ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เม.ย. 23, 2024
9นาที

เป็นไปได้ไหมนะ ถ้าท้องนี้อยากทำลูกแฝด !! คู่รักที่แต่งงาน หรือคู่ที่มีลูกมาแล้ว ท้องครั้งนี้อยากจะได้ลูกแฝด สำหรับการตั้งครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้ทั้งจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ และการตั้งครรภ์แฝดโดยใช้เทคนิคทางการแพทย์ช่วย การมีลูกแฝดไม่ว่าจะด้วยธรรมชาติ หรือใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ สำคัญคือทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิงต้องเตรียมร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเพิ่มโอกาสการมีลูก

 

สรุป

  • การทำลูกแฝด มีเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 300 คน ในการตั้งครรภ์แฝดที่มาจากกรรมพันธุ์ ในผู้หญิงที่มีประวัติครรภ์แฝดในครอบครัวมาก่อน จะทำให้มีโอกาสในการเกิดครรภ์แฝด
  • การตั้งครรภ์แฝดแท้ หรือแฝดเหมือน เกิดจากไข่ 1 ใบเดียวกัน เป็นการผสมกันตามกระบวนการทางธรรมชาติที่อสุจิผสมกับไข่ จากนั้นเกิดการแบ่งตัวออกเป็น 2 เกิดเป็นแฝดเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน
  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น การดื่มนมมากกว่า 5 เท่า และการรับประทานกรดโฟลิก จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งควรได้รับในปริมาณที่แพทย์แนะนำ


เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์ในมนุษย์จะมีลูกได้ครั้งละ 1 คน การตั้งครรภ์แฝด (Multifetal Pregnancy) เป็นการตั้งครรภ์ที่มีการเกิดทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป อาทิเช่น การตั้งครรภ์แฝดคู่ (Twins) การตั้งครรภ์แฝดสาม (Triplets) และการตั้งครรภ์แฝดสี่ (Quadruplets) เป็นต้น ในทางการแพทย์พบว่าการตั้งครรภ์แฝดสามารถพบได้ 1 ต่อ 90 ของการตั้งครรภ์ และในปัจจุบันพบว่ามีการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มมากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

 

จะมีลูกแฝดได้ ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์มากน้อยแค่ไหน

การตั้งครรภ์แฝดธรรมชาติจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยครั้ง มีเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 300 คน เท่านั้น ในการตั้งครรภ์แฝดที่มาจากกรรมพันธุ์ ข้อมูลทางการแพทย์พบว่าในผู้หญิงบางรายที่มีประวัติครรภ์แฝดในครอบครัวมาก่อน จะทำให้มีโอกาสในการเกิดครรภ์แฝด (dizygotic twins) ได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับ Dizygotic (Fraternal) twins คือ การตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากการผสมของไข่ 2 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว โดยที่อาจจะได้เพศของทารกเป็นเพศเดียวกัน (หญิง/หญิง), (ชาย/ชาย) หรือต่างเพศกัน (ชาย/หญิง) ก็ได้เช่นกันค่ะ

 

จะมีลูกแฝดได้ ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

ทำลูกแฝด อยากมีลูกแฝดอาจไม่ใช่เรื่องง่าย หากเป็นการตั้งครรภ์แฝดโดยธรรมชาติ จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • กรรมพันธุ์: ในครอบครัวมีประวัติการตั้งครรภ์แฝดมาก่อน
  • เชื้อชาติ: พบว่าในคนกลุ่มผิวดำจะมีการเกิดครรภ์แฝดสูงกว่าในคนกลุ่มผิวขาว ทั้งนี้อาจสัมพันธ์กับความแปรปรวนของปริมาณฮอร์โมน FSH ที่มีในคนแต่ละเชื้อชาติ
  • อายุ: ในผู้หญิงที่อายุมากจะมีปริมาณฮอร์โมน FSH เพิ่มมากขึ้นตามอายุ ซึ่งพบว่าปริมาณฮอร์โมน FSH จะมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์แฝด dizygotic twinning สำหรับ Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ ที่ทำให้เกิดรอบเดือนในผู้หญิง
  • น้ำหนักและส่วนสูง: พบว่าในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก (BMI ≥ 30 kg/m2) และสูง (Height ≥ 164 cm.) จะมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์แฝด dizygotic twins ได้มากกว่าในผู้หญิงที่ไม่สูง (เตี้ย) ร้อยละ 23-30

 

ความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

1. แฝดแท้ หรือแฝดเหมือน

เกิดจากไข่ 1 ใบเดียวกัน เป็นการผสมกันตามกระบวนการทางธรรมชาติที่อสุจิผสมกับไข่ จากนั้นเกิดการแบ่งตัวออกเป็น 2 เกิดเป็นแฝดเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน สำหรับการเกิดแฝดแท้ หรือแฝดเหมือน จะมีเปอร์เซ็นต์การเกิดคือ 1:250

 

2. แฝดเทียม หรือแฝดไม่เหมือน

เกิดจากไข่ 2 ใบ (ไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 คน) และ (ไข่อีก 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 คน) การตั้งครรภ์แฝดเทียม หรือแฝดไม่เหมือน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากกระบวนการตามธรรมชาติ หรือจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็ได้เช่นกัน สเปิร์มและไข่ที่ผสมกันแล้วจะอยู่ในครรภ์เดียวกัน โดยที่จะมีการแยกอวัยวะทุกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน และจะมีถุงการตั้งครรภ์คนละถุงกัน และสายรกคนละสาย เป็นต้น

 

อยากมีลูกแฝด ทำลูกแฝดอย่างไรได้บ้าง


 

ทำลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ มีวิธีไหนบ้าง

ในทางการแพทย์การตั้งครรภ์แฝดเองตามธรรมชาติอาจเกิดขึ้นได้ หรืออาจไม่เกิดขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ น้ำหนัก กรรมพันธุ์ และเชื้อชาติ เป็นต้น สำหรับวิธีธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ อาจจะเป็นครรภ์เดี่ยว หรือครรภ์แฝด คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำดังนี้

  1. มีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่ไข่ตก
  2. การใช้ท่วงท่าในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ท่ามิชชันนารี
  3. ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องมีเพศสัมพันธ์กันวันเว้นวัน หรือมีเพศสัมพันธ์กัน 2 วันครั้ง
  4. ผ่อนคลาย ลดเรื่องเครียดต่าง ๆ ลง
  5. หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ควรเพิ่มน้ำหนักตัว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการเพิ่มน้ำหนักที่ถูกต้องและเหมาะสมกับของแต่ละคน
  6. ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เพราะส่งผลต่อการมีลูกยากถึง 50 เปอร์เซ็นต์
  7. ความร้อน รังสีจากการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ส่งผลต่อการผลิตอสุจิ แนะนำว่าขณะใช้โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ควรให้ห่างจากอัณฑะ
  8. การใช้เจลหล่อลื่นบ่อย ๆ อาจทำให้สารเคมีที่อยู่ในเจลหล่อลื่น ลดการเคลื่อนไหวของอสุจิได้มากถึง 60-100 เปอร์เซ็นต์

 

การตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

  1. มีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ
  2. มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้มากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว
  3. มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ การตั้งครรภ์แฝดครั้งแรกมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่า 5 เท่า
  4. มีน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ ในการตั้งครรภ์แฝดพบได้ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ และเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด และการตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น
  5. รู้สึกไม่สบายตัวมาก มีความลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  6. มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  7. ถุงน้ำคร่ำอาจแตกก่อนกำหนด
  8. มีภาวะรกเกาะต่ำ

 

อยากมีลูกแฝดควรกินอะไรบำรุงร่างกาย

มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น การดื่มนมมากกว่า 5 เท่า และการรับประทานกรดโฟลิก ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด สำหรับกรดโฟลิก หรือวิตามินบี 9 เป็นสารอาหารสำคัญในกระบวนการสร้างสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ช่วยในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ กรดโฟลิกจะมีอยู่ในอาหารได้จากผัก ผลไม้ เช่น ดอกกะหล่ำ ใบกุยช่าย มะเขือเทศ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ส้ม องุ่นเขียว สตรอเบอร์รี ถั่วลิสง และถั่วเหลือง ส่วนในเนื้อสัตว์จะมีอยู่ในตับ เป็นต้น

 

ทำลูกแฝดไม่ว่าจะด้วยการตั้งครรภ์ธรรมชาติ หรือใช้วิทยาการทางการแพทย์ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกาย โภชนาการอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนนอนหลับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์มากที่สุดค่ะ

 

และเมื่อการตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จ หลังคลอดลูกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. การตั้งครรภ์แฝดไม่ง่ายอย่างที่คิด, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. การตั้งครรภ์แฝด (Multifetal Pregnancy), โรงพยาบาลกรุงเทพ
  3. การตั้งครรภ์แฝด Multifetal Pregnancy, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ตรวจฮอร์โมนส์เพศหญิงแล้วดีอย่างไร?, โรงพยาบาลเปาโล
  5. การตั้งครรภ์แฝด, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ครรภ์แฝด’, โรงพยาบาลพญาไท
  7. เทคนิคการมีลูกง่ายด้วยวิธีธรรมชาติ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  8. 4 เคล็ดลับ ใครอยากได้ 'ลูกแฝด' มาทางนี้?, โรงพยาบาลราชสีมา
  9. โฟลิกกับการตั้งครรภ์, MedPark Hospital

อ้างอิง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม
บทความ
เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน คุณแม่ท้องหรือเปล่า ไปดูสาเหตุของประจำเดือนมาช้ากัน

9นาที อ่าน

View details คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง
บทความ
คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร หากคนท้องปวดหลังบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไหม ไปดูวิธีลดอาการปวดหลังของคุณแม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ
บทความ
คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์
บทความ
อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการท้องไม่รู้ตัวของคุณแม่ท้องแรก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าท้องแล้ว

5นาที อ่าน

View details คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง
บทความ
คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร ต่างจากคนที่ไม่ได้ท้องไหม สีปัสสาวะคนท้องแต่ละสีบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของอย่างไร มีวิธีสังเกตสีปัสสาวะคนท้องยังไงบ้าง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี
บทความ
ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า คุณแม่ชอบกินชาเขียว ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายกับลูก

5นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

6นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำชง คุณแม่ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

7นาที อ่าน

View details อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง
บทความ
อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เหมือนจะตั้งครรภ์ แบบนี้ใช่อาการตั้งท้องหรือเปล่า จะรู้ได้อย่างไรว่าตั้งท้องไหม ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน

View details ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว สัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง ไปดูอาการท้องลมที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังท้องลมอยู่กัน

5นาที อ่าน