ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายที่พ่อแม่ควรรู้

ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้

12.04.2024

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเคยเห็นลูกรักนั่งท่า w-sitting หรือนั่งท่าผีเสื้อ ซึ่งดูแล้วก็เป็นท่านั่งที่ดูแข็งแรงมั่นคงดี ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เป็นการฝึกให้ลูกนั่ง แต่ที่จริงแล้ว ท่านั่ง w-sitting แบบนี้มีผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูก ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรปรับท่านั่งของลูกให้เหมาะสมและดีต่อสุขภาพของลูก มาดูกันว่าท่านั่ง w-sitting ส่งผลอย่างไรต่อลูกรักของเราบ้าง

headphones

PLAYING: ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ท่านั่ง w-sitting ท่านั่งยอดฮิตในเด็กเล็ก เพราะเป็นท่าที่นั่งสบาย ลูกทรงตัวได้ดี แต่ความจริงแล้วมีข้อเสียมากกว่าที่คิด
  • การปล่อยให้ลูกนั่งท่า w-sitting ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกมีภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน เท้าแบน กระดูกสันหลังเรียงตัวผิดปกติ จนส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพในระยะยาวได้
  • ควรจัดท่านั่งให้เหมาะกับสรีระของลูก เช่น การนั่งขัดสมาธิ การนั่งเหยียดขาออกไปทางด้านหน้า การนั่งห้อยขาบนเก้าอี้ เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุ 7 เดือนขึ้นไป มักจะชอบนั่งท่า w-sitting หรือมักจะเผลอนั่งท่านี้อยู่เป็นประจำ เนื่องจากเป็นท่านั่งที่นั่งสบาย แข็งแรง มั่นคง นั่งได้ง่าย เด็ก ๆ จึงชอบนั่งท่านี้กัน ส่วนในมุมมองของผู้ใหญ่ เมื่อเห็นเด็ก ๆ นั่งท่านี้โดยที่ไม่มีอาการเจ็บปวดอะไร ก็สบายใจปล่อยให้ลูกนั่งต่อไป โดยไม่ทราบถึงผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง

 

ท่านั่ง w-sitting เป็นแบบไหน

ท่านั่ง w-sitting หรือท่านั่งผีเสื้อ เป็นท่านั่งที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ โดยจะคล้ายกับการนั่งคุกเข่าแบะขาออกด้านข้าง ให้ก้นสัมผัสพื้น ก้นของเด็กจะอยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสองข้าง เข่างอ ดูคล้ายรูป W

 

ทำไมเด็กถึงชอบนั่งท่า w-sitting

เด็ก ๆ มักจะชอบนั่งท่า w-sitting เนื่องจากเป็นท่านั่งที่รู้สึกสบาย มั่นคง แข็งแรง เพราะการที่ก้นสัมผัสกับพื้น อยู่ตรงกลางระหว่างขาสองข้างที่แบะออก ทำให้มีฐานรองรับน้ำหนักตัวกว้าง จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำ ไม่โอนเอน หรือล้มง่าย เด็ก ๆ จึงมักจะนั่งท่านี้ระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นั่งวาดรูป เล่นของเล่น เป็นต้น

 

ท่านั่ง w-sitting ส่งผลเสียกับพัฒนาการของลูกยังไงบ้าง

ท่านั่ง w-sitting เป็นท่านั่งที่ทำให้ข้อต่อของกระดูกต่าง ๆ ของลูกมีการบิดตัวที่ผิดปกติ เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและสุขภาพของลูก เช่น ทำให้เท้าบิดเข้าด้านใน มีปัญหากับการเดิน ท่าเดินผิดปกติ เกิดอาการปวดสะโพก ปวดข้อ ปวดเท้าตามมาในภายหลัง ลูกอาจจะหมุนหรือเอี้ยวตัวไม่ถนัด จนทำให้ร่างกายเสียสมดุล ล้มง่าย เคลื่อนไหวไม่สะดวก และไม่นุ่มนวล ซึ่งเด็กในวัยนี้ควรมีการเคลื่อนไหว ออกแรง ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และส่งเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ เมื่อลูกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น ก็ทำให้ลูกขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองตามไปด้วย

 

ปล่อยให้ลูกนั่งท่า w-sitting จะเป็นอะไรไหม พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี

 

ปล่อยให้ลูกนั่งท่า w-sitting ไปเรื่อย ๆ จะเป็นยังไง

การปล่อยให้ลูกนั่งท่า w-sitting เป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูก ดังต่อไปนี้

1. เท้าบิดเข้าด้านใน

เท้าบิดเข้าด้านใน คือภาวะความผิดปกติของเท้า ที่มักจะพบในเด็กอายุ 2-4 ปี ทั้งเด็กผู้หญิงและผู้ชาย เกิดจากความผิดปกติของกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ หัวสะโพกที่หมุนบิดไปข้างหน้ามากกว่าปกติ กระดูกหน้าแข้งที่หมุนเข้าในมากกว่าปกติ และกระดูกเท้าที่หมุนบิดเข้าในมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติที่กระดูกส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งสามส่วนเลยก็ได้ จึงทำให้รูปเท้าบิดเข้าใน จนทำให้ท่าเดินผิดปกติ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก และทำให้ลูกเสียบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น โดยการนั่งท่า w-sitting หรือการนั่งแบะขา คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระดูกส่วนหัวสะโพกของลูกบิดไปข้างหน้ามากกว่าปกติ จนทำให้ลูกเป็นภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน

 

2. เท้าแบน

จากการวิจัยของ European Journal of Pediatrics, Chen KC, 2010 พบว่า เด็กที่นั่งท่า w-sitting เป็นประจำตั้งแต่ก่อนวัยเรียน มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีเท้าแบน (Flat Foot) ทั้ง 2 ข้าง

 

3. การเรียงตัวของกระดูกสันหลังผิดปกติ

การนั่งท่า w-sitting เป็นประจำ ทำให้การเรียงตัวของกระดูกสันหลังผิดปกติไปจากแนวเดิมได้ โดยกระดูกสันหลังโค้งมีรูปร่างเหมือนตัวซี ซึ่งกระดูกสันหลังตามปกติควรจะเป็นรูปตัวเอส

 

4. ปวดเข่า ข้อ และสะโพก

ท่านั่ง w-sitting ทำให้ข้อสะโพกและข้อเข่าของลูกมีแรงบิดผิดปกติ จนอาจทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้

 

5. ปัญหาการทรงตัว เนื่องจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ

การนั่งท่านี้เป็นเวลานาน ทำให้เด็กเสี่ยงที่จะมีสรีระผิดรูป จนส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหว และการทรงตัว เช่น ข้อสะโพกหมุนเข้าด้านใน (hip internal rotation) เข่าชิดเข้าหากัน (knock knee) เท้าล้ม (foot pronation) จนส่งผลให้ทรงตัวไม่ดี ท่าเดินผิดปกติ ถ่ายน้ำหนักได้ไม่ดี เสียบุคลิกภาพ หากมีอาการที่รุนแรง ลูกอาจเสี่ยงที่สะโพกจะเคลื่อนหลุดออกจากเบ้าสะโพกได้

 

ลูกนั่งท่า w-sitting ไม่ควรดุหรือตี เพราะอะไร

เด็กที่นั่ง W-Sitting มักจะเริ่มต้นนั่งในวัยที่เปลี่ยนจากการคลานเป็นการนั่ง เนื่องจากเป็นท่านั่งที่ปรับเปลี่ยนมาจากการคลาน และเมื่อลูกนั่งจนพอใจแล้วก็สามารถคุกเข่า เอามือเท้ากับพื้น แล้วเริ่มคลานต่อได้เลย ซึ่งในวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ลูกกำลังเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและคนรอบตัว ลูกกำลังเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหว และเคลื่อนที่เพื่อสำรวจสิ่งต่าง ๆ การพูดห้าม ดุ หรือลงโทษเด็กบ่อย ๆ อาจทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัว ขาดความมั่นใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง กลัวที่จะทำผิด กลัวว่าจะทำอะไรให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ จนอาจทำให้ลูกไม่กล้าที่จะคิด ทำ หรือทดลองทำสิ่งใหม่ ขาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ตามไปด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรเตือนลูกอย่างใจเย็น มีเหตุผล นุ่มนวล และอดทน

 

คุณพ่อคุณแม่ช่วยปรับพฤติกรรมให้ลูกได้ ด้วยหลากหลายวิธี

คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับพฤติกรรมการนั่งของลูกได้ด้วยการคอยสังเกต และจัดท่านั่งให้ลูกใหม่ทุกครั้งที่เห็นลูกนั่งท่า w-sitting โดยการชวนลูกเปลี่ยนท่านั่งใหม่ไปด้วยกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกท่านั่งที่เหมาะสำหรับสรีระของลูกได้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็นการนั่งขัดสมาธิ การนั่งเหยียดขาออกไปทางด้านหน้า การนั่งห้อยขาบนเก้าอี้ เป็นต้น ชวนลูกออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก และกล้ามเนื้อส่วนอื่นที่จำเป็นต่อการยืนและเดิน หากลูกยังมีอาการที่ไม่ดีขึ้น หรือพบเจอความผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี

 

การนั่งท่า w-sitting จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอย่างที่คิด หากคุณพ่อคุณแม่คอยใส่ใจสังเกตลูก และดูแลลูกอย่างใกล้ชิด นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพและบุคลิกภาพให้ลูกแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. มารู้จักท่านั่ง w-sitting กันเถอะ, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. เท้าบิดเข้าใน ภาวะในวัยเด็กที่พ่อแม่ควรเฝ้าจับตา, โรงพยาบาลพญาไท
  3. 8 คำพูด ที่ไม่ควรพูดกับลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก