คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

17.02.2024

ช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นช่วงก้าวแรกของไตรมาสที่ 3 ซึ่งถือเป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยในช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกน้อยมีพัฒนาการที่น่าสนใจหลายด้าน รวมถึงการที่ลูกเริ่มเปลี่ยนท่าเป็นท่านำหัวลง เพื่อเตรียมสู่การคลอด นอกจากนี้คุณแม่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เนื่องจากลูกตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มดลูกเริ่มขยายไปบังอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ หรือแม้แต่กระบังลม ทำให้คุณแม่เริ่มอึดอัด  เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม ท้องอืด ปวดหลัง ปวดเอวและมีปัญหาปัสสาวะบ่อยได้ อาการที่สำคัญในช่วงนี้ที่คุณแม่อาจเผชิญได้ คืออาการท้องแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องสังเกตตัวเอง เพราะอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นช่วงก้าวแรกของไตรมาส 3 ซึ่งถือเป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ลูกจะเริ่มหมุนเปลี่ยนท่าให้อยู่ในลักษณะกลับหัวลงเพื่อเตรียมคลอด และสามารถตอบสนองต่อเสียงและแสงได้แล้วด้วย
  • คุณแม่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เนื่องจากลูกตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มดลูกเริ่มขยายไปบังอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะ ทำให้คุณแม่เริ่มอึดอัด เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม ท้องอืด ปวดหลัง ปวดเอวและมีปัญหาปัสสาวะบ่อยได้
  • เกิดอาการท้องแข็งได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นครั้งคราว นอกจากการบีบตัวของมดลูก บางครั้งอาจเกิดจากการทานอาหารอิ่มเกินไป
  • แต่หากเกิดอาการท้องแข็งผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การเปลี่ยนแปลงที่ต้องตั้งรับ สำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 7 เดือน

  1. ปัสสาวะบ่อยขึ้น เพราะทารกกินพื้นที่ในท้องและเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ
  2. เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม จากภาวะที่มดลูกโตขึ้น มาดันกระบังลมทำให้อึดอัดและหายใจได้สั้น ๆ เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
  3. นอนไม่ค่อยหลับ จากการที่ลูกในท้องจะตื่น และมดลูกจะบีบรัดตัว โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที
  4. ปวดเอว ลามไปถึงขา จากการที่น้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นและลูกในท้องก็เติบโตขึ้นเช่นกัน
  5. ปวดหลัง อาการปวดหลังของคนท้อง 7 เดือน เกิดจากลูกในท้องทารกมีการเจริญเติบโต มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตรงส่วนกลางของลำตัวเกิดการแยกตัว ทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา
  6. แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย การเจริญเติบโตของลูกในท้อง ทำให้มดลูกดันไปเบียดกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย

 

คุณแม่ท้อง 7 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโล

คุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน หรือ ท้อง 30 สัปดาห์ คุณแม่แต่ละคนมีน้ำหนักและส่วนสูงก่อนตั้งครรภ์ที่ต่างกัน ดังนั้น ถ้าคุณแม่อยากรู้ว่าน้ำหนักที่พอดีควรเป็นเท่าไร สามารถประเมินได้ด้วยตัวเอง โดยใช้สูตรคำนวณดัชนีมวลกายง่าย ๆ (BMI : Body Mass Index) คือ เอาน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง แล้วนำค่าดัชนีมวลกายที่ได้ มาเปรียบเทียบกับตาราง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

คุณแม่ท้อง 7 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโล

 

อายุครรภ์ 7 เดือน เจ้าตัวเล็กอยู่ในท่าไหนนะ?

ในช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มขยับตัว จะเริ่มหมุนเปลี่ยนท่าให้อยู่ในลักษณะกลับหัวลง โดยเข่าทั้ง 2 ข้างจะงอติดหน้าอก ปลายคางชิดหัวเข่า แขนและขาอยู่ในท่าไขว้กัน เป็นท่าคุดคู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดนั่นเอง

 

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน ผิดปกติ อันตรายหรือเปล่า?

อาการท้องแข็ง พบได้บ่อยครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) เพราะมดลูกจะเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปกติแล้วมดลูกจะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่ม ๆ เมื่อคลำดูก็จะสัมผัสได้ถึงการมีทารกดิ้นอยู่ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องแข็งหรือรู้สึกตึงหน้าท้องซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นครั้งคราว นอกจากการบีบตัวของมดลูก บางครั้งอาจเกิดจากการทานอาหารอิ่มเกินไป หรือเคี้ยวไม่ละเอียดจนอาหารไม่ย่อยทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ ซึ่งอาจทำให้มดลูกบีดรัดตัวเพราะถูกกระตุ้นจากการเบียดของกระเพาะอาหารได้

 

แต่หากเกิดอาการท้องแข็งผิดปกติ เช่น ท้องแข็งนานเป็น 10 นาทีจึงคลายลง และเป็นต่อเนื่อง 4-5 ครั้งเป็นชุด ๆ หรือหากท้องแข็งแล้วมีเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้

 

เจ้าตัวเล็กในท้อง 7 เดือน หนักเท่าไหร่แล้วนะ

คุณแม่ท้อง 7 เดือน เจ้าตัวเล็กทำน้ำหนักตัวประมาณ 1,700 กรัม มีความยาวประมาณ 28 เซนติเมตร สามารถตอบสนองต่อเสียงและแสงได้แล้วด้วย จึงเป็นอีกช่วงที่ลูกในท้องสามารถจำเสียงคุณพ่อคุณแม่ได้ ลองพูดคุย เล่านิทาน และลองออกไปเดินออกกำลังกายยามเช้า ให้ลูกได้สัมผัสกับแสงได้ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเขาตั้งแต่ในท้องด้วย

 

การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน

  1. ทำจิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลายด้วยการทำกิจกกรรมที่ชอบหรือ ฟังเพลงผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลต่อลูกในท้องด้วย
  2. นวดผ่อนคลายเบาๆ เลือกการนวดเบา ๆ ผ่อนคลายที่แขนขาหรือคอ บ่า ไหล่ ที่ไม่กระทบกระเทือนกับท้อง
  3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่สดใหม่ ปรุงรสน้อย แต่มีพลังงานเพียงพอ โดยช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 7-9 ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 470 กิโลแคลอรี
  4. หลีกเลี่ยงการออกไปเผชิญมลภาวะนอกบ้าน หรือพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อและมลภาวะ เช่น ฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้ได้คืนละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3

 

เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อย่างเต็มตัว เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องตั้งรับ การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายของคุณแม่เองและลูกน้อย อย่างไรก็ตามเราขอให้คุณแม่ทำใจให้สบาย และพุดคุยกับลูกน้อยให้มากขึ้น รวมถึงพยายามกินอาหารสำหรับคนท้องที่มีประโยชน์และนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการได้พักให้มาก จะช่วยให้ทั้งคุณแม่ได้ผ่อนคลาย และลูกน้อยได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะปัสสาวะบ่อย, MedPark Hospital
  2. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  3. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. ไม่ดีแน่… ถ้าปล่อยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสู้กับ “กรดไหลย้อน”, โรงพยาบาลเปาโล
  5. น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละไตรมาสควรเพิ่มเท่าไหร่, โรงพยาบาลนครธน
  6. ท้อง 7 เดือน กับการเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง, Pobpad
  7. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงอันตรายแค่ไหน, โรงพยาบาลพญาไท
  8. ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ > 28 สัปดาห์ ), โรงพยาบาลBNH
  9. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  10. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก