ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหนเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้คนอยากมีลูก

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เม.ย. 7, 2024
7นาที

หลายคนที่อยากมีลูก อาจเข้าใจว่าความถี่ของ “กิจกรรมบนเตียง” หรือ “ความสมบูรณ์ทางกาย” จะเป็นตัวกำหนดหลักในการที่คู่รักฝ่ายหญิงจะตั้งครรภ์โดยเร็ว แต่จริง ๆ แล้วร่างกายของผู้หญิงมีกลไกที่เรียกว่ารอบเดือน สัมพันธ์กับ “เวลาที่เหมาะสม” อันถือเป็นปัจจัยหลักร่วมกัน ที่จะทำให้การตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติสำเร็จได้ง่าย

 

สรุป

  • ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ คือเลือกมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตก หากรอบเดือนมาสม่ำเสมอปกติ วันที่ไข่ตกในรอบเดือนนั้น จะเกิดการตกไข่ 14 วัน ก่อนที่มีประจำเดือน
  • ช่วง 2-3 วันก่อนไข่ตก เหมาะทำกิจกรรมบนเตียง เพราะจะทำให้อสุจิไปรอไข่ตกและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์
  • การตรวจหาไข่ตก สามารถทำได้ทั้งการบันทึกรอบเดือนและระบุหาวันที่ 14 ก่อนการมีประจำเดือนครั้งต่อไป การติดตามอุณหภูมิร่างกาย การทดสอบน้ำลาย การสังเกตตกขาว และวิธีที่น่าใช้และดูมีความน่าเชื่อถือที่สุด คือตรวจวัดระดับฮอร์โมนด้วยชุดทดสอบการตกไข่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำไมคนอยากมีลูก ต้องเข้าใจการตกไข่

ถ้าคุณกำลังวางแผนครอบครัวอยู่ ในการเพิ่มสมาชิกครอบครัวต้องพึ่งความขยันในการ “ทำกิจกรรมบนเตียง” และ “เลือกเวลาให้ถูก” ด้วย ถ้าหากขาดปัจจัยหนึ่งไปแล้วก็ยากที่จะสมหวังได้ การเลือกเวลาให้ถูกนั้นพึ่งพาความเข้าใจในการตกไข่ซึ่งเป็นจังหวะชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นกลไกธรรมชาติ

  • ไข่ที่ว่าอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
  • ปกติในหนึ่งรอบเดือนจะมีไข่ตกเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น
  • การตกไข่ เป็นกลไกในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง เวลารอบการตกไข่ประมาณ 28-35 วัน
  • ไข่แต่ละใบจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ในแต่ละเดือน
  • ถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ หลังจากนั้น 14 วัน จะกลายเป็นประจำเดือน

 

การตกไข่ของผู้หญิงคืออะไร

  • การตกไข่ เป็นสภาวะที่ไข่ซึ่งเจริญเต็มที่แล้วเคลื่อนออกจากรังไข่ เกิดร่วมกับการมีรอบประจำเดือนตามปกติ และเป็นกลไกของร่างกายผู้หญิงที่มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์
  • ไข่เคลื่อนออกมา อาจมีการปฏิสนธิ ของอสุจิหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีการปฏิสนธิ ไข่จะเดินทางไปยังมดลูกและฝังตัวกับเยื่อบุมดลูกเพื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อน แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ ไข่ก็จะสลายตัว และเยื่อบุมดลูกจะหลุดออกในระหว่างมีประจำเดือน
  • การตกไข่โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงกลางรอบประจำเดือน โดยวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตของไข่ หากคาดการณ์ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมบนเตียงไว้ก่อน เป็นไปได้ว่าจะมีอสุจิรออยู่ในท่อนำไข่ และพร้อมที่จะปฏิสนธิกับไข่ที่ถูกปล่อยออกมา

 

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน มีโอกาสทำลูกมากแค่ไหน

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน เท่ากับจำนวนวันที่ไข่มีชีวิตอยู่ นั่นคือประมาณ 12-24 ชั่วโมง โอกาสมีลูก จากการศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 ในผู้หญิงสุขภาพดี 221 คน มีการตั้งครรภ์สำเร็จที่ 192 คน นักวิจัยสรุปไว้ว่าเมื่อเปรียบเทียบวันที่มีเพศสัมพันธ์กับวันที่ไข่ตก พบว่ามีความสัมพันธ์กันดังผลต่อไปนี้

  • 5 วันก่อนไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 10 เปอร์เซ็นต์
  • 4 วันก่อนไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 16 เปอร์เซ็นต์
  • 3 วันก่อนไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 14 เปอร์เซ็นต์
  • 2 วันก่อนไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 27 เปอร์เซ็นต์
  • 1 วันก่อนไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 31 เปอร์เซ็นต์
  • วันไข่ตก มีโอกาสสำเร็จ 33 เปอร์เซ็นต์

 

ผลการทดลองมีปัจจัยที่ไม่ได้ศึกษาถึง ที่อาจปรับเปลี่ยนตัวเลขโอกาสที่คู่รักหลายคู่ตั้งความหวังไว้ เช่น

  • อายุ อายุที่มากขึ้นหรือน้อยลงอาจทำให้ตัวเลขที่มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จปรับเปลี่ยนไป
  • ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับจำนวนอสุจิที่อาจไปเพิ่มโอกาสในการผสมกับไข่
  • รอบเดือน ซึ่งน่าสงสัยว่าอาจจะไม่สม่ำเสมอจนนับวันไข่ตกคลาดเคลื่อน และทำให้ตัวเลขโอกาสความสำเร็จเปลี่ยนไป

 

วิธีนับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

การตกไข่มักเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน ก่อนที่คุณผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งต่อไป ถ้ารอบเดือนวนเวียนเป็นอยู่ทุก 28 วัน ลองดูตัวอย่างวิธีนับวันตกไข่และนำไปประยุกต์ใช้ ดังนี้

  • วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย นับเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน
  • สภาวะตกไข่ หรือไข่ตก จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11-21 ของรอบเดือน การตกไข่ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นวันเดียวกันของทุกเดือนเสมอไป อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน คลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อย
  • ช่วงที่คู่รักหลายคู่รอคอย จะเรียกว่าช่วงไข่สุก (fertile window) เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูง ครอบคลุมช่วงเวลาที่มีการตกไข่ 2-3 วัน การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ อสุจิจะรอผสมกับไข่ หรือได้ผสมกับไข่ และทำให้เกิดการตั้งครรภ์

 

วิธีนับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

 

การนับวันตกไข่ ใช้ไม่ได้กับผู้หญิงทุกคน

  • ถ้าการตกไข่เป็นกลไกตามธรรมชาติแล้ว ก็มีบางกรณีที่คุณผู้หญิงมีกลไกที่ผิดปกติไป
  • ความผิดปกติในการตกไข่แบ่งกว้าง ๆ ออกเป็นสองกลุ่ม คือ ไม่มีการตกไข่เลย กับมีการตกไข่ไม่บ่อยหรือไม่สม่ำเสมอ การมีไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่สามารถนับวันตกไข่ได้
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome-PCOS) เป็นภาวะซึ่งพบได้บ่อย อาการคือไข่มีการพัฒนาอย่างจำกัด และมีฮอร์โมนในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ร่วม คือ ซีสต์ขนาดเล็กในรังไข่ โรคอ้วน และมีหนวดเคราไม่พึงประสงค์ ถ้าพบความผิดปกติที่เข้าข่าย ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาให้โอกาสในการตั้งครรภ์ใกล้เคียงกับผู้หญิงที่มีการตกไข่เป็นประจำ

 

เมื่อไข่ตกแล้ว ต้องมีเพศสัมพันธ์กี่วันถึงจะท้อง

  • ถ้าจะเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ คู่รักควรกำหนดเวลาสำหรับกิจกรรมบนเตียงในช่วง 2-3 วันก่อนวันตกไข่ ถ้าถามว่าต้องมีเพศสัมพันธ์กี่วันถึงจะท้อง การมีมากครั้งอาจเพิ่มปริมาณอสุจิและเพิ่มโอกาสในการผสมกับไข่
  • มีเพศสัมพันธ์วันใดวันหนึ่งในช่วงไข่สุกนี้จะช่วยให้มีโอกาส 20-30 เปอร์เซ็นต์ ที่คุณผู้หญิงจะตั้งครรภ์
  • นอกจากความถี่ของกิจกรรมบนเตียงแล้ว จะต้องดูแลร่างกายด้วย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับปานกลาง หลีกเลี่ยงความเครียด รวมถึงควรประเมินสุขภาพโดยรับการตรวจสุขภาพด้วยในการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างครอบครัว

 

ตรวจการตกไข่ด้วยตัวเอง ทำได้หลายแบบ

  1. ปฏิทินติดตามการตกไข่ ถ้ารอบเดือนนับได้เท่ากันในแต่ละเดือน วันตกไข่จะอยู่ที่ 14 วันก่อนมีประจำเดือน ในคนที่รอบเดือนไม่ได้มาทุก 28 วัน เช่น มีรอบเดือน 35 วัน ถ้านับ 14 วันก่อนมีประจำเดือนอีกครั้งแสดงว่าวันตกไข่จะอยู่ประมาณวันที่ 21 วิธีนี้เหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาปกติ สม่ำเสมอ จะตรวจสอบและกำหนดขอบเขตวันตกไข่ได้ด้วยตนเอง
  2. แผนภูมิอุณหภูมิร่างกาย หากวัดอุณหภูมิในตอนเช้า ก่อนจะลุกจากเตียงได้ยิ่งดี แล้วพบว่ามีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าร่างกายน่าจะเข้าสู่ช่วงไข่ตก แผนภูมิที่บันทึกจะช่วยให้มั่นใจ
  3. ชุดทดสอบการตกไข่ เป็นชุดทดสอบปัสสาวะ หาระดับฮอร์โมนลูทีไนซ์ซิง (LH) ถ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่าคุณผู้หญิงจะมีไข่ตกภายใน 12 ถึง 36 ชั่วโมง ส่วนใหญ่แล้วต้องทำการทดสอบติดต่อกันหลายวันเพื่อตรวจจับได้อย่างแม่นยำ ตัวเลือกที่ใช้ทดแทนกันได้แต่มีราคาสูงกว่า ขณะเดียวกันก็ตรวจสอบได้แม่นยำกว่าคือเครื่องตรวจภาวะเจริญพันธุ์แบบดิจิทัล จะทำงานคล้ายกับชุดทำนายการตกไข่
  4. การทดสอบน้ำลาย ถ้าตรวจหาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในน้ำลาย พบว่าจะมีการก่อตัวของผลึกระหว่างการตกไข่
  5. การติดตามการเปลี่ยนแปลงของตกขาว วิธีนี้ไม่เหมาะกับทุกคน แต่พบว่ามีการใช้กัน ในช่วงตกไข่ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวจะเริ่มบางและใส มีลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ นี่ก็เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของอวัยวะเพศผู้หญิง เหมาะสมสำหรับให้สเปิร์มเคลื่อนที่ไปผสมกับไข่

 

การวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักที่อยากมีลูกไว้ชื่นชม ความเข้าใจเรื่องไข่ตกจะช่วยให้ตั้งความหวังไว้และมีกำลังใจตั้งต้นในความคิดสร้างครอบครัว เมื่อได้มาเรียนรู้หลักการและการนับวันไปแล้ว เชื่อว่าไม่ยากที่หลายคนจะลองนำไปปฏิบัติจริงเลย แต่หากมีความไม่แน่ใจ หรืออยากใช้วิธีที่สะดวกสบาย ความรู้ต่าง ๆ ที่นำเสนอไปนี้ก็คงเป็นแรงบันดาลใจเพื่อให้คุณผู้หญิงหาชุดทดสอบการตกไข่มาใช้ เมื่อกิจกรรมสร้างสุขเกิดขึ้นถูกเวลาจะสร้างครอบครัวที่พร้อมหน้าในอนาคตได้โดยเร็ว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์


 

อ้างอิง:

  1. อยากมีลูก... นับวันไข่ตกอย่างไรดี?, โรงพยาบาลพญาไท
  2. What Is Ovulation? What to Know About Your Menstrual Cycle, Healthline
  3. How long after ovulation can someone get pregnant?, Medical News Today
  4. What days can you get pregnant?, Medical News Today
  5. Not Ovulating? Dr. Hutchinson Explains When it's Time to Seek Help, Shady Grove Fertility
  6. How to Track Ovulation When Trying to Conceive, Verywell Family
  7. นับวันตกไข่ให้เป๊ะ! ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  8. นับวันตกไข่ นับอย่างไรกันแน่, โรงพยาบาลวิภาวดี

อ้างอิง ณ วันที่ 26 มีนาคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก
บทความ
การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร การปฎิสนธิเป็นกระบวนการสำคัญในการตั้งครรภ์ การปฎิสนธิกับการนับวันไข่ตกเกี่ยวข้องกันอย่างไร ไปดูวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งท้องกัน

8นาที อ่าน

View details มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า
บทความ
มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

เมนส์มาน้อยท้องไหม ประจำเดือนมาวันเดียวแล้วหายไป แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าแบบนี้คือตั้งครรภ์หรือแค่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไปหาคำตอบกัน

9นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ
บทความ
อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

7นาที อ่าน

View details ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม
บทความ
ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร มีเลือดออกสีน้ำตาลและสีแดงสด อันตรายกับแม่แค่ไหน

5นาที อ่าน

View details คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
บทความ
คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

5นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
บทความ
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้กัน

10นาที อ่าน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

6นาที อ่าน

View details ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม
บทความ
ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นอย่างไร ท้องนอกมดลูก ตรวจเจอกี่สัปดาห์ คุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์เลยไหม ไปดูปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ท้องนอกมดลูกกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

7นาที อ่าน

View details อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม
บทความ
อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร

9นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี
บทความ
คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

5นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย
บทความ
อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่มือใหม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง
บทความ
โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร โครโมโซม มีกี่คู่ ทำความรู้จัก โครโมโซม และวิธีการตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่อเช็กความผิดปกติของทารก พร้อมวิธีตรวจคัดกรองโครโมโซมอย่างละเอียด

9นาที อ่าน