คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

16.02.2024

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ได้ 4 เดือน เด็กในครรภ์จะเริ่มมีขนาดตัวประมาณ 16 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 100 กรัม ในส่วนของคุณแม่นั้นก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม ระบบย่อยอาหารมีการเปลี่ยนแปลงเช่น อาการท้องผูก ท้องอืดและท้องเฟ้อเป็นต้น คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีนเพราะช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน ร่างกายต้องการโปรตีนสูง และควรเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคุณแม่มากนัก และควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กในครรภ์

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือนมีหลากหลายอาการ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นตะคริว ท้องผูก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และอื่น ๆ ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้น และรักษาสุขภาพให้ดีที่สุดเพื่อสุขภาพของคุณแม่เองและเด็กในครรภ์
  • เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 4 ทารกในครรภ์เริ่มมีขยับตัว และมีการเตะ ต่อย การพลิกตัวไปมาบ่อยครั้งจนคุณแม่รู้สึกได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการขยับตัว การดิ้นอย่างมากของทารกในครรภ์ไม่ได้เป็นความผิดปกติแต่อย่างใด โดยเด็กจะขยับตัวและดิ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุครรภ์ 8 เดือน หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ต่อไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน ทารกจะมีน้ำหนักตัวราว 100 กรัม ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยมีลำตัวยาวประมาณ 16 เซนติเมตร

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มกี่กิโลกรัม เมื่อเทียบกับก่อนตั้งครรภ์

คุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน หรือ ท้อง 17 สัปดาห์ จะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 4-5 กิโลกรัม เมื่อนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มกี่กิโลกรัม

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน จะมีอาการอย่างไร

  • มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการนี้พบมากในคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน เกิดจากระบบย่อยอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้องให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานจำพวกอาหารที่มีกากใยสูง เช่นผักและผลไม้ที่มีกากใยช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารให้ดียิ่งขึ้น
  • เป็นตะคริว อาการเป็นตะคริวอาจเกิดจากร่างกายมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือภาวะร่างกายขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม และควรดื่มน้ำในปริมาณที่แนะนำคือ 6-8 แก้วต่อวัน ก็สามารถช่วยลดอาการเป็นตะคริวลงได้
  • ท้องผูก คุณแม่ควรรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง และดื่นน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น สามารถลดอาการท้องผูกลงได้
  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หลอดเลือดเกิดการหย่อนตัวและไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญได้มากพอ ทำให้ความดันเลือดต่ำจนอาการอ่อนเพลียและความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ได้เช่นกัน
  • ผิวคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริเวณใบหน้า คอ ลำตัว รักแร้ อาการทั้งหมดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่คอยกระตุ้นให้สีผิวเข้มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการตากแดดกลางแจ้ง และการใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื่นอยู่เสมอและปรับสภาพผิวให้กลับสู่สภาพเดิม
  • มีเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้อง อาการเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือไปจนถึงหัวหน่าว พบได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์แต่อย่างใด ส่วนสาเหตุเกิดมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาการเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องจะหายไปตามเองหลังจากคุณแม่คลอดแล้ว ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องรักษาหรือดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด

 

ท้อง 4 เดือนลูกจะเริ่มดิ้นหรือยัง

คุณแม่อายุครรภ์ขึ้นเดือนที่ 4 จะรับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูกในครรภ์ หากลูกในครรภ์ดิ้นมากและดิ้นแรงก็เป็นอาการปกติ ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด แต่หากลูกดิ้นแรงและหยุดไปเลย อาการนี้อาจเกิดความผิดปกติของลูกในครรภ์ คุณแม่ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที และควรมีการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องเช่น การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ และการตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดทารกในครรภ์ เป็นต้น

 

ท้อง 4 เดือน จะรู้เพศของลูกชัวร์หรือไม่

หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ แล้วคุณแม่ส่วนใหญ่จะต้องอยากรู้ว่าได้ลูกชายหรือลูกสาวกันแน่ ซึ่งในช่วงระยะครรภ์ 4 เดือน คุณแม่สามารถตรวจเพศของลูกได้ด้วย 3 วิธี ดังนี้

  1. อัลตราซาวด์ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดที่ว่าลูกน้อยในท้องต้องให้ความร่วมมือกับคุณหมอด้วยการอยู่ในท่าที่เหมาะสม ไม่หนีบขา ส่วนความแม่นยำนั้นต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคุณหมอที่ตรวจด้วย
  2. เจาะเลือดตรวจโครโมโซมหรือที่เรียกกันว่า "NIPT" (Non-Invasive Prenatal Testing) จริง ๆ แล้วเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความผิดปกติของลูกในครรภ์โดยการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ผลการตรวจทำให้สามารถทราบเพศของลูกได้ โดยใช้เวลารอผลตรวจประมาณ 1 สัปดาห์ มีความปลอดภัยและความแม่นยำสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์ แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย
  3. การเจาะน้ำคร่ำ วิธีนี้หากไม่มีความเสี่ยงหรือความผิดปกติของลูกในครรภ์ คุณหมอจะไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้ โดยคุณหมอจะใช้เข็มเล็กและยาวแทงลงไปทางหน้าท้องเข้าไปยังถุงน้ำคร่ำและดูดน้ำคร่ำออกมาตรวจ โดยทั่วไปจะเน้นในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นหลักแต่ก็สามารถระบุเพศได้เช่นกัน ผลที่ได้มีความแม่นยำสูงไม่ต่างจากวิธีตรวจ NIPT แต่ราคาจะย่อมเยากว่า

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ควรดูแลตัวเองให้ครบทุกข้อ

  • เน้นรับประทานผักผลไม้ ที่มีกากใยสูง เนื่องจากคนท้องจะมีอาการท้องผูกได้ง่าย กากใยจากผักผลไม้จะช่วยให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น อีกทั้งยังได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่ส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่ด้วย เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย แอปเปิล เป็นต้น
  • เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปกติ หากคุณแม่ได้รับไม่เพียงพอจะเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน หรือ โยคะ การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยให้หัวใจ ปอด และร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ช่วยเรื่องการนอนหลับ ช่วงอายุครรภ์ 4 เดือนแนะนำการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือเล่นโยคะ เพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้พร้อมรองรับน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรเครียด เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ โดยจะมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดต่ำลง และความเครียดจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ หากอายุครรภ์น้อยมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแท้งได้ หรือมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด
  • พบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง โดยปกติอายุครรภ์ 4 เดือนหมอจะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ เพื่อติดตามอาการของคุณแม่ ในกรณีที่มีความเสี่ยง สามารถทำอัลตราซาวด์หรือตรวจโครโมโซม เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลูกได้

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

 

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์เดือนที่ 4 คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวของคุณแม่เองและลูกในครรภ์ ซึ่งอาจจะมีรู้สึกผิดแปลกไปจากเดิมบ้าง คุณแม่ค่อย ๆ ปรับตัวให้เคยชินกับความเปลี่ยนแปลงนี้ และควรหมั่นดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี เพื่อสุขภาพของคุณแม่และการเจริญเติบโต พัฒนาการที่ดีของลูกในครรภ์ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  2. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  4. ตะคริวระหว่างตั้งครรภ์ สามารถป้องกันดูแลได้, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  5. อาการหน้ามืด อ่อนเพลียในคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์
  6. 6 ปัญหาผิวช่วงตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรับมือ, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  7. อยากรู้เพศลูกตั้งแต่แรกเพื่อเตรียมความพร้อม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  8. โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  9. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  10. ความเครียดของคุณแม่ตั้งครรภ์..สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้นะ!, โรงพยาบาลพญาไท
  11. ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร ตอบข้อสงสัยคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม ถ้าอยากกิน ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ กินยังไงไม่ให้กระทบกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ไปดูกัน

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์กินสับปะรดได้หรือเปล่า กินมากไปอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ชาไทยมีคาเฟอีนไหม กินทุกวันอันตรายหรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์กัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกินและช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กับสุขภาพกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก