ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

22.02.2024

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น การใส่ใจดูแลตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน และในระหว่างนี้ คุณแม่บางคนอาจพบเจอกับอาการผิดปกติที่น่ากังวลเช่น อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้หลายคนตกใจ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น การตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกแต่ไม่ปวดท้อง ว่าคืออะไร

headphones

PLAYING: ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อาจเป็นได้ทั้งไม่ได้มีอันตรายใด ๆ เป็นพิเศษ หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะผิดปกติร้ายแรงระหว่างตั้งครรภ์เช่นภาวะรกเกาะต่ำ หรือภาวะแท้งคุกคามได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
  • ภาวะเลือดออกขณะตั้งครรภ์เป็นอาการผิดปกติที่สามารถพบได้ทั้งในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ และครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ และมีสาเหตุในการเกิดที่หลากหลาย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้น เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ใน 2 ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ด้วยกัน ช่วงแรกนั้นมักจะพบในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ หรือก็คือช่วงท้องอ่อน ๆ ที่อายุครรภ์ยังไม่เกิน 20 สัปดาห์ และอีกช่วงนั้นคือช่วงหลังของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการผิดปกติที่คุณแม่หลายคนเจอและกังวลคือ มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ไม่มีอาการปวดท้อง ซึ่งถึงแม้จะไม่ปวดท้อง แต่การมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์นั้น ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจมีอันตรายได้ หรืออาจไม่ได้เป็นอันตรายก็เป็นได้เช่นกัน คุณแม่ควรพบแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านสูตินรีเวชเพื่อทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุ และทำการรักษาอย่างเหมาะสม

 

มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง

โดยปกติแล้วหากมีอาการผิดปกติ มีมูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด นั่นคืออาการที่แสดงว่า ปากมดลูกของคุณแม่อาจจะเริ่มเปิดออกแล้ว และอาจมีการฉีกขาดของเยื่อบุ รวมถึงหลอดเลือดฝอยในบริเวณใกล้เคียงนั้น ทำให้มีมูกเลือดไหลปนออกมาจากช่องคลอด และอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้คลอด แล้ว อาจมีการคลอดภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงต่อไปนี้ แต่ไม่เสมอไป เพราะในคุณแม่บางราย การคลอดก็อาจจะมาล่าช้าไปอีกได้นานหลายวัน

 

ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

 

ตั้งครรภ์ มีเลือดออก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

สาเหตุของการมีเลือดออกจากช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์นั้น เป็นไปได้จากหลากหลายสาเหตุมาก เช่น

  • การติดเชื้อในช่องคลอด
  • ภาวะรกเกาะต่ำ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • การฉีกขาดของหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มรก
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ภาวะแท้งคุกคาม
  • การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน

 

เพื่อให้แน่ชัดถึงสาเหตุของอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ เมื่อพบความผิดปกติใด ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

 

เลือดออกในช่วงต้นของการตั้งครรภ์

ภาวะเลือดออกในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ มีความเป็นไปได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น

  1. การฝังตัวอ่อน การมีเลือดออกจากช่องคลอดเนื่องจากการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าเยื่อบุผนังชั้นในของมดลูก เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ และโดยปกตินั้นมักไม่ได้แสดงถึงสัญญาณอันตรายใด ๆ โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเวลา 10-14 วันแรกของการตั้งครรภ์
  2. การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ อาการนี้จะพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยอาการผิดปกติจากสาเหตุนี้ โดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีความอันตรายที่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด ยกเว้นว่า ถ้ามีเลือดไหลออกมากผิดปกติ คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
  3. การแท้งบุตร อาการผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยอาการมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้น ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจหมายถึงการแท้งบุตรได้
  4. การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการผิดปกติมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ โดยอาการนี้คือภาวะที่ตัวอ่อนไปทำการฝังตัวในบริเวณที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนนั้นไม่สามารถเติบโตเป็นทารก และมีเลือดออกได้

 

เลือดออกตอนท้องอ่อน ๆ เลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์

 

เลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์

อย่างที่กล่าวในข้างต้น อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์เช่นกัน โดยสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการผิดปกตินั้น มีได้หลากหลาย เช่น

  1. การติดเชื้อในช่องคลอด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดได้จากการอักเสบ
  2. ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นอาการผิดปกติ ที่อันตราย โดยอาการที่พบได้คือมีเลือดสีแดงสดไหลออกมา โดยอาจไม่มีความเจ็บปวด ซึ่งหากคุณแม่เสียเลือดมากก็จะเป็นอันตรายได้
  3. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นอาการอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตมารดา และรกในครรภ์ได้ เป็นภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  4. การคลอดก่อนกำหนด หมายถึงภาวะผิดปกติที่ทารกคลอดออกมาก่อนหรือที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย และมีความเสี่ยงว่าทารกที่เกิดมาจะเจ็บป่วย เกิดโรค รวมถึงอาจเสียชีวิตได้
  5. ปากมดลูกหลวม หมายถึงภาวะที่ปากมดลูกเปิดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ อาจมีเลือดออกมาแบบกะปริดกะปรอยคล้ายประจำเดือน เป็นระยะเวลานานหลายวัน หรืออาจนานถึงหลายสัปดาห์ หากมีอาการผิดปกตินี้ ปากมดลูกจะเปิดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนดได้

 

ตั้งครรภ์มีเลือดออกสีอะไร

อีกหนึ่งเรื่องที่ว่าที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อมีอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ นั่นก็คือ การดูว่าสีของเลือดที่ไหลออกมานั้นสีอะไร เช่น

  1. ตั้งครรภ์ มีเลือดออกสีน้ำตาล เลือดออกเป็นสีน้ำตาลนั้น อาจไม่ได้แสดงถึงอาการผิดปกติใด ๆ อาจเป็นเลือดเก่าที่คั่งค้างอยู่หลุดออกมา มักถูกพบหลังจากการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ หรือการตรวจปากมดลูก แต่หากพบในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรก ก็อาจเป็นสัญญาณของเรื่องอันตรายได้ เช่น การแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  2. ตั้งครรภ์มีเลือดออกสีแดงสด ถือเป็นสัญญาณเตือนที่อันตราย เพราะด้านในของมดลูกนั้นอาจเกิดความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งอาจนำมาซึ่งภาวะความผิดปกติร้ายแรง เช่น ภาวะแท้ง ก็เป็นได้

 

ตั้งครรภ์ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย คุณแม่ควรรับมืออย่างไร

อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยนั้น เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนท้องทุกคน โดยมีสาเหตุในการเกิดที่หลากหลาย เช่น อาจเกิดจากการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ซึ่งเมื่อเกิดอาการดังกล่าวแล้ว คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างเหมาะสม ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายต่อทั้งตัวเองและลูกในครรภ์

 

คุณแม่จะเห็นได้ว่า อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์นั้น มีสาเหตุของอาการที่หลากหลาย แตกต่างกันไป สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรย้ำกับตัวเองเสมอคือ อย่าตื่นตระหนก รับมืออย่างมีสติ แล้วควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หาสาเหตุที่ถูกต้อง แล้วรีบทำการรักษา เพราะอาการผิดปกตินี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ที่มาของเลือดออกทางช่องคลอดของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  2. อาการเมื่อคุณแม่ใกล้คลอด, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. Bleeding During Pregnancy, WebMD
  4. Bleeding in pregnancy, Tommy’s
  5. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลนครธน
  6. ภาวะรกเกาะต่ำในคุณแม่ตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหนนะ?, โรงพยาบาลพญาไท
  7. Pregnancy week by week, Mayo Clinic
  8. Is Bleeding After Sex while Pregnant cause for concern, healthline
  9. คุณแม่ควรระวัง การตั้งครรภ์นอกมดลูก, โรงพยาบาลพญาไท
  10. คลอดก่อนกำหนด, โรงพยาบาลเปาโล
  11. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด Placental Abruption, โรงพยาบาลสมิติเวช
  12. หัตถการเย็บผูกปากมดลูก, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  13. Brown spotting during pregnancy, babycenter
  14. ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม! ถ้าเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด, โรงพยาบาลเวชธานี
  15. เลือดออกในช่องคลอด หนึ่งในสัญญาณอันตรายขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  16. ปากมดลูกหลวม สาเหตุ อาการ และการรักษา, helloคุณหมอ

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก