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  5. หลักสูตรการใช้คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรทางการศึกษา , สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  6. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 1 ปี, UNICEF Thailand
  7. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรทางการศึกษา, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  8. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566
 

บทความแนะนำ

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก