ลูกในท้องสะอึกบอกอะไร ต่างจากลูกดิ้นไหม พร้อมวิธีหยุดทารกในครรภ์สะอึก

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ก.พ. 17, 2024
4นาที

คุณแม่ตั้งครรภ์มีความรู้สึกว่าลูกในท้องกระตุก และเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายอะไรหรือไม่กับลูกน้อย สำหรับการกระตุกของทารกในครรภ์ที่คุณแม่รู้สึกได้นั้นความจริงแล้วคือ ลูกในท้องสะอึก (hiccups) ซึ่งจะมีการกระตุกเป็นจังหวะ แต่เพราะเหตุใดทารกในครรภ์จึงมีอาการสะอึกเกิดขึ้น ไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ

 

สรุป

  • อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเริ่มขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์เป็นต้นไป ลูกในท้องสะอึกไม่เป็นอันตรายทั้งกับคุณแม่และลูกในท้อง
  • อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอเหมือนกับการสะอึกของคุณแม่ และบ่งบอกถึงทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี
  • การที่ทารกในครรภ์สะอึกเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของกะบังลมทารก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกได้
  • ลูกน้อยอาจเริ่มสะอึกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนที่สามหรือสี่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และอาการดังกล่าวยังสามารถสังเกตพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ลูกในท้องสะอึก

ในระหว่างอายุ 16 สัปดาห์ ถึง 20 สัปดาห์ คุณแม่สามารถรู้สึกได้ถึงการกระตุกที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอของลูกในท้อง สำหรับการกระตุกที่เกิดขึ้นคืออาการสะอึก การที่ลูกในท้องสะอึกมีสาเหตุมาจากการที่ปอดกำลังพัฒนาและมีของเหลวไหลเข้า ไหลออก จนทำให้เกิดการหดตัวอย่างฉับพลันขึ้นของกล้ามเนื้อกะบังลม

  • ระบบทางเดินหายใจ: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากการที่กำลังฝึกการหายใจเข้า หายใจออก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงว่ากะบังลมของทารกมีการพัฒนาการขึ้นอย่างดีและจะสมบูรณ์มากขึ้นไปจนกว่าทารกจะคลอด
  • ระบบประสาท: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากระบบเส้นประสาทที่ควบคุมกะบังลมกำลังพัฒนาขึ้นอย่างดี รวมถึงสมองและไขสันหลังของทารกยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • การตอบสนองของทารก: การหายใจ การดูดนิ้วหัวแม่มือ และการหาว จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีอาการสะอึกออกมา

 

ลูกในท้องสะอึก จะทำให้คุณแม่รู้สึกอย่างไร

การดิ้นของลูกในท้อง

เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้า 16-20 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ที่บางครั้งจะเหมือนกับว่าลูกกำลังกระทุ้ง เตะ ต่อย และขยับเคลื่อนไหวพลิกหมุนกลิ้งตัวไปรอบ ๆ ภายในท้องของคุณแม่ ซึ่งการเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้เป็นการดิ้นของลูกในท้อง ลูกจะเพิ่มระดับการดิ้นแรงขึ้นจนทำให้คุณแม่รู้สึกจุกและเจ็บได้ในบางครั้ง ลูกจะดิ้นแรงไปจนถึงอายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ จากนั้นระดับการดิ้นของลูกจะอยู่ในระดับปกติ

 

การสะอึกของลูกในท้อง

ลักษณะการสะอึกของลูกในท้องจะไม่เหมือนกับเวลาลูกดิ้น การดิ้นจะมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ขณะที่ลูกสะอึกคุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการกระตุกภายในครรภ์ที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ซึ่งจังหวะของการกระตุกก็จะเหมือนกับเวลาที่คุณแม่สะอึกนั่นเอง

 

รู้หรือไม่ การสะอึกของลูกในท้อง เป็นการส่งสัญญาณดี

  • ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่รู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ และมีความกังวลว่าจะเป็นอันตราย สำหรับการสะอึกของทารกในครรภ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ได้แก่ การทำงานของกะบังลมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ การทำงานของระบบประสาทและไขสันหลัง และการทำงานของปอด ดังนั้นอาการสะอึกของทารกในครรภ์ จึงไม่ส่งผลอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
  • การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี นอกจากการสะอึกแล้ว ลูกน้อยยังสามารถเตะ กระทุ้ง หมุนและกลิ้งตัวไปมา สามารถดมกลิ่น มองเห็น และได้ยินตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์ พัฒนาการทั้งหมดนี้จะค่อย ๆ มีการพัฒนาการขึ้นอย่างสมบูรณ์ไปจนกว่าลูกน้อยจะคลอด

 

การสะอึกแบบไหนของลูก ที่ควรไปปรึกษาแพทย์

การสะอึกถือเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามในคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาการสะอึกของทารกในครรภ์อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือสุขภาพทารกในครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยให้คุณแม่สังเกตการสะอึกของทารกในครรภ์ โดยที่หลังจากอายุครรภ์ผ่านไป 32 สัปดาห์ หากคุณแม่ยังรู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ทุกวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยละเอียด

 

ช่วงไตรมาสไหน ที่ลูกในครรภ์จะสะอึกบ่อยที่สุด

ลูกในท้องสะอึกจะเกิดขึ้นช่วงอายุครรภ์คุณแม่เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจของทารก เพราะทารกจะมีการกลืนน้ำคร่ำ ทำให้เกิดการสำลัก ส่งผลให้เกิดอาการสะอึกขึ้น

 

วิธีหยุดสะอึก ที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ

อาการสะอึกของทารกในครรภ์ไม่ได้ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด แต่การที่ลูกในท้องสะอึกก็ไม่ควรนานเกิน 15 นาที ดังนั้นเพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายลงจากอาการสะอึกของทารกในครรภ์ คุณแม่สามารถทำได้ตามวิธีนี้ ได้แก่

  1. นอนตะแคงซ้าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  3. นอนพักงีบระหว่างวัน
  4. ใช้หมอนรองตรงบริเวณกระดูกสันหลังของคุณแม่ เพื่อช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้นจากการสะอึกของทารก
  5. รับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  6. ออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะกับการตั้งครรภ์และปลอดภัยต่อทารกในครรภ์

 

การดิ้นของทารกในครรภ์จะเกิดขึ้นไปจนกว่าคุณแม่จะคลอด ซึ่งหากระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่รู้สึกได้ว่าทารกในครรภ์มีการดิ้นที่น้อยลงหรือหยุดดิ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที การที่ทารกในครรภ์สะอึกเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของกะบังลมทารก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกได้ และอาการดังกล่าวยังสามารถสังเกตพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ ลูกน้อยอาจเริ่มสะอึกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนที่สามหรือสี่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ตอนนั้นคุณแม่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่านั่นคือการสะอึกหรือการเตะถีบของลูกกันแน่ เพราะจะออกมาเป็นอาการกระตุกเบาๆ คล้ายกัน แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าทารกสะอึกจะเป็นจังหวะมากกว่าการเตะถีบ นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดก็สะอึกได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจหากลูกน้อยสะอึกบ้างเป็นครั้งคราว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกในครรภ์สะอึก, โรงพยาบาลศรีสวรรค์
  2. Fetal Hiccups: Why Do Babies Get Hiccups in the Womb?, theBUMP
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. What causes hiccups in babies in the womb?, MedicalNewsToday
  5. ทารกในครรภ์สะอึก ผิดปกติหรือไม่, กองบรรณาธิการ HD

อ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด
บทความ
คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด

คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด

คนท้องท้องอืด อาหารไม่ย่อย ทำอย่างไรดี อาการคนท้องท้องอืด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและเกิดขึ้นได้ทุกไตรมาส ไปดูวิธีรับมือคนท้องท้องอืดและเมนูอาหารแก้ท้องอืดกัน

9นาที อ่าน

View details มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า
บทความ
มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

เมนส์มาน้อยท้องไหม ประจำเดือนมาวันเดียวแล้วหายไป แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าแบบนี้คือตั้งครรภ์หรือแค่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไปหาคำตอบกัน

9นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ
บทความ
อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับมีลูกชายสมใจ

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

7นาที อ่าน

View details ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง
บทความ
ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง ขนาดท้องแต่ละเดือนจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจริงไหม ไปดูขนาดท้องแต่ละเดือนของแม่กันภ์

8นาที อ่าน

View details คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง
บทความ
คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดลูกธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังแม่คลอด

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

5นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
บทความ
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้กัน

10นาที อ่าน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

6นาที อ่าน

View details หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน
บทความ
หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วันถึงชัวร์ที่สุด ไปดูกันว่าหลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง พร้อมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเองสำหรับคุณแม่มือใหม่

6นาที อ่าน

View details คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีผมชี้ฟู อยากยืดผม คงมีคำถามในใจว่าคนท้องยืดผมได้ไหม สารเคมีที่ใช้ยืดผมจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า เสริมสวยยังไงให้ปลอดภัยกับลูกในท้อง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม
บทความ
อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร

9นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี
บทความ
คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

5นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น
บทความ
อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน
บทความ
อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีความคล้ายกันและมักแยกกันไม่ออก ไปดูความแตกต่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน
บทความ
ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

7นาที อ่าน