ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
หากผลตรวจจากที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด อาจไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป เพราะมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน hCG ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิสนธิแล้ว 6 วัน และอาจจะตรวจครรภ์หลังจากประจำเดือนขาดมาแล้ว 10-14 วัน ก็สามารถให้ผลที่แม่นยำมากขึ้น และเพื่อความแน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์แน่นอน ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ซึ่งมีความถูกต้องสูงที่สุด
สรุป
- การตรวจครรภ์โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ เป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากสามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง และทำได้ง่าย มีความแม่นยำสูง โดยที่ตรวจครรภ์จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ๆ เช่น แบบแถบจุ่ม ที่ตรวจแบบนี้จะมีราคาถูก วิธีการคือปัสสาวะลงในถ้วยตวงแล้วนำแผ่นทดสอบจุ่มลงในถ้วยตวง ทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที แล้วนำออกมาจากถ้วยตวงและทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที และอ่านผลตรวจ ต่อมาคือแบบปัสสาวะผ่าน ซึ่งจะใช้การปัสสาวะผ่านบริเวณแท่งตรวจประมาณ 30 วินาที และทิ้งไว้ 3-5 นาที แล้วจึงอ่านผลตรวจ สุดท้ายคือแบบหยด เป็นการหยดน้ำปัสสาวะลงในตลับตรวจครรภ์ 3-4 หยด และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงอ่านผลการตรวจต่อไป
- ผลการตรวจครรภ์ที่ปรากฏ ไม่สามารถยืนยันว่าตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ เช่น หากกำลังมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น แต่ผลตรวจขึ้น 1 ขีด อาจเกิดจากปัสสาวะที่ตรวจมีความเจือจาง หรือตรวจในช่วงเวลาที่เร็วเกินไป หรือหากค่าผลตรวจขึ้น 2 ขีด แต่ความเป็นจริงคือไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดได้จากการตรวจในช่วงเวลาเร็วเกินไปด้วยเช่นกัน และสุดท้ายอาจเกิดจากชุดตรวจครรภ์ชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพ เนื่องมาจากชุดตรวจครรภ์หมดอายุการใช้งาน หรือมีการจัดเก็บที่ไม่ดีพอก็สามารถทำให้การตรวจคลาดเคลื่อนด้วยเช่นกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะ สำคัญกับการตรวจครรภ์มากแค่ไหน
- ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด แต่ไม่ท้อง เป็นไปได้ไหม
- ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ เกิดจากอะไร
- ตรวจครรภ์ 1 ขีด บ่งบอกอะไรได้บ้าง
- ตรวจครรภ์ซ้ำรอบสอง จะได้ผลแม่นยำจริงไหม
- ตรวจครรภ์กับแพทย์วิธีไหนบ้าง ที่ให้ผลชัวร์
ฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะ สำคัญกับการตรวจครรภ์มากแค่ไหน
ฮอร์โมน hCG เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากถุงการตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งหลักการทำงานของที่ตรวจครรภ์คือการหาฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะเป็นหลัก ดังนั้นผลจากที่ตรวจครรภ์จะมีความแม่นยำสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว โดยที่ตรวจครรภ์ที่ใช้ตรวจโดยทั่วไปจะมีความแตกต่างกันในแง่ของรูปแบบการใช้งาน เช่น แบบจุ่ม แบบหยด และแบบปัสสาวะผ่าน เป็นต้น โดยแบบปัสสาวะผ่านจะใช้งานง่ายที่สุด และได้รับความนิยมมากที่สุดอีกด้วย
ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด แต่ไม่ท้อง เป็นไปได้ไหม
ผลที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด แต่ไม่ท้องสามารถเกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุเช่น ที่ตรวจครรภ์เสื่อมประสิทธิภาพ การตรวจในระหว่างที่ทานยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีเลือด หรือมีไข่ขาวในปัสสาวะ และอาจจะเกิดได้ในผู้ที่มีฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ผู้หญิงที่น้ำหนักตัวมาก หรือผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์ เป็นต้น
ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ เกิดจากอะไร
ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดแต่จางมาก ๆ แสดงว่าผลตรวจตั้งครรภ์เป็นบวก มีโอกาสตั้งครรภ์สูงแต่อาจเพราะเป็นการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ ที่ฮอร์โมน hCG ยังสูงไม่มากนัก จึงทำให้ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจางมาก ๆ ดังนั้นจึงควรเว้นระยะห่างประมาณ 2-3 วันแล้วจึงตรวจซ้ำเพื่อเป็นการยืนยันการตั้งครรภ์ และควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูการตั้งครรภ์และตรวจดูสุขภาพของครรภ์ต่อไป
ตรวจครรภ์ 1 ขีด บ่งบอกอะไรได้บ้าง
ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 1 ขีด แสดงว่าผลตรวจตั้งครรภ์เป็นลบ ไม่มีการตั้งครรภ์หรืออาจมีการตั้งครรภ์แต่ที่ตรวจครรภ์ตรวจไม่พบก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรเว้นระยะห่างประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงตรวจซ้ำ หรือหากประจำเดือนไม่มาตามกำหนดก็ควรมีการตรวจซ้ำด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการยืนยันการไม่ตั้งครรภ์
ตรวจครรภ์ซ้ำรอบสอง จะได้ผลแม่นยำจริงไหม
เพื่อเป็นการยืนยันผลการตรวจให้แน่ใจ ควรมีการตรวจซ้ำรอบสอง โดยมีการเว้นระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ฮอร์โมน hCG เกิดขึ้นมากพอที่จะสามารถตรวจซ้ำรอบสองได้
ตรวจครรภ์กับแพทย์วิธีไหนบ้าง ที่ให้ผลชัวร์
การตรวจครรภ์กับแพทย์จะมีทั้งหมด 3 วิธี คือ
1. การตรวจการตั้งครรภ์โดยห้องปฏิบัติการ
เป็นการตรวจครรภ์แบบจุ่มหรือแบบหยด โดยการตรวจครรภ์ลักษณะนี้จะเหมือนกับการตรวจครรภ์ด้วยตนเอง วิธีการตรวจคือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะให้กระป๋องเพื่อให้เก็บปัสสาวะไปให้ห้องแล็บ ซึ่งโดยทั่วไปจะสามารถตรวจได้แม้ระดับฮอร์โมนยังไม่สูงมากนัก
2. การเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์
จะเป็นวิธีที่ให้ผลแม่นยำที่สุดและสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 14 วันหลังจากมีการปฏิสนธิได้อีกด้วย ในขณะที่การตรวจจากปัสสาวะอาจจะยังไม่ขึ้นผล แต่การตรวจเลือดจะสามารถพบฮอร์โมนการตั้งครรภ์แล้ว ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจให้แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่อย่างรวดเร็ว เช่น ผู้ที่มีประวัติแท้งบุตร และผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก เพื่อใช้ในการวางแผนและดูแลการให้ฮอร์โมนเสริมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
3. การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์
เป็นวิธีการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ ในช่องท้อง ถ้าหากมีการตั้งครรภ์จะพบตัวอ่อนของทารกในครรภ์ และนอกจากจะใช้ในการตรวจการตั้งครรภ์แล้วยังสามารถบอกตำแหน่งการตั้งครรภ์ เพื่อใช้ในการวางแผนดูแลทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
เมื่อคุณผู้หญิงพบว่ามีโอกาสตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนขาด คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่ายอ่อนเพลียง่าย ท้องอืดท้องเฟ้อ อารมณ์แปรปรวน โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายอยู่ในร้านค้าทั่วไป ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีทดสอบหาฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ โดยจะหลั่งออกมาจากรกหลังจากปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน หลังการมีเพศสัมพันธ์ หากต้องการให้แน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์จริง ควรเข้าตรวจการตั้งครรภ์กับแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ต่อไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง
- ผ่าคลอด กี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด ถึงปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อยอันตรายไหม
- ออกกําลังกายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ผลจากที่ตรวจครรภ์...แม่นยำแค่ไหนกันนะ?, โรงพยาบาลเปาโล
- ตรวจการตั้งครรภ์หรือตรวจท้อง มีกี่แบบ รู้ผลเร็วสุดกี่วัน?, อินทัชเมดิแคร์
- 4 วิธีตรวจการตั้งครรภ์ ที่ผู้หญิงควรรู้, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
- ประสบการณ์การตรวจครรภ์ ของคุณแม่ท้องแรก, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
- ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
อ้างอิง ณ วันที่ 26 มกราคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง