คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

31.03.2024

อาการท้องเสีย เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนท้อง แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยในการเอาใจใส่สุขภาพตนเอง คุณแม่จึงควรปรับการใช้ชีวิตให้ถูกสุขอนามัย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มั่นใจในการปรุง และระมัดระวังในการทานอาหารให้มากขึ้น และแม้หากต้องเจอกับอาการท้องเสีย ก็ควรรับมือดูแลตนเองอย่างถูกวิธี คอยหมั่นสังเกตอาการให้ดี หากรู้สึกแย่ อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และเป็นการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

headphones

PLAYING: คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คนท้องท้องเสียเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ทานอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค, เกิดจากระบบย่อยอาหารที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น, ฮอร์โมนคนท้องที่ปรับเปลี่ยนไปทำให้การย่อยอาหารไม่เหมือนเดิม อาการท้องเสียของคนท้อง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ท้องเสียแบบติดเชื้อ และท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ
  • อาการท้องเสีย สามารถดูแลตัวเองแบบเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป คนท้องท้องเสีย ไม่ควรซื้อหรือกินยาหยุดถ่าย ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเองโดยเด็ดขาด ควรปรึกษาแพทย์
  • ป้องกันอาการท้องเสียด้วยการทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร หรือหยิบจับอาหารเข้าปาก เอาใจใส่ในการปรุงอาหาร ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ ทานอาหารที่ปรุงสุก แก้วน้ำ จาน ชาม ภาชนะที่ใช้ใส่น้ำ อาหาร ต้องล้างให้สะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
  • หากคนท้องท้องเสีย อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องท้องเสีย เกิดจากอะไร

1. อาหารเป็นพิษขณะตั้งครรภ์

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 อาจมีสาเหตุมาจากอาหารเป็นพิษ เนื่องจากคนท้องทานอาหาร น้ำ ที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว ซึ่งจะมีอาการดีขึ้นภายใน 1-2 วัน

 

2. ระบบย่อยอาหารของแม่ตั้งครรภ์ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น

ก่อนการตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่อาจย่อยสารอาหารได้ปกติ แต่พอหลังจากตั้งครรภ์ คุณแม่เกิดอาการท้องเสีย เป็นเพราะร่างกายที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้เหมือนเดิม แม้ก่อนหน้านั้นจะย่อยสารอาหารเหล่านั้นได้ก็ตาม

 

3. วิตามินสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

วิตามินบางชนิดที่คุณแม่ทานขณะตั้งครรภ์เพื่ออยากเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อาจทำให้มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการ ถ่ายเหลว หรือท้องเสียได้ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรซื้อยาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนทานวิตามิน

 

4. ฮอร์โมนร่างกายที่เปลี่ยนไป

เมื่อตั้งครรภ์จะเกิดความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนี้เองที่ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารของคนท้องไม่เหมือนเดิม ฮอร์โมนสามารถเร่งระบบย่อยอาหารทำให้คนท้องท้องเสียได้ หรือทำให้ระบบย่อยอาหารช้าจนทำให้คนท้องท้องผูกได้เช่นกัน

 

5. มีอาการท้องเสียในไตรมาส 3

คนท้องที่มีอาการท้องเสียในไตรมาส 3 เพราะร่างกายส่งสัญญาณว่าใกล้คลอดแล้ว จึงปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นเหตุทำให้มดลูกหดตัว อาการท้องเสียจะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างเร็ว และจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการคลอดได้

  

อาการท้องเสียของคนท้อง คนท้องท้องเสียไตรมาส 3

 

อาการท้องเสียของคนท้อง

อาการท้องเสียของคนท้อง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. อาการท้องเสียแบบติดเชื้อ

อุจจาระที่ถ่ายออกมาจะมีฟอง หรือมูกเลือดปนออกมา คนท้องจะถ่ายอุจจาระบ่อย ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ และมีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน บางรายมีไข้ร่วมด้วย

 

2. อาการท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ

อุจจาระถ่ายออกมาเหลว แต่จะไม่มีไข้ ถ่ายบ่อย 3-4 ครั้ง อาการท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อจะสามารถหายได้เอง มักจะไม่รุนแรง รักษาด้วยการกินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป

 

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ควรสังเกตการขับถ่ายให้ดีว่ามีลักษณะอย่างไร ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือถ่ายเหลว ถ่ายบ่อยไหม แม้ว่าอาการท้องเสียจะไม่มีผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์ แต่ต้องระวังเรื่องร่างกายสูญเสียน้ำ เพราะเมื่อถ่ายบ่อย ๆ หรืออาเจียน อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ หากมีอาการท้องเสียติดต่อกัน 2-3 วัน อาการไม่ดีขึ้น มีไข้ อาเจียน อ่อนเพลีย ควรรีบไปพบแพทย์ อย่ารีรอโดยเด็ดขาดค่ะ

 

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น เมื่อคนท้องท้องเสีย

  1. ทานอาหารสดใหม่ ที่เป็นอาหารเหลว หรือเป็นอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก, ข้าวต้ม
  2. เมื่อมีอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย อ่อนเพลีย ควรดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป
  4. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ ก่อนหยิบจับอาหารหรือดื่มน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
  5. ไม่ทานอาหารที่มีส่วนประกอบของนม อาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารรสเผ็ด รสจัด เพราะจะกระตุ้นให้ขับถ่าย เกิดอาการท้องเสียได้ง่าย
  6. ไม่ซื้อยาแก้ท้องเสีย หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกินเอง เพื่อความปลอดภัยก่อนทานยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์
  7. ไม่กินยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไม่กินยาหยุดถ่าย โดยไม่ปรึกษาแพทย์
  8. จาน ชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม ภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร หรือน้ำ ควรล้างให้สะอาด และเก็บในที่ไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค

 

วิธีป้องกัน คนท้องท้องเสียไตรมาส 3

  1. ผัก ผลไม้ ที่ใช้ทานหรือประกอบอาหารต้องล้างให้สะอาดด้วยการผ่านน้ำหลาย ๆ ครั้ง
  2. เนื้อสัตว์ หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบอาหารต้องสดใหม่ ไม่หมดอายุ ไม่เน่าเสีย
  3. ก่อนปรุงอาหาร หรือทานอาหาร ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
  4. ไม่ใช้มีด หรือเขียง ที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ดิบ และเนื้อสุกปนกัน ควรแยกมีดและเขียง สำหรับเนื้อสัตว์ให้ชัดเจน
  5. ปรุงอาหารให้สุก โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ เช่น หมู, ไก่, เนื้อวัว, อาหารทะเล
  6. ทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ ไม่ค้างคืนข้ามวัน
  7. ล้าง จัดเก็บจาน ชาม แก้วน้ำ ภาชนะให้สะอาด จัดเก็บให้มิดชิด ป้องกันสิ่งสกปรกต่าง ๆ
  8. ดูแลอุปกรณ์ เครื่องครัวที่ใช้ทำอาหาร ห้องครัว ให้สะอาดอยู่เสมอ
  9. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารหมักดอง หรืออาหารที่หมดอายุ

 

สุขอนามัยในการทานอาหารของคนท้อง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี การทานอาหารที่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยอาจส่งผลเสียกับสุขภาพได้ คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 อาจดูเหมือนว่าเป็นเรื่องไม่รุนแรง แต่ก็ควรระมัดระวัง ไม่ชะล่าใจ หากคนท้องท้องเสีย อาการไม่ดีขึ้น ถ่ายเหลวติดต่อกันนานเกิน 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. อาหารเป็นพิษ, โรงพยาบาลราชวิถี
  2. คนท้องท้องเสีย สาเหตุ วิธีดูแลตัวเอง และสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์, pobpad
  3. คุณแม่ยุคใหม่... ใส่ใจทานวิตามิน, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  4. แม่ท้อง ท้องเสีย บรรเทาอาการอย่างไรดี, Hellokhunmor
  5. 6สัญญาณใกล้คลอด ที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
  6. คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย ต้องดูแลรักษาอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท
  7. ป้องกัน "โรคท้องร่วง" ในช่วงหน้าร้อนนี้อย่างไรดี ?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. แยกให้ออก! ขับถ่ายแบบไหนเรียก “ท้องเสีย” ก่อนนำไปสู่ภาวะช็อก, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 25 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก