
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน มีอะไรบ้าง ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่กำลังชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน และที่น่าตื่นเต้นคือลูกเดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้แล้ว ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจพัฒนาการของลูกมากขึ้น บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ทั้งพัฒนาการด้านการสื่อสาร ด้านร่างกาย และอารมณ์ เป็นต้น
สรุป
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาการทางกายภาพ พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ พัฒนาการทางสติปัญญา และพัฒนาการทางภาษา
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ หากลูกอายุ 3 ขวบแล้วมีปัญหา เช่น ล้มบ่อย จับของชิ้นเล็กไม่ได้ ไม่เข้าใจคำสั่ง หรือไม่เล่นกับเด็กคนอื่น เป็นต้น อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของพัฒนาการ แนะนำให้พบแพทย์ทันที
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านร่างกาย
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านสติปัญญา
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านภาษา
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านสังคมและอารมณ์
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ที่ควรทำได้ก่อนเข้าโรงเรียน
- แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านร่างกาย และด้านอารมณ์
- พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน สัญญาณเตือนพัฒนาการผิดปกติ
- วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน มีอะไรบ้าง
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ช่วงวัยนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาการทางกายภาพ พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ พัฒนาการทางสติปัญญา รวมถึงพัฒนาการทางภาษา ซึ่งในเด็กวัย 3 ขวบลูกจะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ สามารถดูแลตัวเองได้ เช่น กินอาหารเองได้ แต่งตัวใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเองได้ และพูดระบุเพศของตัวเองได้ ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีความอยากรู้อยากเห็นชอบลองของใหม่และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านร่างกาย
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านร่างกายหรือทางกายภาพที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกสามารถทำกิจกรรมสนุกได้หลากหลายมากขึ้น
- การเคลื่อนไหว: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะปีนป่าย วิ่ง และกระโดดได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเริ่มมีการทรงตัวและการประสานงานกันระหว่างมือและตาได้ดีมากขึ้น จึงทำให้ลูกสามารถขี่จักรยานสามล้อ ทรงตัวบนเท้าข้างเดียว เล่นขว้างบอลข้ามไหล่ และใช้บันไดได้โดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้การช่วยเหลือ
- การใช้มือและนิ้วมือ: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้มือและแขนได้ดี ลูกสามารถใช้มือจับดินสอและขีดเขียนเป็นเส้นหรือรูปทรงพื้นฐานง่าย ๆ เช่น รูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม ใช้กรรไกรตัดกระดาษ เล่นปั้นดินน้ำมัน และใช้มื้อจับช้อนส้อมตักอาหารกินได้เอง เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านสติปัญญา
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการทางด้านสติปัญญา สมองมีการพัฒนาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ลูกเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น
- การเรียนรู้และการจดจำ: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกมีความสามารถในการจดจำและเข้าใจแนวคิดพื้นฐานได้มากขึ้น เช่น สี รูปทรง ขนาด และจำนวนของสิ่งของ หรือเรียงลำดับและจับคู่สิ่งของได้ รวมถึงสามารถบอกชื่อเพื่อน บอกประโยชน์ของสิ่งของที่ใช้ได้ เช่น ถ้วย ช้อน เป็นต้น
- การเล่น: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกชอบเล่นบทบาทสมมติ หรือเล่นของเล่นที่ต้องใช้การแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนขึ้น เช่น ตัวต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านภาษา
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกมีความเข้าใจด้านภาษามากขึ้น และสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่หรือคนที่ลูกพูดคุยด้วยฟังแล้วเข้าใจในเรื่องที่ลูกพูด
- การเข้าใจภาษา: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกมีความเข้าใจคำสั่งและคำถามที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ เช่น หยิบลูกบอลที่อยู่บนพื้นขึ้นมา แล้วเอามาให้พ่อ หรือแม่
- การพูด: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกสามารถพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ได้ 2-3 ประโยคในครั้งเดียว พูดคำที่มีความหมายตรงข้ามกันได้ และเริ่มใช้สรรพนาม เช่น แทนตัวเองว่า หนู เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ด้านสังคมและอารมณ์
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่ลูกมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกในวัย 3 ขวบจะมีความมั่นในตนเองและมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
- การสื่อสารและการแสดงออก: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกเริ่มที่จะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ประโยคสั้น ๆ ได้แล้ว และสามารถบอกความต้องการและความรู้สึกของตัวเองได้มากขึ้น
- การเล่นร่วมกับผู้อื่น: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกชอบเล่นบทบาทสมมติ และเริ่มเล่นร่วมกับเด็กคนอื่นได้ รวมถึงรู้จักที่จะแบ่งปันของเล่นและเล่นด้วยกันกับเพื่อนได้
- การแสดงอารมณ์: พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ลูกเริ่มมีความเข้าใจในอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง รวมถึงสามารถแสดงออกถึงความรัก ความผูกพัน และความเห็นอกเห็นใจ กับคุณพ่อคุณแม่ คนรอบข้างได้มากขึ้น
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน ที่ควรทำได้ก่อนเข้าโรงเรียน
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้ลูก เพื่อให้สามารถทำได้ด้วยตนเองก่อนเข้าโรงเรียน มีดังต่อไปนี้
- ภาษา: ลูกสามารถที่จะสื่อสารบอกความต้องการของตัวเองกับคู่สนทนาได้(คุณครู หรือเพื่อน) เช่น หนูอยากได้อะไร เพราะอะไร เป็นต้น
- กล้ามเนื้อ: ลูกสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยการให้ลูกได้มีการออกกำลังกายเป็นประจำ
- สังคม: ลูกสามารถที่จะเล่นด้วยกันกับเพื่อนวัยเดียวกันได้
- ช่วยเหลือตัวเอง: ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น กินข้าว เข้าห้องน้ำ นอนหลับ เป็นต้น
แบบประเมินพัฒนาการ 3 ขวบ ด้านร่างกาย และด้านอารมณ์
แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ สำหรับพัฒนาการด้านร่างกายจะแบ่งออกเป็น 1. ด้านการเคลื่อนไหว 2. ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา สำหรับเด็กในช่วง 25 - 48 เดือน ซึ่งยึดตามแบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จากกองกิจกรรมทางกายภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบถึงพัฒนาการของลูกในช่วงวัย 3 ขวบได้ในเบื้องต้น
การประเมิน หากลูกทำได้ ให้ใส่เครื่องหมาย ☑️ (ผ่าน)ในช่องสี่เหลี่ยม หากลูกทำไม่ได้ ให้ใส่เครื่องหมาย ☑️ (ไม่ผ่าน)ในช่องสี่เหลี่ยม
แบบประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย สำหรับเด็ก 3 ขวบ | ||
ช่วงอายุ | ด้านการเคลื่อนไหว | ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา |
25 – 30 เดือน | กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้ง 2 ข้าง ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน | แก้ปัญหาง่าย ๆ โดยใช้เครื่องมือได้ ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน |
31 – 36 เดือน | ยืนขาเดียว 1 วินาที ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน | เลียนแบบลากเส้นเป็นวงต่อเนื่องกัน ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน |
37 – 42 เดือน | ยืนขาเดียว 3 วินาที ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน | เลียนแบบวาดรูปวงกลม ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน |
43 – 48 เดือน | กระโดดขาเดียวได้อย่างน้อย 2 ครั้ง ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน | ตัดกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10 ซม. ออกเป็น 2 ชิ้น (โดยใช้กรรไกรปลายมน) ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน เลียนแบบวาดรูป + (กากบาท) ◻️ ผ่าน ◻️ ไม่ผ่าน |
หมายเหตุ: เป็นเพียงการทำแบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้นเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์เพื่อทำแบบประเมินพัฒนาการตามช่วงวัยของลูกได้อีกครั้ง พร้อมการวิเคราะห์ผลที่ชัดเจนของพัฒนาการเด็กในช่วงวัย 3 ขวบ
แบบประเมินพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3-5 ปี ฉบับย่อสำหรับผู้ปกครอง เป็นการทำแบบประเมินที่ยึดตามข้อมูลจากสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำหรับการทำประเมินนี้เป็นการประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ซึ่งแบ่งการประเมินคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ
1. ด้านดี
เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นโดยประเมินจากการรู้จักอารมณ์ตนเองและผู้อื่น แสดงความเห็นใจหรือปลอบใจผู้อื่น อดทนรอคอยได้ มีนํ้าใจ รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน รู้ว่าทําผิดหรือยอมรับผิด
2. ด้านเก่ง
เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสําเร็จโดยประเมินจากความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
3. ด้านสุข
เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะทําให้ตนเองเกิดความสุข โดยประเมินจากการมีความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง
สำหรับการให้คะแนนให้ใส่เครื่องหมาย ✔️ ไว้ในช่องที่ตรง กับตัวของลูกมากที่สุด
การให้คะแนนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้ | กลุ่มที่ 2 ให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้ |
ไม่เป็นเลย ให้ 1 คะแนน | ไม่เป็นเลย ให้ 4 คะแนน |
เป็นบางครั้ง ให้ 2 คะแนน | เป็นบางครั้ง ให้ 3 คะแนน |
เป็นบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน | เป็นบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน |
เป็นประจำ ให้ 4 คะแนน | เป็นประจำ ให้ 1 คะแนน |
ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 15 | ข้อ 14 |
การแปลผลจากการให้คะแนน
องค์ประกอบ | คะแนนเทียบกับเกณฑ์ปกติ | ||
ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ | ปกติ | สูงกว่าปกติ | |
ด้านดี (เต็ม 20 คะแนน) | 1-11 | 12-19 | 20 |
ด้านเก่ง (เต็ม 20 คะแนน) | 1-12 | 13-19 | 20 |
ด้านสุข (เต็ม 20 คะแนน) | 1-12 | 13-18 | 19-20 |
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) (เต็ม 60 คะแนน) | 1-39 | 40-55 | 56-60 |
แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี
1.ด้านดี | ไม่เป็นเลย | เป็นบางครั้ง | เป็นบ่อยครั้ง | เป็นประจำ | คะแนน |
1. แสดงความเห็นใจเมื่อเห็นเพื่อนหรือผู้อื่นทุกข์ร้อน เช่น บอกว่าสงสาร เข้าไปปลอบหรือเข้าไปช่วย | |||||
2. หยุดการกระทําที่ไม่ดีเมื่อผู้ใหญ่ห้าม | |||||
3. แบ่งปันสิ่งของให้คนอื่น ๆ เช่น ขนม ของเล่น | |||||
4. บอกขอโทษหรือแสดงท่าทียอมรับผิดเมื่อรู้ว่าทําผิด | |||||
5. อดทน และรอคอยได้ | |||||
2.ด้านเก่ง | |||||
6. อยากรู้อยากเห็นกับของเล่นหรือสิ่งแปลกใหม่ | |||||
7. สนใจ รู้สึกสนุกกับงานหรือกิจกรรมใหม่ ๆ | |||||
8. ซักถามในสิ่งที่อยากรู้ | |||||
9. เมื่อไม่ได้ของเล่นที่อยากได้ก็สามารถเล่นของอื่นแทน | |||||
10. ยอมรับกฎเกณฑ์หรือข้อตกลง แม้จะผิดหวัง/ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ | |||||
3.ด้านสุข | |||||
11. แสดงความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคําชมเชย เช่น บอกเล่าให้ผู้อื่นรู้ | |||||
12. รู้จักหาของเล่น หรือกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน | |||||
13. แสดงอารมณ์สนุกหรือร่วมสนุกตามไปกับสิ่งที่เห็น เช่น ร้องเพลง กระโดดโลดเต้น หัวเราะเฮฮา | |||||
14. เก็บตัว ไม่เล่นสนุกสนานกับเด็กคนอื่น ๆ | |||||
15. ไม่กลัวเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่สนิทสนม | |||||
รวม |
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน สัญญาณเตือนพัฒนาการผิดปกติ
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ แล้วมีสัญญาณของพัฒนาการที่ผิดปกติดังต่อไปนี้ แนะนำให้พาไปพบกุมารแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจประเมินพัฒนาการอย่างละเอียด ซึ่งหากผลการประเมินพบว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า แพทย์จะมีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องเหมาะสมให้กับลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่
- ทรงตัวได้ไม่ดี ล้มบ่อย
- ใช้มือในการจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้ไม่ถนัด และยังไม่สามารถขีดเขียนได้
- ลูกไม่เข้าใจคำสั่งที่คุณพ่อคุณแม่พูด หรือยังไม่สามารถพูดหลายคำต่อกันได้
- ไม่สนใจที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น และไม่รู้จักการแบ่งปัน
- ไม่สามารถใช้มือจับช้อนตักข้าวกินได้ด้วยตัวเอง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ 6 เดือน มีอะไรบ้าง
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อยได้ดังต่อไปนี้
1. กระตุ้นกล้ามเนื้อ
ส่งเสริมให้ลูกได้ออกไปเล่นเครื่องเล่นสนามกับเพื่อน ๆ เช่น เล่นปีนป่าย กระโดด เดินขึ้นบันได หรือขี่จักรยาน 3 ล้อ โดยที่ทุกกิจกรรมที่ลูกเล่นสนุกต้องมีคุณพ่อคุณแม่ ดูแลในเรื่องความปลอดภัย และการเกิดอุบัติเหตุให้กับลูกด้วยทุกครั้ง รวมถึงฝึกให้ลูกหัดเขียน นับเลข เป็นต้น
กระตุ้นการสื่อสาร
ส่งเสริมให้ลูกได้พูดคุยโต้ตอบ เช่น การเล่านิทาน ร้องเพลง หรือทำท่าทางประกอบเพลง โดยมีคุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันกับลูกด้วย
กระตุ้นทักษะทางร่างกาย
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น การใช้มือจับช้อนตักข้าวรับประทาน การแต่งตัวใส่เสื้อผ้า หรือเข้าห้องน้ำได้เองเมื่อต้องการปัสสาวะ อุจจาระ โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้คำแนะนำลูก
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย ด้านภาษา ด้านสติปัญญา ด้านสังคมและอารมณ์ ของลูกน้อยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพัฒนาการ หรือต้องการทำแบบประเมินพัฒนาการอย่างละเอียดในทุกด้านให้กับลูก สามารถขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ประจำตัวของลูกได้อีกครั้ง และหากพบความผิดปกติของพัฒนาการ แพทย์จะมีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
การส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยในช่วงวัย 3 ขวบ นอกจากการให้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับ ช่วงวัยของลูกแล้วนั้น การดูแลเรื่องโภชนาการก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในการส่งเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก สำหรับเด็กวัย 3 ขวบ นอกเหนือจากสารอาหารที่มีคุณค่าในแต่ละมื้อแล้ว คุณแม่ควรคำนึงถึงสารอาหารสำคัญที่ควรมีในนมกล่องเด็ก เช่น โอเมก้า 3, 6, 9, ดีเอชเอ, วิตามินบี 12 และสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างไมอีลินในสมอง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาของลูกน้อย และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกได้มีทักษะสมองที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองของลูกน้อยในช่วงวัยขวบได้ด้วยโปรแกรม Playbrain สามารถดูรายละเอียดและอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.s-momclub.com/playbrain
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
- พัฒนาการเด็ก 1 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 4 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 5 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 6 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 10 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
- พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
อ้างอิง:
- เด็กวัย 3-4 ปี สนใจในสิ่งใหม่ ๆ ...เหมาะแก่การฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ, โรงพยาบาลพญาไท
- พัฒนาการวัยเตาะแตะ 1-3 ปี ดูแลอย่างไรให้เด็กเติบโตสมวัยและแข็งแรง โรงพยาบาลกรุงไทย
- พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย, โรงพยาบาลเปาโล
- CHECKLIST ลูกคุณมีพัฒนาการสมวัยหรือเปล่า, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- พัฒนาการทางด้านสังคมในเด็กก่อนวัยเรียน (3 – 6 ปี), โรงพยาบาลมนารมย์
- เด็กอนุบาลเรียนอย่างไรให้มีความสุข, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- แบบบักทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย, กองกิจกรรมทางกายภาพ กระทรวงสาธารณสุข
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3-5 ปี (ฉบับย่อ) สำหรับครู/ผู้ดูแล สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
- 3 ปีแรก จังหวะทองของพัฒนาการ, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อ้างอิง ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567