พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

05.03.2024

เด็กที่มีอายุ 3 เดือน คุณแม่จะสังเกตได้ถึงพัฒนาการของลูกเช่น ด้านกล้ามเนื้อ การขยับมือเพื่อหยิบจับสิ่งของ กางแขน กางขาได้มากขึ้น ในส่วนของการมองเห็นและการได้ยิน เด็กจะเริ่มหันมองไปตามเสียงที่ได้ยิน ด้านการมองเห็น เด็กจะเริ่มมองเห็นค่อย ๆ ชัดขึ้น มีการมองแยกสีได้มากขึ้น คุณแม่อาจจะหาของเล่นเพื่อให้ลูกได้หยิบจับ และมองสังเกตรูปทรงของของเล่น ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 3 เดือน คุณแม่จะสังเกตเห็นได้ถึงพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกอย่างชัดเจน เช่น พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการสื่อสาร พัฒนาการด้านการเรียนรู้ พัฒนาการด้านการเข้าสังคม เป็นต้น
  • คุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อย ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น หากต้องการเสริมพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร คุณแม่ควรมีการพูดคุย หัวเราะ กับลูกอยู่เสมอ และหากต้องการเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ คณแม่ควรมีการพูดคุยและโอบกอดอยู่เสมอเพื่อสร้างความอบอุ่นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับคุณแม่


เลือกอ่านตามหัวข้อ


พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กอายุ 3 เดือน เด็กจะเริ่มกางแขนและขาได้มากขึ้น มีการเอื้อมหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้มากขึ้น ยกศีรษะและอกได้ หันมองตามเสียงที่ได้ยินได้ คุณแม่อาจจะหาของเล่นที่มีรูปทรงต่าง ๆ หรือมีเสียงด้วยก็ได้เช่นกัน เพื่อกระตุ้นความสนใจและการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี


พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการสื่อสาร

เด็กอายุ 3 เดือน จะได้ยินและมีการมองเห็นของทารกที่ดีมากขึ้น เริ่มส่งเสียงโต้ตอบได้เมื่อได้ยินเสียงหรือมองเห็นสิ่งต่าง ๆ คุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านการสื่อสารให้แก่ลูกได้โดยการจัดให้เด็กนอนหงายและยื่นหน้าเข้าใกล้เด็กในระยะที่เหมาะสมและมีการ พูดคุย หัวเราะ หรือโอบกอดทารก เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย และปล่อยให้ทารกสัมผัสกับนิ้วมือของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี


พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการเรียนรู้

พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3 เดือน เช่น พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านภาษา คุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาโดยการหาของเล่นที่มีลักษณะเป็นสี มีรูปทรงต่าง ๆ และค่อย ๆ เลื่อนไปมาอย่างช้า ๆ เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กมองตามวัตถุ รูปทรงนั้น ๆ และคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา โดยการใช้ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กที่มีเสียง และเขย่าของเล่นให้เกิดเสียงแล้วเลื่อนไปมาอย่างช้า ๆ ให้เด็กมองตามเสียง หรือถ้าเด็กไม่หันมองตามเสียง ให้คุณแม่ประคองหน้าเด็กตามทิศทางของเสียงก็ได้เช่นกัน


พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านอารมณ์

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กอายุ 3 เดือน เด็กจะมีการยิ้มและส่งเสียงแสดงความรู้สึกได้บ้างแล้ว คุณแม่ควรเอาใจใส่ ให้ความรักและตอบสนองความต้องการของลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้เด็กเกิดความไว้วางใจคนมากขึ้น

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 3 เดือน


สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงทารก 3 เดือน

1. ไม่ปล่อยให้มือลูกสกปรก

ลูกน้อยเป็นวัยที่ชอบเอามือเข้าปาก การเอามือเข้าปากหรือการดูดนิ้วของเด็กในวัย 3 เดือน ถือว่าเป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการของเด็ก เป็นการเรียนรู้สิ่งของและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวของเด็ก หรือเด็กบางคนอาจใช้การเอามือเข้าปากเพื่อดึงดูดความสนใจจากคุณแม่ เพราะรู้ว่าเมื่อเอามือเข้าปากแล้วคุณแม่ต้องสนใจตัวเด็กมากขึ้นแน่นอน ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลความสะอาดมือของลูกน้อยให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าลูกจะเอามือเข้าปากเมื่อไหร่ จึงควรป้องกันไว้ก่อนที่สิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายของเด็กได้


2. ไม่ควรละเลยในการสื่อสารกับลูก

คุณแม่ควรพูดคุย หัวเราะ กับลูกบ่อย ๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กมีการเรียนรู้การสื่อสารกับคน คุณแม่จะต้องหมั่นทำกิจกรรมดังกล่าวกับลูกเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการสื่อสารโต้ตอบของลูกน้อยได้อย่างรวดเร็ว


3. ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง

เด็กอายุ 3 เดือน เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่หรือคนเลี้ยงดู ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง แค่ควรจะมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร และการเข้าสังคมที่ดีขึ้นอีกด้วย


เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 3 เดือน

พูดคุย และเล่นกับลูกบ่อย ๆ

คุณแม่ควรมีการพูดคุย หัวเราะ เล่นกับลูกบ่อย ๆ เพื่อเป็นการเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการสื่อสาร และด้านอารมณ์ ได้เป็นอย่างดี


ใช้ของเล่นเสริมสร้างการจดจำเสียงและรูปร่าง

การใช้ของเล่นที่มีรูปร่างและเสียงก็จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านการกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา เพราะเด็กจะมีการจับของเล่นในรูปทรงต่าง ๆ และได้ยินเสียงต่าง ๆ จากของเล่น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ รู้จักช่างสังเกตอีกด้วย


ให้นมแม่แก่ลูกน้อย

คุณแม่ควรให้เด็กกินนมแม่เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อเด็ก เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ทั้งยังมีโพรไบโอติกส์ ช่วยเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียตัวดีที่ช่วยในกระบวนการย่อย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อประสาทและจอประสาทตาของเด็ก ดังนั้นลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน และควรกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากในนมแม่ มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก


พัฒนาการของเด็กอายุ 3 เดือน เป็นสิ่งสำคัญที่บอกให้คุณแม่ทราบว่าพัฒนาการของลูกในตอนนี้ เหมาะสมตามวัยของเด็กหรือไม่ โดยคุณแม่สามารถดูได้จากตารางพัฒนาการของเด็กตามวัยของหน่วยงานที่เชื่อถือได้ต่าง ๆ ซึ่งหากพบว่าพัฒนาการของลูกช้ากว่าปกติ คุณแม่ควรกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของลูกในด้านนั้น ๆ ทันที หรืออาจจะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยของลูกต่อไป

 

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการทารก 3 เดือน และเคล็ดลับการเลี้ยงลูก, hellokhunmor
  2. ตารางพัฒนาการเด็กปฐมวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  3. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  4. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 3 เดือน, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ลูกชอบดูดนิ้ว ทำอย่างไรดี…??, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  6. 11 เหตุผลที่ลูกควรกินนมแม่, โรงพยาบาลพญาไท


อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก