อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ในสัปดาห์นี้คุณแม่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายเรื่องเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก มีตกขาว ขาเป็นตะคริว ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติขณะตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นอาการที่สร้างความไม่สบายตัวให้กับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์อย่างมาก และเพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง ลูกน้อยมีพัฒนาการสมบูรณ์ มีเคล็ดลับอย่างง่ายในการดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 600-750 กรัม
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ มีการพัฒนาขึ้นของลายนิ้วมือ และลายนิ้วเท้า
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่คล้ำขึ้น ได้แก่ ผิวใบหน้า ผิวคอ ผิวใต้รักแร้ และมีเส้นดำที่หน้าท้องปรากฏขึ้น
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกในครรภ์เริ่มที่จะจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ตอนนี้คุณแม่อุ้มท้องมาได้อายุครรภ์ 26 สัปดาห์แล้ว ยังอยู่ในสัปดาห์การตั้งครรภ์เดือนที่ 6 สำหรับช่วงสัปดาห์นี้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • มีการพัฒนาขึ้นของขนตาและขนคิ้ว
  • จอประสาทตาของดวงตาซ้าย ขวา พัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์
  • ระบบประสาทและสมองพัฒนาขึ้น จนเริ่มจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว
  • ร่างกายเริ่มมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกครรภ์ เช่น เสียง แสงไฟ
  • หนังศีรษะมีการพัฒนาการขึ้นของเส้นผมที่ยาวและหนา
  • เริ่มเรียนรู้การตื่นนอนและนอนหลับเป็นเวลา
  • เริ่มมีการสร้างไขมันสะสมไว้ใต้ผิวหนัง
  • เริ่มมีการฝึกการหายใจเข้า หายใจออก
  • เริ่มมีการทำงานขึ้นของปอด
  • นิ้วมือและนิ้วเท้า มีการพัฒนาลายนิ้วมือให้ปรากฏขึ้นมา
  • เปลือกตาสำหรับดวงตาซ้าย ขวา เริ่มพัฒนาให้เปิดขึ้นได้

 

ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ ต้องพบแพทย์บ่อยแค่ไหน

ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน สูติแพทย์จะนัดคุณแม่เพื่อตรวจติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์  และสุขภาพคุณแม่เพื่อดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ การมาพบสูติแพทย์ตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอดประมาณ 10-12 ครั้ง สำหรับในช่วงอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงอายุครรภ์ที่ยังไม่เกิน 28 สัปดาห์ สูติแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพครรภ์ทุก 4 สัปดาห์ เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง

 

อาการคนท้อง 26 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

มาเช็กอาการที่เกิดขึ้นช่วงท้อง 26 สัปดาห์ของคุณแม่กันสักนิด เพื่อจะได้รู้เท่าทันอาการ และหากพบความผิดปกติ จะได้แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทราบค่ะ สำหรับอาการที่ถือเป็นปกติสามารถเกิดขึ้นได้ อาทิเช่น

  • ผิวคล้ำ คุณแม่จะพบว่าตัวเองในช่วงตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ผิวหน้า ผิวคอ ผิวใต้รักแร้ จะมีความคล้ำเข้มขึ้น และหากสังเกตดูดี ๆ จะเห็นว่าผิวบริเวณหน้าท้องตั้งแต่ช่วงสะดือเรื่อยลงไปจนตรงต้นหัวหน่าวจะมีเส้นดำ (Linea Nigra) ขึ้นมา ซึ่งผิวที่คล้ำเข้มมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้เม็ดสีผิวเข้มขึ้นได้ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะหลังคลอดจะค่อย ๆ หายไปจนเป็นสีผิวปกติ
  • ตกขาว อาการตกขาวระหว่างตั้งครรภ์  หากไม่มีกลิ่นเหม็น ตกขาวไม่เปลี่ยนสี ถือว่าตกขาวเป็นปกติ สำหรับตกขาวขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมน และปริมาณเลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงตรงช่องคลอดมากขึ้น จึงส่งผลทำให้คุณแม่มีตกขาวมากได้
  • ตะคริว คุณแม่เกิดอาการตะคริวขณะตั้งครรภ์ เป็นได้จากหลายสาเหตุ สำหรับที่พบในคนท้องมักมาจากการไหลเวียนของเลือดที่ยากขึ้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงช่วงน่องขาได้น้อยลง จนทำให้เกิดเป็นตะคริว รวมถึงการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอขณะตั้งครรภ์ก็เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน
  • ท้องผูก ขนาดตัวของทารกที่พัฒนาใหญ่ขึ้น ทำให้ไปกดทับลำไส้ใหญ่จนไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบขับถ่ายไม่ปกติ คุณแม่จึงมีอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

 

คุณแม่สามารถป้องกันการเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่น
  • ก่อนนอนให้ยืดกล้ามเนื้อขา
  • เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้สะดวกขึ้น แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงซ้าย

 

คุณแม่ป้องกันการเกิดท้องผูก หรือบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้ง่าย ๆ

  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ และผลไม้
  • ดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น
  • ออกกำลังกายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีมากขึ้น เช่น เดินช้า ๆ ว่ายน้ำ (ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่)

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

คุณแม่จะลุกนั่ง ลุกนอนทำได้ไม่ค่อยสะดวกเหมือนช่วงเดือนที่ผ่าน ๆ มาแล้ว ขนาดครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงความอุ้ยอ้ายของตัวเอง ซึ่งก็เป็นเพราะการหย่อนของเส้นเอ็นตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย แนะนำให้คุณแม่ลุกนั่ง ลุกนอน หรือเดินด้วยความระมัดระวัง และเพื่อความสบายตัวไม่อึดอัด แนะนำให้สวมใส่ชุดเสื้อผ้าสำหรับคนท้อง

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ลูกในท้องจะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 26 สัปดาห์มีขนาดใหญ่ขึ้น เปรียบเสมือนต้นหอมหนึ่งมัดเล็ก หรือประมาณ 30-35 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 600-750 กรัม

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 26 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียง
  • เริ่มเปิดเปลือกตาได้
  • มีลายปรากฏขึ้นที่นิ้วมือและนิ้วเท้า

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์

  1. ลุกขึ้นช้า ๆ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดระวัง
  2. ดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน  จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ป้องกันอาการท้องผูก
  4. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก จะช่วยให้สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงที่มีปริมาณมากจะยิ่งช่วยให้สามารถส่งต่อออกซิเจน แคลเซียมจากคุณแม่ไปให้ทารกในครรภ์ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. นอนตะแคงซ้าย จะช่วยลดการเกิดอาการปวดหลัง

 

เคล็ดลับช่วยให้ลูกในท้องมีพัฒนาการสมองการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แนะนำคุณพ่อคุณแม่คุยกับลูกในท้องทุกวัน การพูดคุยกับลูกในท้อง จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองที่ควบคุมส่วนการได้ยินของทารกพัฒนามากยิ่งขึ้น ส่วนการลูบหน้าท้องจะไปช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่ใช้ในการรับรู้ความรู้สึกให้พัฒนาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26, Siamhealth
  3. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  5. สรีรวิทยาของการตั้งครรภ์ (Maternal Physiology), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  6. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  7. อาการตะคริวน่องในคนท้องแก้ไขอย่างไร, คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  8. วิธีรับมืออาการท้องผูก ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  9. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ
  10. อยากกระตุ้นให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 13 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินโยเกิร์ต เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ โยเกิร์ตดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม กินผักสดบ่อย จะอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ประโยชน์ของผักสลัดมีอะไรบ้าง ผักประเภทไหนที่คนท้องควรเลี่ยง ไปดูกันว่าคนท้องกินผักอะไรได้บ้าง

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม คุณแม่ท้องทาเล็บบ่อย จะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า สารเคมีในน้ำยาทาเล็บ ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกในท้องบ้าง อยากทำเล็บต้องระวังอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินน้ำขิง เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ น้ำขิงดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง กินยาคุมมานาน เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม ว่าที่คุณแม่ควรทำอย่างไร ถ้าอยากมีลูกเร็วหลังหยุดยาคุม

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

ท้องลด คืออะไร อาการท้องลดขณะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นตอนไหน อาการท้องลดของคุณแม่ คือสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม หลังเกิดอาการท้องลด นานแค่ไหนถึงจะคลอด ไปดูกัน