พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

24.09.2019

เด็กในวัย 4 เดือน เด็กผู้ชายจะมีส่วนสูง 60.8-67.0 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 5.9-8.3 กิโลกรัม เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูง 58.9-65.4 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 5.3-7.7 กิโลกรัม อาหารของลูกน้อยในช่วงนี้คือน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ไปจนถึงอายุ 6 เดือน เพราะระบบลำไส้ยังไม่สามารถย่อยอาหารได้เต็มที่ และไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวและกลืนได้ ในตอนกลางคืนลูกน้อยสามารถนอนหลับได้ยาวถึง 6-8 ชั่วโมง เริ่มแสดงออกผ่านรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือส่งเสียงในลำคอ และเริ่มมองเห็นสีได้มากขึ้น

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ทารก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • พัฒนาการเด็ก 4 เดือนจะสามารถพลิกตัวได้เองแล้ว ชันคอและยกศีรษะได้ ชอบเอามือหรือสิ่งของเข้าปาก มองตามวัตถุหรือหันตามเสียงที่ได้ยินได้ เริ่มส่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ จดจำใบหน้าของผู้คนได้และสามารถแสดงอารมณ์สีหน้าได้บ้างแล้ว
  • คุณแม่ควรเล่นและพูดคุยกับลูกน้อยบ่อย ๆ โดยสามารถใช้ของเล่นสีสดใส หรือของเล่นนุ่ม ๆ รวมถึงการเล่านิทานเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้
  • คุณแม่สามารถฝึกลูกน้อยวัย 4 เดือนให้นอนหลับได้ยาวนานขึ้น และสามารถแยกแยะเวลาเล่น กิน และนอนได้
  • เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ตามลำพัง และไม่วางสิ่งของที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายไว้ใกล้มือของลูกน้อย


เลือกอ่านตามหัวข้อ


พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว

  • เมื่อจับในท่านอนคว่ำสามารถใช้แขนยันให้อกพ้นพื้นและยกศีรษะได้
  • เมื่อจับในท่านั่งหรืออุ้มสามารถประคองศีรษะได้
  • สามารถพลิกตัวตะแคงหรือนอนหงายได้
  • การมองเห็นของทารก สามารถกวาดสายตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ 180 องศา
  • เอามือหรือสิ่งของเข้าปากบ่อย ๆ
  • สามารถจับและเขย่าวัตถุที่อยู่ในมือได้


พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ด้านการสื่อสาร

  • หันหน้าไปตามทิศทางที่ได้ยินเสียงอย่างถูกต้อง
  • ส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือแสดงความรู้สึก
  • เริ่มเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน และเริ่มออกเสียงที่ไม่มีความหมาย

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 4 เดือน


พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ด้านการเรียนรู้

  • ยิ้มตอบหรือทักทายผู้เลี้ยงได้
  • เริ่มเรียนรู้วิธีอ่านอารมณ์จากน้ำเสียง และการแสดงออกทางสีหน้าของผู้เลี้ยง
  • จดจำเสียงหรือสัมผัสของบุคคลที่คุ้นเคยได้
  • เริ่มเรียนรู้ว่าผู้คนรอบตัวตอบสนองต่อการกระทำของตัวเอง เช่น ถ้าร้องไห้แล้วจะมีคนมาอุ้ม


พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ด้านอารมณ์

  • สามารถแสดงอารมณ์ทางใบหน้าได้หลากหลาย เช่น ยิ้มเมื่ออารมณ์ดี หรือโกรธเมื่อไม่พอใจ
  • ชอบเล่นกับคนรอบข้าง แต่อาจแสดงอาการต่อต้านเมื่อถูกห้ามหรือถึงเวลาต้องเลิกเล่น


สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 4 เดือน

เล่นและพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพัง

คุณแม่ควรส่งเสียงพูดคุยโต้ตอบกับลูกบ่อย ๆ หมั่นเล่นและเรียกชื่อลูกในขณะเล่น เนื่องจากในช่วงวัยนี้ลูกน้อยสามารถจำชื่อของตัวเองได้ และสามารถตอบสนองเวลาคุณแม่เรียกชื่อเขา โดยการหันหน้าไปตามทิศทางที่ได้ยินเสียง และในส่วนของความปลอดภัย ถึงแม้ว่าลูกน้อยในวัยนี้ยังไม่สามารถคลานได้ก็ไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เพราะอาจเกิดอันตรายหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ โดยเฉพาะการพลัดตกจากที่สูงซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยครั้ง และควรเก็บวัสดุที่อาจเป็นอันตรายอื่น ๆ ไว้ให้ห่างจากมือของลูกน้อย


ไม่ควรตามใจลูกจนเกินไป แบ่งเวลาเล่น กิน นอนให้ชัดเจน

เพื่อเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดี คุณแม่ไม่ควรตามใจลูกจนเกินไป เนื่องจากในวัยนี้ลูกน้อยจะสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ห่วงเล่น ทำให้กินนมน้อยลง คุณแม่ต้องแบ่งเวลาเล่น กิน นอนให้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลาหลับไม่ควรให้ลูกหลับในขณะที่ยังกินนมอยู่ และคุณแม่สามารถลดความถี่ในการให้นมลูกช่วงเวลากลางคืนลงด้วยการไม่ปลุกให้ลูกขึ้นมากินนมกลางดึก เพื่อให้ลูกน้อยสามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ยาวนานขึ้น


เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 4 เดือน

ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้วยการให้ขยำของเล่นนุ่ม ๆ

ตุ๊กตาที่ทำจากผ้าที่มีสีสันสวยงาม อาจจะแขวนหรือเคลื่อนย้ายของเล่นช้า ๆ ให้ลูกน้อยมองตาม หรือหลอกล่อเพื่อให้เอื้อมมือไปจับของเล่นนั้น


ให้เล่นของเล่นที่มีเสียง

ของเล่นที่เขย่าแล้วทำให้เกิดเสียง เนื่องจากเด็กวัยนี้จะชอบของเล่นเสริมพัฒนาการประเภทนี้เป็นพิเศษ โดยคุณแม่เขย่าของเล่นให้เกิดเสียงเพื่อให้ลูกน้อยสนใจและหันมามอง เป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสาร


ให้สัมผัสใบหน้าของพ่อแม่ และสอนให้รู้จักตา หู จมูก ปาก

ให้เล่นและสัมผัสกับคุณพ่อคุณแม่บ่อย ๆ เช่น ให้ลูกน้อยได้สัมผัสใบหน้า ระหว่างนั้นก็สบตา พูดคุย และยิ้มกับลูกน้อย หรือสัมผัสลูกน้อยเบา ๆ ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก และเรียกชื่อตามอวัยวะนั้น


อ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ

ทุกวันควรใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 นาที อ่านนิทานหรือร้องเพลงให้ลูกน้อยของคุณฟัง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา โดยแนะนำให้ใช้หนังสือที่มีสีสันสดใส และทำจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 4 เดือน

 

ในเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การเลี้ยงดูลูกน้อยวัย 4 เดือนเติบโตได้อย่างสมวัย สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจก็คือ การนอน การเล่น การกิน โดยในช่วงวัยนี้ ลูกควรได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน และควรกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เพราะนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นกว่า 200 ชนิด รวมทั้งยังมีสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากไม่แพ้กัน คือการใส่ใจพัฒนาการของลูกน้อยทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านการสื่อสาร ด้านการเรียนรู้ และด้านอารมณ์ อย่าลืมว่าคุณแม่ต้องไม่เครียดและรักษาสุขภาพของตัวเองด้วยนะคะ เพื่อให้มีแรงกายแรงใจดูแลลูกน้อยของคุณแม่ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. คู่มือการใช้มาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2006 ในเด็กแรกเกิด - 5 ปี, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. Your Baby at 4 Months, UCSF Benioff Children's Hospitals
  3. Baby Development: Your 4-Month-Old, Webmd
  4. ตารางพัฒนาการเด็กปฐมวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  5. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 4 เดือน, Unicef Thailand
  6. Developmental milestones record - 4 months, MedlinePlus
  7. คู่มือ การเสริมสร้างความผูกพันธ์ทางอารมณ์ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด - 5 ปี, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  8. คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  9. การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 3-4 เดือน, สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี