เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม
ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ประจำเดือนมาช้า 1 เดือน เรื่องเล็ก ๆ ของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม หากประจำเดือนที่เคยมาเป็นปกติ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงมาช้าลง หรือมาไม่ตรงเวลา อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ และฮอร์โมนของเราได้ ดังนั้นคุณผู้หญิงจึงต้องคอยนับ และจดจำวันที่ประจำเดือนมาทุกเดือน เพื่อคอยเช็ก ระมัดระวังปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา หากมีประจำเดือนล่าช้าเกิดขึ้น และมีปัญหา ทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกาย จะได้เตรียมความพร้อมรับมือกับโรคภัยได้ทันท่วงที
สรุป
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของร่างกายและฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนล่าช้าบ่อย ๆ อาจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพหรือโรคต่าง ๆ ฉะนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้ละเอียด และรับการรักษาที่ถูกวิธี
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น ออกกำลังกายหักโหม , เกิดจากความเครียด วิตกกังวล , อยู่ในวัยทอง , มีน้ำหนักตัวที่เพิ่ม หรือลด อย่างรวดเร็ว
- ดูแลตัวเอง เมื่อประจำเดือนมาล่าช้า เพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมนที่เกี่ยวกับประจำเดือน เช่น หลีกเลี่ยงความเครียด , ทานอาหารมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ , รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน , ออกกำลังกายเป็นประจำ และตรวจสุขภาพประจำปี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม?
- ลักษณะของประจำเดือนที่ไม่ปกติ
- ประจำเดือนมาช้าบ่อย ๆ อันตรายไหม
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน บ่งบอกปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
- ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ตรวจได้ตอนไหน?
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า มาไม่ปกติ ต้องดูแลตัวเองแบบไหน
ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม?
คุณผู้หญิงหลายท่าน อาจต้องพบกับภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หรือ ที่เรียกง่าย ๆ กันว่า ประจำเดือนไม่มา สาเหตุนั้นมาจากหลายปัจจัยในการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรา หรืออาจเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของร่างกายและฮอร์โมน ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ภาวะขาดประจำเดือนมี 2 แบบได้แก่
- ภาวะขาดประจำเดือนตั้งแต่ วัยแรกรุ่น (ปฐมภูมิ) คือ โดยทั่วไปเด็กหญิงจะมีประจำเดือนช่วงวัย 12 ปี แต่ภาวะขาดประจำเดือนนี้ อายุ 18 ปีแล้ว ยังไม่มีประจำเดือนเลย
- ภาวะขาดประจำเดือนที่ผู้หญิงเคยเป็นแล้ว แต่หายไป (ทุติยภูมิ) คือ เคยมีประจำเดือนแล้ว จู่ ๆ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาดไปหลายเดือน
ลักษณะของประจำเดือนที่ไม่ปกติ
- ประจำเดือนมานานเกิน 1 สัปดาห์
- ประจำเดือนแต่ละรอบ มีระยะห่างกันน้อยกว่า 3 สัปดาห์ หรือห่างกันมากเกิน 35 วัน
- ประจำเดือนที่เป็นในแต่ละวัน ต้องไม่เกิน 80 ซีซี
ประจำเดือนมาช้าบ่อย ๆ อันตรายไหม
ประจำเดือนล่าช้า อาจมาจากหลายสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ หรือโรคต่าง ๆ ฉะนั้นหากประจำเดือนมาช้า 1 เดือน หรือ ประจำเดือนมาช้าบ่อย ๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ อย่าให้ความผิดปกตินั้นเป็นเรื่องปกติ ควรเข้ารับการตรวจภายใน เช็กความปกติของรังไข่ และช่องคลอดกับสูตินารีแพทย์อย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง หากเกี่ยวเนื่องกับโรคต่าง ๆ จะได้รีบรักษาได้ทันท่วงที และไม่เกิดโรคร้ายตามมา
ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน บ่งบอกปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง
หมั่นสังเกตตัวเองให้ดี ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน อาจส่งสัญญาณบอกถึงปัญหาสุขภาพได้
- ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เจอบ่อยในผู้หญิงอายุ 18-45 ปี ทำให้ผู้หญิงมีรังไข่ที่เต็มไปด้วยถุงน้ำหลาย ๆ ใบที่เบียดกับรังไข่ ทำให้รังไข่ทำงานไม่ปกติ ทำให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนจึงมาไม่ตรงตามเวลานั่นเอง
- ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ภาวะนี้พบบ่อยได้ในผู้หญิงวัยกำลังเติบโต เมื่อระดับฮอร์โมนควบคุมไม่คงที่ ทำให้ไข่ของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ ไข่จึงไม่ตก ทำให้ประจำเดือนมาช้า มีเลือดออกกะปริดกะปรอย สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะอ้วน น้ำหนักน้อยไป ภาวะเครียด รังไข่หยุดทำงานก่อนวัย ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังนั้นทำให้มีลูกยาก และอาจเสี่ยงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ หรือเพิ่มความเสี่ยงกลายเป็นมะเร็งโพรงมดลูกได้ ดังนั้นเมื่อสังเกตรู้ว่ามีอาการเหล่านี้แล้ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยทันที
- รังไข่เสื่อม หรือ รังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด ภาวะรังไข่เสื่อม มักเจอในผู้หญิงช่วงก่อนอายุ 40 ปี เกิดจากการที่ไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้รังไข่หยุดทำงาน ไข่ไม่ตก หรือทำให้ไข่ไม่สมบูรณ์ ฮอร์โมนไม่คงที่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา มีลูกยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เหมือนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะขาดไทรอยด์ หรือ ต่อมไทรอยด์มีปัญหา ฮอร์โมนไทยรอยด์นั้น ทำหน้าที่ช่วยคุมรอบประจำเดือนของผู้หญิง หากต่อมไทรอยด์มีปัญหา หรือมีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาล่าช้าได้
ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
- ออกกำลังกายหักโหม ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่พอ หรือออกกำลังกายหนัก หักโหมมากเกินไป ร่างกายจะต้องการกักเก็บพลังงานไว้ ร่างกายนั้นจึงทำให้ประจำเดือนหายไปในเพียงชั่วคราว
- เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ความเครียด มีผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล เมื่อมีฮอร์โนคอร์ติซอลมากเกินไป จะทำให้ประจำเดือนมาเร็วหรือช้าลงได้
- เมื่ออยู่ในวัยทอง เมื่ออยู่ในช่วงวัย 45-55 ปี ฮอร์โมนเพศของผู้หญิงจะลดลง ทำให้ไม่ตกไข่ตามปกติ ประจำเดือนก็จะลดน้อย และหมดลงไปในที่สุด ในช่วงก่อนเข้าวัยทอง จึงทำให้ประจำเดือนของผู้หญิงนั้นมาเร็ว หรือช้ากว่าปกติ
- น้ำหนักตัวที่เพิ่ม หรือลด ระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลง เมื่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างเร็ว จะทำให้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนเลื่อนได้
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน อาจบ่งบอกสัญญาณการตั้งครรภ์ สัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ที่สังเกตได้ง่ายคือ การที่ประจำเดือนขาดหายไป ประจำเดือนที่เคยมาปกติสม่ำเสมอยังไม่มาตามกำหนด มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เจ็บเต้านม อาจเป็นไปได้ว่ามีโอกาสจะตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ได้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ควรตรวจการตั้งครรภ์หลังจากเลยกำหนดรอบประจำเดือนไปแล้ว 7 วัน และเพื่อให้ทราบผลการตรวจครรภ์อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ซ้ำอีกครั้งโดยแพทย์ที่โรงพยาบาล
ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ตรวจได้ตอนไหน?
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ทำการป้องกัน หากครบกำหนดที่ประจำเดือนมา หรือกำหนดประจำเดือนในเดือนนั้น ๆ ล่วงเลยผ่านไปนาน 7-14 วัน แล้วประจำเดือนยังไม่มา อีกทั้งสำรวจร่างกายตัวเองแล้วว่า มีสัญญาณผิดปกติของการตั้งท้องเกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าอาจกำลังตั้งท้อง ควรซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ
สำหรับการตรวจครรภ์ด้วยตัวเองก็ทำได้ไม่ยากเลย ชุดสำหรับตรวจครรภ์มีขายตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป เป็นการตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าฮอร์โมน HCG ซึ่งฮอร์โมน HCG นั้น เป็นฮอร์โมนที่เกิดจากตัวรกหลังการปฏิสนธิ ควรตรวจครรภ์ตามคำแนะนำข้างกล่องอย่างถูกวิธี ตรวจในวันที่เลยรอบประจำเดือนมาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ควรตรวจสัก 2 ครั้ง เว้นระยะห่าง 2-3 วัน เมื่อทราบผลว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด และฝากครรภ์
ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า มาไม่ปกติ ต้องดูแลตัวเองแบบไหน
1. หลีกเลี่ยงความเครียด
หาวิธีลด เลี่ยงความเครียดด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ เช่น ทำจิตใจให้สงบ นั่งสมาธิ ดูหนัง ฟังเพลง พักผ่อนให้เพียงพอ
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ระวังอย่านอนดึก หรือนอนน้อย ร่างกายควรนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ จะช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุล
3. รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน
น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป จะทำให้กระตุ้นฮอร์โมน และทำให้ทำงานผิดปกติ จึงทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือขาดประจำเดือนได้ ดังนั้นควรรักษาสมดุลของน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เพื่อช่วยปรับให้ฮอร์โมนเกี่ยวกับประจำเดือนคงที่ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ สารอาหารครบถ้วน เพื่อไม่ทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
5. หมั่นตรวจสุขภาพสม่ำเสมอทุกปี
การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้หญิง เพื่อคัดกรองโรคหรือทำให้ทราบว่าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้รู้ถึงสุขภาพของตนเองแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายและรักษาได้ทันท่วงที
6. ออกกำลังกายเป็นประจำ ออกกำลังกายแต่พอดี
ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือหักโหมเกินไป เพื่อทำให้ฮอร์โมนสมดุลคงที่ เพราะหากต้องใช้กำลังมาก ออกแรงเยอะ อาจทำให้ประจำเดือนไม่ปกติได้
สุขภาพภายในสำหรับผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรที่จะละเลย การมีประจำเดือนในแต่ละเดือนเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง แต่เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีผลเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ ไม่ควรที่จะรอช้า การปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างละเอียดจึงเป็นเรื่องที่ดี ที่จะดูแลสุขภาพตนเอง และป้องกันโรคร้ายสำหรับผู้หญิงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง
- ผ่าคลอด กี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด ถึงปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อยอันตรายไหม
- ออกกําลังกายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ทำไมประจำเดือนไม่มา รักษาอย่างไร, โรงพยาบาลเพชรเวช
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ บอกอะไร, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- รอบเดือนแบบนี้ ปกติดีหรือเปล่า?, โรงพยาบาลพญาไท
- ประจำเดือน เรื่องใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน , โรงพยาบาลพญาไท
- รู้เท่าทันภาวะรังไข่เสื่อม วางแผนก่อนมีครอบครัว, โรงพยาบาลนครธน
- ประจำเดือนมาช้า เกิดจากอะไร, pobpad
- เมนไม่มากี่วันถึงท้อง และสัญญาณคนท้องมีอะไรบ้าง, Hellokhunmor
- ท้องไม่ท้อง รู้ให้แน่ ด้วยการตรวจครรภ์หาค่าเอชซีจี (hCG), โรงพยาบาลนครธน
- ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
- คุณผู้หญิงเช็คด่วน!! ประจำเดือนมาไม่ปกติ...ไม่ใช่เรื่องปกตินะ, โรงพยาบาลพญาไท
- ประจำเดือนไม่มา..ปัญหาสุขภาพที่มากกว่า, โรงพยาบาลสินแพทย์
- ประจำเดือนเลื่อน เกิดจากอะไร มาช้าหรือเร็วแค่ไหนคือผิดปกติ, Hellokhunmor
- ประจำเดือนคืออะไร สำคัญอย่างไร และการดูแลตัวเองเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ, Hellokhunmor
- จริงหรือไม่? ยิ่งเครียด…นอนน้อย ยิ่งปวดประจำเดือน, โรงพยาบาลเปาโล
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน สาเหตุและข้อควรปฏิบัติ , Pobpad
อ้างอิง ณ วันที่ 14 มีนาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง