10 อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการคนท้องระยะแรก เป็นอย่างไร

แบบนี้ท้องแน่! อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้

คุณแม่บางคนทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ทันทีที่ประจำเดือนขาด แต่ยังมีคุณแม่อีกหลายท่านที่ไม่ทราบสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ จริง ๆ แล้วอาการคนท้องระยะแรกมักจะเริ่มแสดงออกมาทันที หลังจากร่างกายเกิดการปฏิสนธิได้ในระยะเวลาหนึ่ง ถ้าคุณแม่มีประจำเดือนมาปกติและคอยสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมออาจจะทราบทันที ซึ่งอาการของคนท้องเป็นแบบไหนกันบ้าง วันนี้เราจะมาทำการไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการคนท้อง ตั้งแต่ระยะแรกกันค่ะ

headphones
อ่าน 7 นาที

อาการคนท้อง และข้อควรรู้โดยรวม

  • อาการคนท้อง สัญญาณเตือนคนท้องในเดือนแรกมักเริ่มจากการขาดประจำเดือน คัดเต้านม หน้ามืด อาเจียน หงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย จมูกไว และอาการอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายของคนท้อง
  • อาการแพ้ท้องต่าง ๆ ทั้งอาเจียน และเวียนหัวจะเริ่มดีขึ้นเมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการแพ้ท้องของคุณแม่แต่ละคนอาจไม่เหมือนกันบางคนไม่แสดงอาการเลยก็มี
  • คุณแม่บางท่านอาจท้องไม่รู้ตัวได้ เพราะประจำเดือนที่มาไม่ปกติ หรือไม่มีอาการบ่งชี้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ในบางกรณีคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อาจมีประจำเดือนมากระปิดกระปอย ซึ่งมากจากตัวอ่อนที่เข้าไปฝังตัวในมดลูก
  • หลังจากคุณแม่ทราบแน่ชัดแล้วว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์แนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ เพราะคุณหมอจะให้คำแนะนำในการดูแลตนเองของคุณแม่ และจะคอยเช็กพัฒนาการ การเติบโตของลูกน้อยในท้อง รวมถึงการดูแลครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายของลูกน้อยในท้อง

 

10 อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์ 

อาการคนท้องเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์กันนะมาดูกันเลย

  1. ประจำเดือนขาด: เป็นสัญญาณแรกที่บอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ หากคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมาตรงเวลาแต่ประจำเดือนคลาดเคลื่อน หรือขาดไปหลายวันแสดงว่าคุณกำลังเป็นว่าที่คุณแม่แล้ว
  2. เต้านมขยาย หรือมีอาการคัดเต้านม: ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ คุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของเต้านมได้หลังจากประจำเดือนขาด ทั้งเต้านมขยาย คัดตึงเต้านม หรือรู้สึกเสียว
  3. ตกขาวมากกว่าปกติ: เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง ทำให้มีน้ำขาว ๆ ไหลออกมาทางช่องคลอดจึงเป็นสาเหตุให้มีตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ 
  4. ปัสสาวะบ่อย: อาการปัสสาวะบ่อยของคนท้องเกิดจากการที่มดลูกเกิดการขยายตัวทำให้ไปกดกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้คุณแม่อยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ
  5. อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง: ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกต คิดว่าตัวเองอาจป่วย ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายนี้ ทำให้คุณแม่บางคนอาจมีการตัวร้อนเหมือนเป็นไข้ได้ 
  6. รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย: อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย บางครั้งก็รู้สึกง่วงอยู่บ่อย ๆ มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงแรก เนื่องจากฮอร์โมนของร่างกายที่ค่อย ๆ เปลี่ยนไป
  7. จมูกได้กลิ่นไว: คนท้องมักมีจมูกที่รับรู้ได้ไวกว่าคนปกติอันเป็นผลมาจากฮอร์โมนเอนโตรเจนที่เพิ่มมากขึ้น จนบางครั้งคุณแม่รู้สึกอยากอาเจียนเลยก็มี
  8. เลือดออกทางช่องคลอด: คุณแม่หลายคนอาจคิดว่าเลือดที่ออกมาเป็นประจำเดือน ความจริงแล้วเลือดที่ออกมากะปริดกะปรอยนี้อาจมาจากตัวอ่อนที่เข้าไปฝังตัวอยู่ในผนังมดลูกของคุณแม่นั่นเอง
  9. โมโห หงุดหงิดได้ง่าย: คุณแม่ที่กำลังหลังครรภ์อาจมีอารมณ์ที่แปรปรวนไม่ทราบสาเหคุ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่อารมณ์เสียได้ง่าย
  10. หน้ามืดบ่อย: อาการหน้ามืดจะเป็นลม เป็นอาการที่พบได้บ่อยของคนท้อง เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายกำลังปรับตัวและความดันในร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่จึงรู้สึกหน้ามืดหรือเวียนหัวอยู่บ่อยครั้ง

 

อาการเตือนคนเริ่มท้องมักจะเริ่มเมื่อไหร่

 

อาการเตือนคนเริ่มท้องมักจะเริ่มเมื่อไหร่

อาการเตือนของคนท้องในช่วงแรก คือ การที่ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มา สำหรับคนที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมออาจจะสังเกตได้ยาก และบ่อยครั้งหลังจากตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอย รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้าง่าย และหงุดหงิดอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังตั้งครรภ์สามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจเบื้องต้นก่อน

 

ลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือนแรก

ในสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงขนาดหน้าท้องเท่าไหร่นัก คุณแม่บางคนอาจเห็นหน้าท้องขยายขึ้นเล็กน้อย มีพุงยื่นออกมาด้านหน้า ส่วนสะดือจะนูนออกมา ในทางตรงกันข้ามบางคนอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เนื่องจากว่าทารกในท้องแม่ยังมีขนาดเล็กจิ๋ว แต่คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ หน้ามืด อ่อนเพลีย เป็นต้น

 

เริ่มรู้ตัวว่าท้อง คุณแม่วางแผนยังไงดี

  • ไปตรวจครรภ์: หลังจากที่คุณแม่ลองตรวจครรภ์ด้วยตัวเองและทราบแน่ชัดแล้วว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปตรวจครรภ์กับแพทย์อีกครั้ง เพราะการตรวจครรภ์ในห้องปฏิบัติการณ์จะมีความแม่นยำที่มากกว่า ทั้งยังช่วยให้คุณแม่สามารถวางแผนการบำรุงดูแลครรภ์เพื่อป้องกันการแท้งบุตรด้วย
  • ไปฝากครรภ์: การฝากครรภ์มีความสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อยในท้องมาก เพราะการฝากครรภ์กับคุณหมอตลอดระยะเวลา 9 เดือนนั้น แพทย์จะคอยให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและลูกน้อยในท้อง รวมถึงพยายามลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย โดยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หากคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติ คุณหมอจะนัดตรวจเดือนละครั้ง แต่ถ้ามีอาการผิดปกติคุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้น ซึ่งในระหว่างที่คุณแม่ฝากครรภ์คุณหมอจะตรวจอัลตร้าซาวน์ดูพัฒนาการของลูกในท้อง คำนวณอายุครรภ์ และสามารถกำหนดวันคลอดได้

 

อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่

 

อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่

อาการคนท้องระยะแยกส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือที่เราเรียกว่า “อาการแพ้ท้อง” อาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจากที่ตัวอ่อนปฏิสนธิได้ประมาณ 1 เดือน ทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้อยู่บ่อย ๆ แล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุของการแพ้ก็มาจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามอาการแพ้ท้องบางคนอาจเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือบางคนอาจมาเป็นเอาช่วงเดือนสุดท้ายก่อนคลอดก็ได้

 

อาการท้องไม่รู้ตัวเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า

อาการท้องไม่รู้ของคุณแม่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ เมื่อประจำเดือนขาดทำให้คุณแม่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่ที่ไม่มีอาการของคนท้อง เช่น อาการแพ้ท้อง เหนื่อยล้า คัดเต้านม หงุดหงิดง่าย เป็นต้น หรือในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกินทำให้ไม่ได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย พอมารู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ได้หลายสัปดาห์แล้ว

 

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการคนท้อง 

อาการคนตั้งครรภ์เหมือนกันทุกคนไหม: 

อาการคนท้องของคุณแม่แต่ละคนไม่เหมือนกันแต่ส่วนใหญ่มีอาการที่คล้ายคลึงกันค่ะ คุณแม่บางคนอาจมีอาการคนท้องหลายอาการ ในขณะที่คุณแม่บางคนแทบไม่มีอาการของคนท้องเลย หากคุณแม่มั่นใจว่าตั้งครรภ์แนะนำให้คุณแม่ฝากครรภ์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองและทารกน้อยในท้องตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ค่ะ

 

อาการคนเริ่มท้องจะมาหลังปฏิสนธิกี่วัน:

โดยปกติแล้วอาการคนท้องที่สามารถสังเกตได้ จะเกิดขึ้นภายใน 10 วัน หลังจากการปฏิสนธิเริ่มขึ้น เนื่องจากจะเกิดการแบ่งเป็นเซลล์เล็กเซลล์น้อยอย่างรวดเร็ว ก่อนที่เซลล์เหล่านี้จะเคลื่อนตัวเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูก ทำให้คุณแม่มีเลือดออกซึมมาเล็กน้อยคล้ายเลือดประจำเดือน

 

อาการเหมือนคนท้องแต่ไม่ท้อง เป็นเพราะอะไร: 

อาการนี้อาจเกิดกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนขาด คลื่นไส้ อาเจียน บางคนรู้สึกเหมือนมีลูกดิ้นในท้องด้วย แต่พอไปตรวจกับคุณหมอ กลับคลำมดลูกไม่ได้ อัลตร้าซาวน์ก็ไม่พบการตั้งครรภ์ อาการท้องแต่ไม่ท้องนี้เรียกว่า “ท้องหลอก” สาเหตุมากจากสภาพจิตใจของผู้หญิงที่อาจมีความเครียดที่ต้องการมีลูกนั่นเอง

 

อาการเหมือนคนท้อง แต่มีประจําเดือน เกิดจากอะไร:  

อาการที่ผู้หญิงมีอาการคล้ายคนท้อง แต่มีประจำเดือนด้วย อาจเกิดขึ้นกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ได้ เพราะว่าในช่วงที่มีการฝังตัวในมดลูกจะทำให้มีเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนหรือที่คนสมัยก่อนเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ในคนท้องบางรายเลือดที่ไหลออกมาอาจเป็นประจำเดือนจริง ๆ ได้ แต่มีจำนวนแค่กะปริดกะปรอยเพราะความเครียดของคุณแม่

 

ตรวจครรภ์หลังมีอะไรกับแฟน 1 อาทิตย์ มีโอกาสตรวจเจอไหม: 

การตรวจครรภ์เป็นการตรวจหาฮอร์โมน HCG ในปัสสาวะ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน หากคุณต้องการตรวจครรภ์สามารถทำได้แต่โอกาสที่ตรวจแล้วเจอผลเป็นลบหรือไม่พบการตั้งครรภ์มีสูง ดังนั้นเพื่อความแม่นยำแนะนำให้คุณตรวจครรภ์ในช่วงที่ประจำเดือนขาดไปแล้วระยะเวลา 10-14 วันจะดีที่สุด

 

อ้างอิง:

  • อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  • Your first trimester guide, unicef
  • พุงคนท้องระยะแรก มีลักษณะอย่างไร, Hellokhunmor
  • 4 วิธีตรวจการตั้งครรภ์ ที่ผู้หญิงควรรู้, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  • อาการคนท้องไม่รู้ตัว เกิดจากอะไร และวิธีดูแลตัวเองเมื่อรู้ว่าท้อง, Hellokhunmor
  • สุขใจ ได้เป็นแม่, กรมอนามัย
  • แบบนี้สิท้องแล้ว, โรงพยาบาลสมิติเวช
  • ท้องลม ท้องหลอก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ตั้งครรภ์แน่ๆ หรือแค่จะมีประจำเดือน, โรงพยาบาลสมิติเวช
  • ผลจากที่ตรวจครรภ์...แม่นยำแค่ไหนกันนะ? โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2566

 

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง