ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี

02.04.2024

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด หายใจไม่สะดวก หายใจแรง หายใจเร็วกว่าปกติ คุณแม่ต้องคอยสังเกตเสียงหายใจผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะนอกจากอาการหวัด ทารกน้อยอาจมีอาการหอบหืด หรือความผิดปกติของระบบหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้เสียงหายใจครืดคราดมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง ไอมาก อ่อนเพลียมาก ไม่ยอมดูดนม ซึม ไม่ร่าเริงแบบปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์

headphones

PLAYING: ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • หายใจครืดคราด หายใจหอบในเด็กทารก อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เป็นหวัด เป็นหอบหืด หรือโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตเสียงหายใจ หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
  • การดูแลทารกน้อยที่มีอาการหายใจครืดคราด ทารกอายุเกิน 6 เดือน พยายามกระตุ้นให้กินนมแม่ หรือจิบน้ำแต่น้อยแต่จิบบ่อย ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกายเมื่อมีไข้หรือเสมหะในลำคอ
  • อาการที่มักพบเมื่อทารกหายใจครืดคราด ได้แก่ มีไข้สูง ไอมาก อ่อนเพลียมาก ไม่ยอมดูดนม ซึม ไม่ร่าเริงแบบปกติ ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ร่างกายของทารกยังไม่แข็งแรง ทำให้มีอาการป่วยได้ง่าย

ร่างกายของทารกยังไม่แข็งแรงมากนัก โดยเฉพาะเมื่อเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ทารกเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะอาการหวัดหรือไข้หวัด อาการที่สังเกตได้ ดังนี้

  • ทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน อาการหวัดที่มีอาการไข้
  • ไข้สูงกว่าเดิม นานติดต่อกันมากกว่า 2 วัน
  • มีอาการไอ ไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์
  • ปวดศีรษะ ปวดหู เจ็บคอ
  • มักร้องงอแงมากกว่าปกติ
  • ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป บางคนมีอาการเบื่ออาหาร เกิดจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย
  • หายใจลำบาก หายใจเสียงดังครืดคราด จมูกบานขณะหายใจ
  • หายใจมีเสียงหวีด หายใจเร็ว
  • สังเกตบริเวณลำตัวทารกจะเห็นว่ามีลักษณะซี่โครงบานเวลาหายใจ
  • ปากมีลักษณะซีด

 

ทารกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร

ทารกหายใจครืดคราดโดยทั่วไปเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะกระบวนการหายใจยังไม่พัฒนาเต็มที่ และมักจะหายใจทางจมูกมากกว่าทางปาก ช่องทางการหายใจของทารกเล็กกว่าผู้ใหญ่มาก เมื่อมีน้ำมูกหรือเสมหะคั่งค้าง ทำให้เวลาหายใจจึงมีเสียงดังออกมา นอกจากนี้ทารกหายใจครืดคราด ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก ได้แก่

  • ไข้หวัดทั่วไป เป็นสาเหตุทำให้หายใจครืดคราด เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ส่งผลให้ต่อมอะดีนอยด์ที่อยู่ในโพรงจมูกขยายตัวขึ้น และเกิดการอักเสบ จึงขัดขวางทางเดินหายใจทำให้หายใจไม่สะดวก คัดจมูกและมีเสียงครืดคราดได้
  • อาการแพ้ อาการแพ้เป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แพ้ไรฝุ่น แพ้ขนสัตว์ มักมีอาการคัดจมูก ไอ จาม หรือเกิดลมพิษ
  • โรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) เนื่องจากติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้หลอดลมอักเสบ บวม เสมหะคั่งค้าง เกิดการระคายเคือง ทำให้ทารกหายใจลำบาก หายใจมีเสียงครืดคราด รวมถึงมีอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย
  • โรคปอดบวม ส่งผลให้ทารกหายใจลำบาก หายใจมีเสียงครืดคราด เกิดจากติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียภายในปอด นอกจากนี้ยังมีอาการหอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก หนาวสั่น เป็นไข้ ทำให้ทารกไม่ยอมกินนมหรือกินอาหารอีกด้วย

 

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด อันตรายไหม

อาการหายใจครืดคราดสำหรับทารกถือเป็นเรื่องปกติ มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุที่ไม่ใช่เรื่องอันตราย หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจหรือหากทารกมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด ไอ จาม ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและรับคำแนะนำในการดูแลลูกต่อไป

 

ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงได้บ้าง

อาการคัดจมูก เกิดจากอาการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณจมูก ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด ภูมิแพ้ในเด็ก ไซนัส ไข้หวัดใหญ่ อาการคัดจมูกทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้นด้วยวิธีการ ดังนี้

  • สูดไอน้ำอุ่นจากฝักบัวอาบน้ำหรือถ้วยน้ำร้อน ต้มน้ำ 4-6 ถ้วย ใช้ผ้าขนหนูกางบริเวณศีรษะเพื่อให้เก็บไอร้อนให้มากขึ้น ทำติดต่อกันประมาณ 10-15 นาทีต่อครั้ง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือดื่มน้ำผลไม้เพื่อลดความเหนียวข้นของน้ำมูก
  • นอนพักผ่อนในที่ที่มีความชื้นเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้
  • สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก เมื่อมีอาการคัดจมูก ใช้น้ำเกลือหยอด 2-3 หยด ลงในจมูก แล้วใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก การหยดน้ำเกลือจะทำให้น้ำมูกลดความเหนียวข้น ทำให้ดูดออกได้ง่ายกว่า
  • นอนหลับในท่าคว่ำ ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้
  • ในกรณีที่สามารถทำได้และลูกโตเพียงพอ อาจใช้น้ำเกลือสะอาดล้างจมูกลูกอย่างถูกวิธี
  • ใช้แผ่นแถบกาวแปะที่สันจมูกเพื่อเปิดโพรงจมูกสำหรับเด็ก สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือห้างสรรพสินค้า และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้

 

เสียงหายใจของทารกแบบไหน ต้องรีบพาไปหาหมอ

หากลูกมีอาการเจ็บป่วย เริ่มต้นจากการไอ ลูกมีน้ำมูกเป็นหวัด มีเสมหะ รวมถึงเสียงหายใจของลูก มีลักษณะผิดปกติ เช่น มีเสียงหวีดในช่วงหายใจออก หากเป็นมากขึ้นหรือหายใจถี่ขึ้น หายใจลำบากมีอาการหอบเหนื่อยแสดงออกมาให้เห็นเด่นชัด นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย ๆ และเด็กบางคนมีอาการอาเจียนออกมา หากเป็นเช่นนี้ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจมีอาการของโรคหอบได้

 

เสียงหายใจครืดคราดของทารกที่ผิดปกติ

  • หายใจครืดคราดไม่หาย แม้อาการป่วยอื่น ๆ จะหายแล้วก็ตาม
  • สังเกตบริเวณหน้าอกมีการหดกลับทุกครั้งที่หายใจ บริเวณกระดูกไหปลาร้าและกระดูกซี่โครง
  • หายใจแล้วรูจมูกบาน หายใจลำบาก
  • หายใจแต่ละครั้งมีเสียงครางออกมา
  • มีภาวะหายใจเร็ว คือ มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
  • มีภาวะหยุดหายใจ เป็นเวลานานกว่า 20 วินาที
  • รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่คุณแม่ไม่มั่นใจ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

ลูกหายใจมีเสียงแปลก ๆ บ่งบอกอะไรได้อีก นอกจากหวัด

อาการหายใจเสียงแปลก ๆ เช่น หายใจมีเสียงหวีด หายใจหอบเหนื่อย หายใจจนหน้าอกบุ๋ม อาจเป็นอาการติดเชื้อไวรัส RSV มักทำให้เกิดหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี นอกจากหายใจเสียงดังหวีด ยังมีอาการไข้ ไอ จาม ร้องกวน ซึม รับประทานนมหรืออาหารได้น้อย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน

 

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราดอันตรายไหม พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

 

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด อาการร่วมแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์

ทารกมีอาการหายใจครืดคราด หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยอาจไม่ใช่เพียงไข้หวัดธรรมดา เช่น “โรคปอดบวม” ที่เป็นโรคทางเดินหายใจอีกโรคหนึ่งที่ทำให้ทารกมีเสียงหายใจที่ผิดปกติ โรคปอดบวม เกิดจากถุงลมเล็ก ๆ นับล้านในปอดอักเสบ เมื่อถุงลมเกิดการอักเสบทำให้เด็กแต่ละคนมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงแตกต่างกันไป หากลูกน้อยมีอาการดังนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

  1. มีไข้สูง 39–40 องศาเซลเซียส
  2. ไอมาก หายใจเร็ว หน้าอกบุ๋มขณะหายใจ
  3. อ่อนเพลียมาก
  4. ไม่ยอมดูดนม เบื่ออาหาร
  5. ซึม ไม่ร่าเริงแบบปกติ

 

วิธีดูแลทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด

สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้ลูกน้อยเจ็บป่วยเป็นไข้หวัด หายใจครืดคราดได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก วิธีดูแลเมื่อลูกมีอาการหวัด คัดจมูก หายใจครืดคราด ดังนี้

  • หากลูกมีอาการคัดจมูก ให้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำเกลือสะอาดปราศจากเชื้อ (แบบบรรจุขวด) ล้างจมูกอย่างถูกวิธี หรือใช้สเปรย์น้ำเกลือแบบพ่น ทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ทำทุกวัน ๆ ละ 2 ครั้ง น้ำเกลือช่วยฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดจมูก ลดอาการข้นเหนียวของน้ำมูก ทำให้น้ำมูกใสและไหลสะดวกขึ้น
  • ดูดน้ำมูกออกจากจมูก โดยให้ลูกนอนท่าตะแคงหรือนอนยกหัวสูง จึงค่อยดูดน้ำมูก นอกจากนี้หากห้องเย็นมาก ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย
  • นำหัวหอมแดง บุบหยาบ ๆ ห่อใส่ผ้าขาวบางหรือผ้าเช็ดหน้า วางไว้หัวเตียงหรือวางไว้ข้างหมอน กลิ่นน้ำมันหอมระเหยในหอมแดงอาจจะช่วยให้หายใจคล่องขึ้น
  • ทาขี้ผึ้งหอมระเหยที่คอ หน้าอก และหลัง กลิ่นหอมจะทำให้หายใจสะดวกขึ้น ระวังอย่าใช้ขี้ผึ้งมากเกินไป หรือกลิ่นแรงเกินไปอาจทำให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบได้
  • จิบน้ำอุ่น เพื่อให้น้ำมูกใสขึ้น ไม่เหนียวข้นจนหายใจไม่ออก

 

เสียงหายใจครืดคราดในทารก มีทั้งหายใจครืดคราดแบบปกติสำหรับทารกที่ระบบการหายใจยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กับหายใจครืดคราดที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ไอ จาม หายใจจนหน้าอกบุ๋ม หรือมีเสียงหวีดควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยด่วน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ไข้หวัด ตามฤดูกาล (Common Cold), Medpark hospital
  2. ลูกหายใจครืดคราด รู้จักสาเหตุและสัญญาณที่ควรรีบพาไปพบแพทย์, pobpad
  3. อาการคัดจมูก ในลูกรัก, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. อย่าปล่อยให้ลูกต้องทรมานกับอาการหอบ หืด, โรงพยาบาลเปาโล
  5. RSV ไวรัสร้ายใกล้เจ้าตัวน้อย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  6. ปอดบวมในเด็กเล็ก, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
  7. ลูกคัดจมูก หายใจครืดคลาด ทำอย่างไรดี, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์

อ้างอิง ณ วันที่ 27 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก