พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือน

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือน

24.09.2019

หลังจากที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกมาได้ครบ 2 เดือน คุณแม่และลูกคงเริ่มคุ้นเคยกันและกันมากขึ้นแล้ว แม้เด็กวัยนี้ยังมีความบอบบาง ต้องการดูแลอย่างใกล้ชิด แต่พัฒนาการเด็ก 2 เดือนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ทั้งการเติบโตด้านร่างกาย และการสนใจสิ่งรอบตัว รวมถึงการพยายามออกเสียงอ้อแอ้เป็นครั้งแรกให้คุณพ่อคุณแม่ได้ยิน

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือน

อ่าน 8 นาที

สรุป

  • พัฒนาการเด็ก 2 เดือน เด็กมักช่างสงสัย สนใจสิ่งรอบตัว อยากรู้อยากเห็น ชอบมีปฏิสัมพันธ์ ยิ้มแย้มหรือส่งเสียงตอบโต้กับผู้คน 
  • ในช่วงวัยนี้ คุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการที่ดีได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อทารก 2 เดือน เริ่มรู้จักคุณแม่

หลังจากที่คุณแม่และลูกน้อยได้ใกล้ชิดผูกพันกันมาเป็นเวลา 2 เดือนแล้วนั้น ทารกจึงเริ่มคุ้นเคยกับสัมผัสอันใกล้ชิดและอ้อมกอดอันอบอุ่นของคุณแม่ พร้อมกับเริ่มคุ้นเคยกับใบหน้าและเสียงของคุณแม่ได้แล้ว ลูกน้อยอยากใกล้ชิดกับคนที่คุ้นเคย และอาจส่งเสียงร้องเมื่อคนอุ้มไม่ใช่คุณแม่

 

นอกจากนี้ พัฒนาการเด็ก 2 เดือน คือการสื่อสารด้วยสัญญาณกับคุณแม่เสมอ โดยที่ลูกน้อยมักมองหน้าคุณแม่ เอื้อมมือมาหา ส่งเสียงอ้อแอ้พยายามจะคุยด้วย และยิ้มให้กับคุณแม่อย่างมีความสุข

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทุกด้าน

แม้ลูกน้อยยังอยู่ในวัยแรกคลอด แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วในหลายด้าน คุณแม่ควรใส่ใจสังเกต และส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้ลูกน้อยได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ 

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ด้านร่างกาย

เด็กทารก 2 เดือนมีการพัฒนาด้านร่างกายอย่างต่อเนื่อง ทารกวัยนี้ใช้เวลานอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการเติบโตทางร่างกายที่กล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้นและใช้งานดีขึ้น

  • น้ำหนักทารก 2 เดือน มักมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดือนแรกประมาณ 0.7-0.9 กิโลกรัม ทารก 2 เดือนเพศชายอาจมีน้ำหนักเฉลี่ย 5.6 กิโลกรัม ส่วนทารกเพศหญิงจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 5.1 กิโลกรัม 
  • ส่วนสูงทารก 2 เดือน โดยส่วนใหญ่แล้ว ทารก 2 เดือนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5-3.8 เซนติเมตร ทารกเพศชายจะมีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 58 เซนติเมตร ส่วนทารกเพศหญิงจะมีส่วนสูงประมาณ 57 เซนติเมตร

 

อย่างไรก็ดี เด็กทารกวัยนี้อาจมีน้ำหนักหรือความสูงไม่ตรงกับเกณฑ์ดังกล่าว เพราะการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน รวมถึงยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย ในด้านการร่างกายนั้น ทารกวัย 2 เดือนจะสามารถควบคุมร่างกายได้มากขึ้น โดยมีลักษณะที่ชัดเจน ดังนี้

  • ชันคอยกศีรษะ 45 องศาในท่านอนคว่ำ 
  • มีการประสานสัมพันธ์ของร่างกายได้ดี โดยเริ่มใช้แขนดันตัวขึ้น เคลื่อนไหวแขนขาได้มากขึ้น
  • กลิ้งตัวไปมาได้ พร้อมพยายามตะแคง
  • ยกและยืดแขน คว้าจับสิ่งต่าง ๆ ที่คุณแม่ยื่นให้ เรียนรู้ที่จะโบกมือและคลายมือ
  • น้ำลายไหลมากขึ้น เพราะมีการสร้างน้ำลายเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ 

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทุกด้าน

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ด้านสติปัญญา

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน สมองของทารกตัวน้อยกำลังเติบโต โดยพัฒนาการที่เด่นชัด ได้แก่

  • เริ่มมองตามผู้คนและวัตถุ เพราะลูกน้อยเริ่มมองเห็นได้ในระยะ 60 เซนติเมตรแล้ว นอกจากนี้ยังแยกสีที่แตกต่างกันได้ จึงสามารถมองสิ่งของหรือผู้คนจากด้านข้าง ผ่าจุดกึ่งกลางลำตัวได้โดยไม่หันไปมองทางอื่น
  • สนใจใบหน้าที่ได้เห็น คุณแม่จะสังเกตว่าลูกน้อยเริ่มให้ความสนใจกับใบหน้าของคุณแม่ และจดจำใบหน้าที่คุ้นเคยได้แล้ว 
  • เริ่มมีอาการหงุดหงิดเมื่อรู้สึกเบื่อ อาจเป็นการร้องไห้งอแง หรือถีบแข้งถีบขา เพื่อแสดงความรู้สึกออกมาให้คุณแม่สังเกตเห็น

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ด้านอารมณ์ และจิตใจ

เด็กทารก 2 เดือน มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจได้มากขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • อมมือ ดูดนิ้ว เพื่อให้ตัวเองสบายใจ ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มอมมือ หรือดูดนิ้วอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการผ่อนคลายตัวเอง ให้รู้สึกสบายและมีความสุข
  • เริ่มยิ้ม ทารก 2 เดือน สามารถยิ้มทักทาย หรือยิ้มตอบให้คนอื่นได้แล้ว รวมถึงเริ่มส่งเสียงโต้ตอบอ้อแอ้ได้ เพื่อพยายามสื่อสารกับคุณแม่
  • พยายามที่จะมองคุณพ่อคุณแม่ ทารกชอบมองใบหน้าของพ่อแม่ที่แสดงออกถึงความรัก วัยนี้จึงชอบมองหาคุณพ่อคุณแม่เพื่อสร้างความอบอุ่นใจให้ลูกน้อย

 

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ด้านโภชนาการ

นมแม่มีสารอาหารทุกชนิดที่จำเป็นสำหรับทารก ถือเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน โดยที่องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ มีคำแนะนำว่า ควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด เพราะในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญมากกว่า 200 ชนิด ช่วยให้ร่างกายเติบโต และมีพัฒนาการที่ดี ทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันที่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย 

 

สารอาหารสำคัญในนมแม่ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินต่าง ๆ และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมี ดีเอชเอ (DHA) สฟิงโกไมอิลีน โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัส จุลินทรีย์สุขภาพหลากหลายสายพันธุ์ ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่แข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดีสมวัย
ทารกวัยนี้มักมีอาการหิว 8 ถึง 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยทารกแรกเกิดต้องได้รับนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนอาหารอื่น เช่น น้ำเปล่า ยังไม่จำเป็น เพราะในนมมีส่วนผสมของน้ำที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทารกอยู่แล้ว

 

วิธีส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน

 

วิธีส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน

ในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 2 เดือนให้รอบด้าน คุณแม่สามารถทำได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว

  • กระตุ้นให้ลูกน้อยขยับศีรษะ แขน ขา โดยขยับของเล่นไปรอบ ๆ ตัวลูกน้อย
  • ส่งเสริมให้ลูกน้อยใช้กล้ามเนื้อเพื่อขยับร่างกาย คลาน กลิ้งตัว ฝึกกล้ามเนื้อคอและแขนจากการนอนคว่ำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด

 

2. ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกอารมณ์ดี

  • สร้างความใกล้ชิดโดยสัมผัสลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อ ให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สงบ อารมณ์ดี
  • โอบกอดลูก โดยอุ้มลูกขึ้นมาใกล้ ๆ ใบหน้าและสบตา พร้อมสื่อสารด้วยถ้อยคำแสดงความรัก เช่น แม่รักลูกนะจ้ะเด็กดี
  • แขวนของสีสดห่างราว ห่างจากหน้าลูกราว 1 ฟุต โดยกระตุ้นความสนใจโดยการแกว่งของ หรือเลื่อนของให้ลูกมองตามไปมา

 

3. ส่งเสริมการสื่อสารให้ลูก

  • คุยกับลูก ฝึกลูกพูด เมื่อเขาทำเสียงอ้อแอ้ โดยใช้เสียงแบบทารก การโต้ตอบกันไปมา จะช่วยให้ลูกพัฒนาภาษาและทักษะการสื่อสาร
  • ทารกสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง คุณแม่สื่อสารด้วยการเลียนแบบท่าทางของลูกได้ เช่น ปรบมือ และโบกมือ
  • พูดช้า ๆ ชัด ๆ เพื่อให้ลูกสังเกตปากและลิ้นเวลาคุณแม่พูด

 

ข้อควรระวัง พัฒนาการทารกและการเลี้ยงดูเด็กทารกวัย 2 เดือน

ถึงแม้ทารก 2 เดือนแต่ละคนจะมีพัฒนาการแตกต่างกัน แต่คุณแม่ควรใส่ใจสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อสาเหตุต่อไป

  • ประกบปากกับเต้านมหรือขวดนมไม่ได้ขณะกินนม
  • น้ำลายไหล ร้องไห้ ไม่ยอมดื่มนม หรือมีน้ำนมไหลออกจากมุมปากจำนวนมากขณะดูดนม
  • ชันคอให้ตั้งขณะนอนคว่ำไม่ได้
  • ไม่ยิ้มให้กับผู้คน
  • ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง ไม่มองตามคนอื่นหรือวัตถุที่เคลื่อนไหว
  • ไม่เอามือเข้าปาก แขนหรือขาขยับไม่สัมพันธ์กัน หรือขยับข้างเดียว

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่

ในการดูแลสุขภาพทารก 2 เดือน คุณแม่ควรพาไปตรวจสุขภาพและรับการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด สำหรับการเลี้ยงดูนั้น ควรใส่ใจทารกวัยบอบบางเป็นพิเศษ โดยระวังสิ่งของอันตรายรอบตัว เพราะวัยนี้เริ่มคว้าหยิบจับของได้ และไม่ควรพูดเสียงดัง เพราะเด็กเริ่มได้ยิน ฟังและจดจำได้แล้ว 

 

อย่างไรก็ดี คุณแม่ควรมีเวลาดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองด้วย โดยออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือหยุดพักทบทวน ผ่อนคลายกายใจ ลดความเหนื่อยล้าในการดูแลลูกน้อยแรกเกิด คุณแม่อาจต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับลูกน้อย ดังนั้นจึงอาจจัดสรรเวลาดูแลความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณพ่อหรือคนรอบข้าง เพื่อเป็นการปรับตัวในวันที่เริ่มมีสมาชิกใหม่ในครอบครัว

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีสำหรับผู้ปกครอง, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  2. ส่วนสูงและน้ำหนักของพัฒนาการเด็ก 2 เดือน, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

อ้างอิง ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี