คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

19.02.2024

เรื่องราวของคุณแม่ท้อง 6 เดือนหรือตั้งครรภ์ 24-27 สัปดาห์ เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะกำลังจะเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 และเป็นอีกช่วงที่สำคัญเพราะลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มมีพัฒนาการทางการได้ยิน เจ้าตัวเล็กจะได้ยินเสียงของคุณแม่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องที่ต้องน่าระวังเพราะคุณแม่จะเริ่มกินได้มากขึ้นเพราะอาการแพ้ท้องนั้นน้อยลงแล้ว ทำให้เป็นอีกช่วงเดือนที่สำคัญมากทีเดียว

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 6 เดือนคือช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 เป็นสำคัญเพราะลูกน้อยในครรภ์จะสร้างอวัยวะภายใน ระบบต่าง ๆให้สมบูรณ์ เริ่มมีพัฒนาการทางการได้ยิน เจ้าตัวเล็กจะได้ยินเสียงของคุณแม่
  • ลูกจะมีความยาวประมาณ 30 -35 เซนติเมตรและน้ำหนักประมาณ 600 กรัม คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นมากขึ้น เพราะมีการขยับตัวมากขึ้น จากการได้ยินเสียงหัวใจของแม่และเสียงรอบข้าง
  • แม่ท้อง 6 เดือนจะทานได้เยอะขึ้น เพราะอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มน้อยลง แต่ก็ไม่ควรตามใจปาก ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบหมู่ และพลังงานเพียงพอเพื่อให้ลูกในท้องมีน้ำหนักที่พอดี รวมถึงออกกำลังกายเบา ๆ บ้าง น้ำหนักควรค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1-1.5 กิโลกรัม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อายุครรภ์ 6 เดือนคือช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงที่มีความสำคัญไม่แพ้การตั้งครรภ์ช่วงเดือนอื่น ๆ เราจึงรวบรวมเคล็ดลับในการดูแลตัวเองของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 6 เดือน มาไว้ในบทความนี้แล้ว รวมถึงข้อสงสัยต่าง ๆ ที่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ ให้ได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เพื่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยที่จะมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วยกัน

 

อายุครรภ์ 6 เดือน ขนาดท้องจะใหญ่แค่ไหนกันนะ?

คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนหรือ ท้อง 26 สัปดาห์ จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรูปร่างของคุณแม่ก่อนจะตั้งครรภ์และปัจจัยของลูกในท้องด้วย เช่น ถ้าท้องแฝด ก็จะมีขนาดครรภ์ใหญ่กว่าปกติ หรือในคุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก ผอมบาง ชั้นใขมันหน้าท้องน้อยอยู่แล้ว ก็จะมีขนาดท้องที่ไม่ใหญ่มากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นอย่ากังวลใจไป ส่วนขนาดของเจ้าตัวเล็กในท้องนั้นจะมีความยาวประมาณ 30-35 ซม. น้ำหนักทารกในครรภ์ 6 เดือน จะประมาณ 600 กรัม

 

ท้อง 6 เดือน ลูกจะดิ้นบ่อยมาก เพราะอะไร จะเป็นปัญหาไหม?

เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยของเมื่อคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน ช่วงนี้เจ้าตัวเล็กจะมีการขยับตัวมากขึ้น จนทำให้สามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้น หรือคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นมากขึ้นนั่นเอง โดยส่วนใหญ่ลูกดิ้นมากนั้น จะไม่ถือว่าผิดปกติ เพราะลูกจะมีช่วงตื่นและช่วงหลับเช่นเดียวกับเรา ในช่วงที่ตื่นก็อาจจะรู้สึกว่าดิ้นมาก ซึ่งจะไม่เป็นอันตราย อันนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป

 

แต่หากคุณแม่กังวล ให้ลองนับจำนวนการดิ้นของลูกที่รู้สึกได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง ต่อเวลา 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน และถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้งอีกก็ควรปรึกษาแพทย์

 

อายุครรภ์ 6 เดือน พัฒนาการของลูกน้อยเป็นอย่างไรบ้าง?

มาดูเจ้าตัวเล็กกันดีกว่า ช่วงที่คุณแม่ท้อง 6 เดือนนี้ ลูกจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรและน้ำหนักประมาณ 600 กรัม ปอดเริ่มทำงาน เปลือกตาเริ่มเปิดได้ มีลายนิ้วมือนิ้วเท้า คุณแม่ท้อง 6 เดือนนี้ ลูกจะโตช้ากว่าในช่วงไตรมาสแรกเพื่อให้อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนามากขึ้น ภาพอัลตราซาวด์ลูกอาจจะดูผอมเพราะมีไขมันใต้ผิวหนังไม่มาก ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่ และเสียงอื่น ๆ รอบข้าง และอาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทำของแม่ด้วย

 

คุณแม่รู้ไหม? ลูกน้อย อายุครรภ์ 6 เดือน สามารถได้ยินเสียงแล้วนะ

พัฒนาการที่สำคัญในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน คือ ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ เสียงอื่น ๆ รอบตัว เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงพูดคุยที่ดัง และอาจจะมีการตอบสนองต่อการกระทำของแม่ เช่น ถ้าคุณแม่อยู่ในที่เสียงดัง ลูกก็อาจจะดิ้นมากขึ้น เป็นช่วงเวลาทองคุณพ่อและคุณแม่จะเริ่มพูดคุยกับลูกในท้องได้

 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้เป็นบวก เพิ่มเสียงเพลงให้มากขึ้น หรือพูดเรื่องดี ๆให้กันบ่อยขึ้น เล่านิทาน ร้องเพลง ฟังเพลงที่ผ่อนคลาย หรือคุยกับลูกบ่อย ๆ ได้ในช่วงนี้ หลีกเลี่ยงการทะเลาะ ด่าทอ พูดจาร้าย ๆ ใส่กัน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดัง เพราะเสียงเหล่านั้นส่งผลถึงทั้งสภาพจิตใจของทั้งคุณแม่เอง และพัฒนาการของลูกน้อยด้วย อย่าลืมว่าลูกได้ยินสิ่งที่เราได้ยินเช่นกัน

 

เคล็ดลับการดูแลตัวเอง ที่คุณแม่ท้อง 6 เดือนต้องรู้

  1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นทานโปรตีน ผัก ผลไม้ กินผักผลไม้ที่มีใยอาหารมากขึ้น เลือกผักที่หลากหลาย ผลไม้รสไม่หวานจัด งดของหวาน และของที่มีไขมันสูง
  2. กินให้ช้าลง เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน และแบ่งทานหลายมื้อ เช่น อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และ อาหารว่าง 2 มื้อ ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง เพื่อป้องกันกรดไหลย้อน
  3. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก แต่ปรุงรสน้อย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม เพราะน้ำตาลสูง หากต้องการดื่มน้ำผลไม้ แนะนำเป็นผลไม้ที่คั้นเองเพื่อความสะอาดและลดความเสี่ยงสารเคมีปนเปื้อน
  5. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินเร็ว เล่นเวทเบา ๆ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ แต่ไม่ควรออกกำลังกายในท่านอนหงายเพราะอาจทำให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือด จนทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง อาจทำให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้องได้
  6. ควบคุมดูแลน้ำหนัก น้ำหนักที่เหมาะสมควรเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ไม่ควรเกินหนึ่งกิโลกรัม (วัดโดยให้ชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน) แต่ห้ามใช้วิธีการอดอาหาร หรือลดน้ำหนัก

 

โภชนาการที่ดีเพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน

ช่วงนี้คุณแม่ท้อง 6 เดือน จะทานได้เยอะขึ้น เพราะอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มน้อยลง แต่ก็ไม่ควรตามใจปาก หรือรับประทานเป็น 2 เท่าเผื่อลูกในท้อง แต่ควรเลือกอาหารจำพวกโปรตีน และรับประทานอาหารจำพวกแป้งและไขมันอย่างพอดี รวมทั้งต้องได้รับสารอาหารครบหมู่ และพลังงานเพียงพอเพื่อให้ลูกในท้องมีน้ำหนักที่พอดี มีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองสมบูรณ์แข็งแรง

 

ในช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือน ซึ่งอยู่ในไตรมาส 2 ลูกในท้องจะเข้าสู่ช่วงของการขยายขนาดอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาสมองมากกว่าไตรมาสแรกถึง 4 เท่า คุณแม่จึงต้องการสารอาหารมากกว่าเดิมถึง 300 แคลอรีต่อวัน พร้อมกับเน้นธาตุเหล็กเพื่อช่วยบำรุงเลือด เพื่อส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังลูกในท้อง และสารอาหารที่มีธาตุไอโอดีน ที่ช่วยลดความเสี่ยงความผิดปกติทางสมอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมเพิ่ม เลือกทานเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ กุ้ง หอย ปลา ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง ก็ได้รับไอโอดีนเช่นกัน

 

ช่วงนี้จำเป็นที่จะต้องคุมเรื่องของน้ำหนักด้วย โดยปกติในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน น้ำหนักควรค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1-1.5 กิโลกรัม รวมแล้วน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 อีก 4-5 กิโลกรัม

 

ช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน เป็นอีกช่วงหนึ่งที่สำคัญทั้งกับตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เป็นก้าวแรกที่เจ้าตัวเล็กเริ่มเข้าถึงโลกภายนอก นอกจากพัฒนาการทางร่างกายที่ในช่วงนี้จะสร้างอวัยวะภายในหลาย ๆ ส่วนให้สมบูรณ์แล้ว ยังเป็นอีกช่วงทองของพัฒนาการทางสมองและภาษาที่สร้างได้ตั้งแต่ในครรภ์อีกด้วย คุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้นทั้งทางด้านโภชนาการ ร่างกาย และจิตใจ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ไตรมาส 3 ที่เป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  2. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  5. เทคนิคการกินของคุณแม่ตั้งครรภ์...ที่จะได้สารอาหารให้ลูกน้อยเต็มๆ, โรงพยาบาลพญาไท
  6. การดูแลลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์, โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  7. คุณแม่ตั้งครรภ์คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี, โรงพยาบาลบางปะกอก
  8. กินอาหารอย่างไร...เมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน, โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  9. การออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์, โรงพญาบาลคามิลเลียน

อ้างอิง ณ วันที่ 5 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก