การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

31.03.2024

การตั้งครรภ์แต่ละครั้ง เกิดจากกระบวนการที่อสุจิของเพศชายเข้าผสมกับไข่ของเพศหญิง ในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์คือ “ไข่” ซึ่งในแต่ละเดือนการตกไข่จะเกิดขึ้นเดือนละครั้งเท่านั้น วงจรการตกไข่จะสลับกันไปในแต่ละเดือน รังไข่ 2 ข้างจะทำหน้าที่สลับกันตกไข่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วันของรอบเดือน ไข่ที่ถูกคัดเลือกแล้วจะหลุดออกมาจากถุงรังไข่ รอการปฏิสนธิอยู่บริเวณท่อนำไข่ เรียกว่า “การตกไข่” ดังนั้น หากวางแผนจะตั้งครรภ์มีบุตร ต้องมีการวางแผนให้ดีและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงจังหวะที่ไข่ตกจะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

headphones

PLAYING: การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

อ่าน 8 นาที

สรุป

  • สำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ การนับวันตกไข่ มีความสำคัญอย่างมาก แต่ละเดือนจะมีการตกไข่เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งรังไข่จะทำหน้าที่สลับกันไปในการผลิตไข่ในแต่ละเดือน ในทุก ๆ 14 วัน หากไข่ไม่ได้รับการผสมของอสุจิ ผนังมดลูกที่รอรับการฝังตัวจะสลายตัวหลุดลอกออกทางช่องคลอดกลายเป็น “ประจำเดือน”
  • ข้อสังเกตว่านี่คือสัญญาณที่แสดงว่ากำลัง “ไข่ตก” เช่น มีมูกที่ปากมดลูกเพิ่มขึ้น ช่วงไข่ตกจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณปากมดลูกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอารมณ์ทางเพศมากขึ้น อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเล็กน้อย มีอาการเจ็บคัดเต้านม
  • เมื่อคู่รักมีความพร้อมและวางแผนจะตั้งครรภ์ มีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ การเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจส่งผลให้เพิ่มโอกาสมีลูกตามธรรมชาติ เช่น มีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตก ลดความเครียด ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การปฏิสนธิ คืออะไร

การปฏิสนธิ คือ การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้เมื่อไข่และอสุจิผสมกัน และไข่ที่ได้รับการผสมจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวจากท่อนำไข่ไปฝังตัวที่ผนังมดลูก จากนั้นเซลล์ดังกล่าวจะเริ่มแบ่งตัวมากขึ้น ๆ เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกจะพัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของ “รก” ซึ่งเป็นอวัยวะที่จะหล่อเลี้ยงให้ทารกในครรภ์อยู่รอดจนครบกำหนดคลอด

 

รู้จักกระบวนการของการปฏิสนธิ

การปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ เมื่อปฏิสนธิแล้วจะเกิดการตั้งครรภ์ การปฏิสนธิมีกระบวนการและขั้นตอน

  • การตกไข่ ผู้หญิงจะมีการตกไข่ สลับข้างกันไปในแต่ละเดือน โดยปกติจะเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่โตเต็มที่ จะยิ่งเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง
  • การเคลื่อนที่ของอสุจิ การปฏิสนธิเริ่มต้นเมื่ออสุจิเข้าสู่ช่องคลอดจะผ่านโพรงมดลูกไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก เมือกบริเวณปากมดลูกจะเป็นแหล่งกักเก็บอสุจิให้อยู่รอดนานขึ้น อสุจิจะเคลื่อนที่ได้เร็วจากปากมดลูกไปยังโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่างมากกว่าความเป็นกรด
  • ลักษณะการเคลื่อนที่ของไข่ หลังจากไข่ตก ไข่จะเคลื่อนไปยังท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิภายในเวลา 24 ชั่วโมง หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ไข่จะเคลื่อนไปยังมดลูกและสลายตัวกลายเป็นประจำเดือนต่อไป
  • การพัฒนาเป็นตัวอ่อน หลังจากไข่ตก ไข่จะสามารถปฏิสนธิภายใน 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น หากไข่ได้รับการผสมกับอสุจิ เกิดการปฏิสนธิจะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน เมื่อเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิแล้วไข่จะฝังตัวที่ผนังมดลูก และสร้างกลไกแปรสภาพไม่ให้อสุจิตัวอื่น ๆ เข้าไปฝังในไข่ได้อีก
  • การฝังตัว หลังจากการปฏิสนธิภายใน 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีการแบ่งเซลล์ออกเป็นหลายเซลล์ และเคลื่อนที่ผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูก และฝังตัวที่ผนังมดลูก ในระหว่างนี้อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยจากช่องคลอดได้

 

ช่วงตกไข่ของผู้หญิง นับแบบไหน

ปกติแล้วผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอจะมีรอบเดือนมาทุก 28 วัน และวันไข่ตกจะอยู่ในช่วงวันที่ 14 ของทุกรอบเดือน 

วิธีการคำนวณวันไข่ตก

การจดบันทึกวันที่ประจำเดือนมาจะช่วยทำให้การนับวันไข่ตกแม่นยำมากขึ้น การจดบันทึกในวันที่ประจำเดือนมาทุกเดือนเป็นระยะเวลา 8-12 เดือนแล้วนำมาคำนวณหาวันตกไข่  ดังนี้

  • เริ่มต้นหาความยาวของรอบเดือน โดยนับย้อนหลังไปวันแรกที่มีประจำเดือนล่าสุด ถึงวันแรกที่มีประจำเดือนในเดือนที่แล้ว เช่น มีประจำเดือนเดือนล่าสุด คือ วันที่ 8 มีนาคม มีประจำเดือน ในเดือนที่แล้ววันที่ 6 กุมภาพันธ์ เมื่อนับแล้วมีความยาวรอบเดือน 30 วัน
  • หาวันตกไข่ ความยาวรอบเดือน-ระยะที่ตกไข่  เช่น 30 วันถึง14 วัน เท่ากับ วันตกไข่ คือ วันที่ 16 ของความยาวรอบเดือน จากนั้นให้นำวันแรกของการมีประจำเดือนล่าสุด เช่น วันที่ 8 มีนาคม แล้วนับไป 16 วัน ก็จะได้วันไข่ตก คือ วันที่ 23 เมษายน สามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันก่อนไข่ตก และหลังวันไข่ตกอีกประมาณ 2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิมากที่สุด

 

อาการของผู้หญิงที่สังเกตได้ในช่วงตกไข่

การตกไข่ของผู้หญิงจะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง สัญญาณการตกไข่ สังเกตได้ ดังนี้

  • มูกที่ปากมดลูก เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้เกิดมูกที่ปากมดลูก มูกมีลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ มีลักษณะข้นเหนียว และยืดหยุ่น มูกจะช่วยนำพาให้อสุจิเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น
  • อารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น ในช่วงไข่ตก จะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น รวมถึงการสร้างของเหลวลื่นมากเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้มีเพศสัมพันธ์ง่ายขึ้น ส่งผลให้ในช่วงที่มีไข่ตกผู้หญิงจะมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้นด้วย
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ในช่วงที่มีการตกไข่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอีกเล็กน้อย ประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส สามารถวัดอุณหภูมิได้หลังตื่นนอนหากต้องการดูแนวโน้มที่ชัดเจนของวันตกไข่ ควรวัดอย่างน้อย 2-3 เดือน
  • ปากมดลูกเปลี่ยนตำแหน่ง ในช่วงวันตกไข่ จะทำให้ปากมดลูกเปลี่ยนตำแหน่งอยู่สูงขึ้น และมีความอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ
  • คัดเต้านม แต่อาการเจ็บคัดเต้านมไม่อาจบ่งบอกวันไข่ตกได้ชัดเจนแม่นยำ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้
  • การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดสอบผลึกน้ำลายด้วยกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยาย 50 เท่า พบว่า ในช่วงวันตกไข่ เมื่อแตะน้ำลายลงบนเลนส์และทิ้งไว้ให้แห้ง หากอยู่ในช่วงวันไข่ตกผลึกน้ำลายจะมีลักษณะเป็นรูปใบเฟิร์นอย่างชัดเจน เกิดจากความเข้มข้นของ Electrolytes ในน้ำลายนั่นเอง
  • ปวดท้องน้อยข้างเดียว ในช่วงไข่ตกผู้หญิงบางคนจะมีอาการปวดท้องน้อยข้างเดียว เนื่องจากไข่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อนทารก หากไม่มีการปฏิสนธิหรือไข่ไม่มีการผสมกับอสุจิ ผนังภายในรังไข่จะหลุดลอกออกมาส่งผลให้ปวดท้องน้อยได้

 

มีเพศสัมพันธ์ตอนไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิมากที่สุด

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตก ภายใน 24 ชั่วโมง มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอ มีเพศสัมพันธ์แบบวันเว้นวัน หรือแบบสองวัน/ครั้ง การมีเพศสัมพันธ์ที่หักโหมจนเกินไป หรือมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน ความเหนื่อยและความเครียดมีผลทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง และอสุจิไม่แข็งแรง

 

การปฏิสนธิ คืออะไร

 

อยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ให้ทำตามนี้

หากวางแผนมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ควรเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงความเครียด

ความเครียด รวมถึงความวิตกกังวลในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทำให้มีบุตรยาก นอกจากนี้ ความเครียดส่งผลรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ในเพศหญิงเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่วนในเพศชายความเครียดทำให้อสุจิและระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำลง

 

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนเพียงพอ ช่วยให้จิตใจแจ่มใส และมีสุขภาพที่แข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกตามธรรมชาติได้

 

3. เน้นอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง อาหารที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกตามธรรมชาติ  มีดังนี้

  • ผักใบเขียวเข้ม แครอท อะโวคาโด ธัญพืชที่ขัดสีน้อย ขนมปังไม่ขัดสี ผักโขม ถั่ว ฟักทอง มะเขือเทศ ตับ ไข่แดง มีสารอาหารประเภทโฟเลต และวิตามินบีสูง เร่งการตกไข่ของฝ่ายหญิง และเพิ่มความแข็งแรงให้อสุจิ
  • ธัญพืชต่าง ๆ เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก มีส่วนช่วยในการบำรุงมดลูก และการผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
  • รับประทานปลา เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ให้สารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามินดี และไขมันต่ำ
  • อาหารที่มีแมงกานีส สังกะสี และเบต้าแคโรทีน เป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้างฮอร์โมน เช่น แครอท แอปริคอต ช่วยเพิ่มปริมาณอสุจิและระดับฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรน
  • รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความรู้สึกทางเพศ ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินบี 12 ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ

 

4. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ ลดกาแฟ ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ส่งผลให้ปริมาณอสุจิลดลง และอสุจิไม่มีคุณภาพ ไม่แข็งแรง ฮอร์โมนทำงานไม่ปกติ ในฝ่ายหญิงลดโอกาสการตกไข่ นอกจากนี้เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนส่งผลให้มีลูกยากขึ้น

 

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกแบบธรรมชาติได้

 

6. ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับวิตามินเตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายสำหรับคนอยากมีลูกแบบธรรมชาติ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเสริมวิตามินที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ตามธรรมชาติได้ วิตามินที่ช่วยเสริมร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อม มีดังนี้

  • กรดโฟลิก เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ มีลูกตามธรรมชาติ ควรรับประทานกรดโฟลิกเฉลี่ยวันละ 400 มิลลิกรัม/วัน ล่วงหน้าประมาณ 1-3 เดือน ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในช่วงตั้งครรภ์ได้
  • วิตามินซี ป้องกันหวัด และลดภาวะเลือดออกตามไรฟันในช่วงตั้งครรภ์
  • สังกะสี ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไข่ที่ผลิตออกมาจากรังไข่ เป็นไข่ที่มีคุณภาพ
  • วิตามินบี 6 บรรเทาอาการแพ้ท้อง
  • ธาตุเหล็ก ลดภาวะโลหิตจางสำหรับผู้ที่วางแผนมีลูกตามธรรมชาติ
  • วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีบทบาทในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง มีส่วนช่วยเสริมทางด้านความรู้สึกทางเพศ
  • วิตามินบี 3 มีบทบาทช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น

 

การปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นได้ต้องเตรียมความพร้อมก่อนวางแผนมีลูก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการนับวันไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ การปฏิบัติตนให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดความเครียด ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมีคาเฟอีน ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รวมถึงการเสริมด้วยวิตามินที่จำเป็น เช่น โฟลิก วิตามินบี สังกะสี ธาตุเหล็ก มีส่วนช่วยให้มีลูกตามธรรมชาติได้ง่ายขึ้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 


อ้างอิง:

  1. เพราะการมีอีกหนึ่งชีวิตในร่างกายของเรา...ถือเป็นความมหัศจรรย์, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การปฏิสนธิ คืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร, hellokhunmor
  3. วิธีการนับวันตกไข่ สิ่งสำคัญของคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. นับวันไข่ตกอย่างไรไม่ให้พลาด, กรมอนามัย
  5. เทคนิคการมีลูกง่ายด้วยวิธีธรรมชาติ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  6. อยากท้องต้องทำยังไง เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับคู่รักที่อยากมีลูก, โรงพยาบาลนครธน
  7. 9 อาหาร(เสริม) คนอยากมีลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก