ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งแบบไหน ที่คนท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งแบบไหนที่ควรเลี่ยง

31.03.2024

สรีระร่างกายของคุณแม่จะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ส่งผลให้การนอน การนั่งของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นไม่สะดวกคล่องแคล่วเหมือนเดิม โดยเฉพาะการนอน การนั่งไม่ถูกท่าของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการลดประสิทธิภาพในการนอนพักผ่อน ทำให้ปวดหลัง หรือทำให้กล้ามเนื้อก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเอาใส่ใจดูแล การนั่ง การนอนของตนเองในแต่ละไตรมาสให้ถูกวิธี เพื่อผลดีต่อสุขภาพตัวเองและลูกน้อยในครรภ์ 

headphones

PLAYING: ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งแบบไหนที่ควรเลี่ยง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ท่านอนคนท้องที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนไปมาได้ระหว่างช่วงอายุครรภ์ ตอนท้องไตรมาสแรกอาจจะนอนหงาย แต่หลังจากนั้นควรนอนตะแคง โดยความเชื่อเรื่องนอนตะแคงซ้ายเป็นที่นิยม เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี แต่จริง ๆ แล้วนอนตะแคงด้านขวาก็ปลอดภัย จากผลการศึกษาทางการแพทย์ไม่พบว่าด้านที่ตะแคงมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อย่างแตกต่างกันจริง ๆ
  • อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดท่าทางการนอน คือ หมอนรูปตัวยู หมอนรูปตัวซี และหมอนรูปลิ่ม ทำให้นอนได้สบายตัวขึ้น
  • ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ หลีกเลี่ยงการนอนหงายและคว่ำ เพราะอาจทำให้หายใจลำบาก หรือปวดท้อง ทั้งมดลูกและหน้าอกที่ขยายจะถูกกดทับจนอึดอัดได้
  • เมื่อนั่งในระหว่างตั้งครรภ์ ให้รักษาท่าทางที่เหมาะสมโดยให้หลังตรง ยืดไหล่ และพยุงหลังส่วนล่างด้วยอุปกรณ์หรือนั่งเก้าอี้ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะให้มีอุปกรณ์พยุงหลัง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้หลังตึงเกินไป หรือกระจายน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องนอนท่าไหนดี ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง

 

ท่านอนคนท้องอ่อน ช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรก)

 

1. ท่านอนคนท้องอ่อน ช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรก)

ไตรมาสแรกคุณแม่สามารถนอนท่าไหนก็ได้ แต่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการนอนตะแคงข้างโดยหาหมอนข้างมาหันกอดไว้ระหว่างขา จะช่วยลดความรู้สึกไม่สบายบริเวณสะโพกและร่างกายส่วนล่างได้ หรือว่าคุณแม่จะหาซื้อหมอนรองเข่า (Orthopedic Knee Pillow) มาเพื่อใช้นอนตะแคงและแทรกหมอนไว้ที่ระหว่างขาบริเวณเข่าก็ได้ เป็นการฝึกให้ชินกับการนอนตะแคง

 

ท่านอนคนท้อง ช่วงไตรมาสที่สอง (3-6 เดือน)

 

2. ท่านอนคนท้อง ช่วงไตรมาสที่สอง (3-6 เดือน)

ท้องของคุณแม่จะโตขึ้น น้ำหนักก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ควรจะต้องให้แน่ใจว่าที่นอนไม่ยวบนุ่มจนเกินไป ถ้าหากว่าที่นอนซึ่งนอนอยู่ยวบนุ่มและสปริงตัวเกินไป ควรลองหาแผ่นไม้มาสอดทับคั่นระหว่างฟูกและพื้นเตียงด้านล่างจะช่วยได้ และอาจจะดูหมอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีรูปร่างเป็นตัวยูหรือตัวซี นำมาใช้นอนตะแคงจะพบว่าเข้าทรงรับให้ก่ายขาได้ถนัด

 

ท่านอนคนท้องแก่ ช่วงไตรมาสที่สาม (6-9 เดือน)

 

3. ท่านอนคนท้องแก่ ช่วงไตรมาสที่สาม (6-9 เดือน)

หมอนคนท้องยังเป็นของใช้ที่มีประโยชน์ แต่ถ้าพบว่ารู้สึกไม่สบายตัวเหมือนเคย อาจจะหาหมอนทรงลิ่ม (wedge pillow) มาใช้กับหน้าท้อง ทำให้รู้สึกว่าหน้าท้องไม่ลอยขึ้นมา และลดการกลิ้งตัวไปมาตอนทีเผลอ หรือใช้แทนหมอนบริเวณหัวเตียง ซึ่งจะใช้หมอนธรรมดามาหนุนร่างกายส่วนบนให้ทำมุม 45 องศาก็ได้ผลเหมือนกัน การหนุนให้ศีรษะและร่างกายส่วนบนอยู่สูงขึ้น คุณแม่จะไม่นอนหงายไปเลยเฉย ๆ ลดการกดทับที่หลอดเลือด หรืออีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือให้ยกหัวเตียงขึ้น 2-3 นิ้ว ถ้าหัวเตียงปรับได้

 

ข้อถกเถียงเรื่องท่านอนคนท้อง ในส่วนการนอน “ตะแคงซ้าย” มักจะเป็นท่าที่ยอมรับกันว่าดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งท้อง นั่นเพราะคำนึงถึงตำแหน่งอวัยวะต่าง ๆ หลอดเลือดดำขนาดใหญ่ (Inferior Vena Cava (IVC) ขนานอยู่กับกระดูกสันหลังทางด้านขวา หลอดเลือดนี้นำเลือดไปถึงทั้งหัวใจและลูกน้อยของคุณแม่ พอนอนตะแคงข้างซ้ายก็น่าจะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อตับและไตด้วย ส่งผลบรรเทาอาการบวมที่มือ ข้อเท้าและเท้าของคุณแม่ แต่ก็มีผลการศึกษาออกมาแล้วว่าการนอน “ตะแคงขวา” ปลอดภัย ดังนั้นจากผลการศึกษาทางการแพทย์ ก็สรุปว่าคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอนอนหันท่าไหน ให้เลือกจากที่รู้สึกสบายตัว

 

ท่านอนที่คนท้องไม่ควรทำ

  • นอนหงาย เพราะจะหายใจยากขึ้นขณะนอนหงาย เนื่องจากน้ำหนักที่กดทับลำไส้ อาจจะทำให้เกิดปัญหาปวดท้อง นอกจากนี้ด้วยขนาดท้องที่ใหญ่จะดันกระบังลมขึ้น ทำให้ปอดมีความจุลดลง หายใจไม่อิ่มก็ทำให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อน
  • นอนคว่ำ เพราะหน้าท้องจะกดทับมดลูกที่กำลังขยายตัว และหน้าอกที่ขยายขนาดจะไปเบียดกับเตียงได้

 

ท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • นั่งหลังตรง ไหล่ตึงรั้งไปทางด้านหลัง บั้นท้ายชิดด้านในของเก้าอี้ หรือพนักพิง
  • นั่งโดยมีอุปกรณ์รองรับน้ำหนักหลัง หรือจะหาอุปกรณ์อื่นมาช่วยก็ได้ เช่น ผ้าที่ม้วนหนา หรือหมอนคนท้องที่มีจำหน่ายในร้านค้าหลายแห่ง
  • นั่งโดยกระจายน้ำหนักไปที่สะโพกทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
  • นั่งโดยให้สะโพกและหัวเข่าอยู่ในมุมที่ถูกต้อง ไม่หดขาหรือยืดขามากจนเกินไป อาจจะใช้ที่วางเท้าหรือเก้าอี้เล็ก ๆ หากจำเป็น ไม่บิดเอวระหว่างนั่ง ถ้าจะหันตัวให้ขยับหันทั้งร่างแทน
  • ไม่นั่งอยู่ในท่าเดิมเกิน 30 นาที หรือถ้ามีอาการปวดหลัง ไม่ควรเกิน 10-15 นาทีในแต่ละครั้ง

 

ท่านั่ง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ

อ้างอิงจากท่านั่งที่แนะนำไป สามารถพิจารณาว่าท่านั่งที่ควรหลีกเลี่ยง ประกอบด้วยท่านั่งดังนี้

 

  1. ท่านั่งหลังงอ ปล่อยให้ไหล่งุ้มลง บั้นท้ายไม่วางเต็มที่นั่ง หรือไม่ติดด้านล่างของพนักพิง
  2. ท่านั่งโดยไม่มีที่พิงหลัง จะไม่มีอุปกรณ์รองรับน้ำหนัก ด้วยน้ำหนักของหน้าท้อง อาจจะทำให้เมื่อเอนหลังไม่ได้ คุณแม่ก็จะนั่งหลังงอแทน
  3. ท่านั่งขาลอย ขาอาจจะยืดจนเมื่อยได้ถ้าไม่มีที่วางเท้าหรือเก้าอี้เล็ก ๆ รองรับน้ำหนักไว้
  4. ท่านั่งโน้มตัวไปข้างหน้า จะทำให้น้ำหนักกระจายไปที่สะโพกทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
  5. ท่านั่งยอง จะมีแรงอัดในผิวข้อที่สูงมากกว่าท่าที่คุณแม่ยืนตรง ๆ 7-10 เท่า ปกติแล้วท่านั่งยองนี้ก็จะทำให้มีอาการเจ็บข้อได้

 

การนอน และท่วงท่าการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดความอยู่ดีมีสุขของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ เพราะถ้าไม่ดูแลให้เหมาะสมกับสรีระที่เปลี่ยนไป ก็จะทำให้ปวดเมื่อยและไม่สบายตัว เกิดความเหนื่อยล้าได้ แต่ถ้าดูแลดีตั้งแต่ต้น หมั่นนอนในท่าที่ไม่คุ้นให้คุ้นชิน ใช้หมอนมาเสริม และดูแลท่าทางอื่น ๆ อย่างการนั่งไปพร้อม ๆ กัน ความกังวลด้านสุขภาพในประเด็นว่าจะนอนพักผ่อนไม่เป็นสุข หรือนั่งแล้วจะปวดเมื่อยก็ลดลงได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. What Are the Best Sleeping Positions When You’re Pregnant?, Healthline
  2. An Individual Participant Data Meta-analysis of Maternal Going-to-Sleep Position, Interactions with Fetal Vulnerability, and the Risk of Late Stillbirth, eClinicalMedicine
  3. Positioning While Sleeping, WebMD
  4. Good Posture During Pregnancy, WebMD
  5. เคล็ดลับการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  6. นั่งยอง ๆ เสี่ยงโรคข้อเสื่อม?, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 26 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก