คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง

คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง

16.02.2024

ท้อง  3  เดือนหรือตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ เป็นช่วงสำคัญในการดูแลตัวเอง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่หลายอย่าง รวมไปถึงพัฒนาการของลูกน้อยในท้อง อายุครรภ์ 3 เดือนท้องใหญ่แค่ไหน ลูกดิ้นหรือยัง อาการคนท้อง 3 เดือน และสิ่งที่คุณแม่ควรทำเพื่อให้ครรภ์นี้แข็งแรงปลอดภัย

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง

อ่าน 10 นาที

 

สรุป

  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายคุณแม่ช่วงท้อง 3 เดือน ได้แก่ เต้านมขยาย หน้าท้องขยาย แพ้ท้องน้อยลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย
  • พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ระยะนี้ มีอวัยวะครบแล้ว แต่ยังต้องพัฒนาต่อ สามารถขยับแขนขา ศีรษะ อ้าปาก หุบปาก ดูดนิ้ว และสะอึกได้แล้ว
  • ขนาดของทารกอายุครรภ์ 3 เดือนเทียบได้กับ ลูกมะนาว
  • เนื่องจากหน้าท้องเริ่มขยาย คุณแม่ควรเริ่มทาครีมป้องกันรอยแตก ท้องลาย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สำคัญ ได้แก่ หน้าท้องขยาย เต้านมขยาย ทารกในครรภ์ก็มีพัฒนาการอย่างมาก ตอนนี้ลูกน้อยมีอวัยวะครบแล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญในการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งเรื่องสุขภาพ ผิวพรรณ รวมไปถึงความเสี่ยงในการแท้งที่ยังคงมีโอกาสแท้งสูงในไตรมาสแรก

 

เมื่ออายุครรภ์ 3 เดือน ลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

ลูกน้อยในท้องคุณแม่อายุได้ 3 เดือนแล้ว ตอนนี้ลูกน้อยมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 3 นิ้ว และมีขนาดเทียบได้กับ “ลูกมะนาว” ระบบย่อยอาหาร กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกกำลังพัฒนา นิ้วมือและนิ้วเท้าแต่ละนิ้วเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ไตเริ่มทำงาน ปฏิกิริยาตอบสนองกำลังพัฒนา ไขกระดูกกำลังผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว อวัยวะเพศกำลังพัฒนา (หมายความว่าในไม่ช้าคุณแม่จะรู้เพศลูกแล้ว)

 

อายุครรภ์ 3 เดือนลูกดิ้นได้แล้วหรือยัง

คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวมากนักในช่วงท้อง 3 เดือน หรือ ท้อง 8 สัปดาห์ เนื่องจากลูกน้อยยังมีขนาดเล็ก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทารกเริ่มขยับแขน ขา และศีรษะได้ สามารถอ้าปาก หุบปาก ดูดนิ้วได้ ภายในท้องของคุณแม่ ลูกน้อยอาจกำลังดูดนิ้วโป้งหรือทารกสะอึก อยู่ก็ได้

 

ในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16-20 หรือ ช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน คุณแม่จึงจะเริ่มรู้สึกว่า “ลูกดิ้น” ได้อย่างชัดเจนโดยการเคลื่อนไหวของทารกมีสารพัดท่าทั้งเตะ ต่อย พลิกตัว และม้วนตัวอยู่ภายในท้องคุณแม่

 

อาการของคุณแม่ท้อง 3 เดือน

 

อาการของคุณแม่ท้อง 3 เดือน

อาการแพ้ท้องอาจลดลงเล็กน้อยเมื่อผ่านไปประมาณ 8 ถึง 10 สัปดาห์ แม้อาการแพ้ท้องเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน สำหรับคุณแม่ที่ไม่มีอาการแพ้ท้องเลย ถือว่าโชคดีมาก ๆ อย่างไรก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ต้องเผชิญกับฮอร์โมนที่แปรปรวน คุณแม่ท้อง 3 เดือน อาจมีอาการ ดังนี้

  • ปวดศีรษะ อายุครรภ์ 3 เดือนเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น หากคุณแม่ท้องระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ขาดน้ำ เครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจรู้สึกปวดศีรษะ คุณแม่ควรหากิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด รวมถึง ดูแลสุขภาพมากขึ้น อาการปวดศีรษะจะค่อย ๆ ดีขึ้น
  • อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เกิดจากระดับฮอร์โมนและความดันโลหิตของคนท้อง 3 เดือนที่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่จึงอาจมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ แต่ไม่รุนแรง เพียงได้นั่งพักหรือนอนพัก ก็จะรู้สึกดีขึ้น โดยคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย และวิงเวียนศีรษะได้โดยการกินของว่างระหว่างมื้อ และดื่มน้ำเยอะ ๆ

 

อาการข้างต้น ถือเป็นอาการปกติของคนท้อง 3 เดือน คุณแม่ยังไม่ต้องกังวล แต่หากคุณแม่มีอาการรุนแรง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบสูติแพทย์โดยเร็ว

 

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ของคุณแม่ท้อง 3 เดือน

ท้อง 3 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อเตรียมรับมือและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม

  • หน้าท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้นแล้ว แต่หากเป็นท้องแรกอาจยังเห็นไม่ชัด จนกว่าจะตั้งครรภ์ได้ 4 หรือ 5 เดือน แต่ใน ท้องต่อ ๆ ไป มีแนวโน้มว่าหน้าท้องคุณแม่จะเห็นได้ชัดเจนไวขึ้น อย่างไรก็ตาม ขนาดพุงเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ดังนั้นพยายามอย่าเปรียบเทียบพุงของคุณกับคุณแม่ตั้งครรภ์คนอื่น ๆ แม้ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุครรภ์เท่า ๆ กันก็ตาม และเมื่อผิวหน้าท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น อาจเกิดรอยแตกลายบริเวณหน้าท้องได้
  • น้ำหนักขึ้น ในระยะนี้ คุณแม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 0.6-2.5 กิโลกรัม แต่หากคุณแม่น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น หรือน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไปควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำวิธีเพิ่มน้ำหนักหรือวิธีลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายสำหรับคนท้อง เช่น เบาหวานคนท้อง ความดันสูง เป็นต้น
  • มีตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ ตกขาวสีใสที่ไหลออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากตกขาวมีหน้าที่ช่วยป้องกันช่องคลอดติดเชื้อ แต่หากคุณแม่สังเกตเห็นตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีสีเปลี่ยนไป เช่น เหลือง ชมพู เขียว หรือน้ำตาล อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อหรืออาจคลอดก่อนกำหนดได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • ผิวพรรณเปลี่ยนไป เช่น เป็นสิว ฝ้า หรือผิวหมองคล้ำ เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หน้าผาก และแก้ม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนท้อง ไม่เป็นอันตราย และจะค่อย ๆ หายไปเองหลังคลอด
  • มีอาการคัดเต้านม ในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ท่อน้ำนมเพื่อเตรียมสร้างน้ำนมไว้ให้ลูกน้อยกินหลังคลอด คุณแม่จะพบการเปลี่ยนแปลงของเต้านม รู้สึกเต้านมขยาย เจ็บหน้าอก มีอาการคัดเต้านม หัวนมมีสีเข้มขึ้น แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนเสื้อชั้นใน โดยเลือกเสื้อชั้นในแบบไม่มีโครง ขนาดพอดีกับเต้านม ไม่คับ ไม่หลวมเกินไป จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้

 

สิ่งที่คุณแม่ท้อง 3 เดือน ควรทำ

 

สิ่งที่คุณแม่ท้อง 3 เดือน ควรทำ

เป้าหมายสำคัญของคุณแม่ท้อง 3 เดือน คือการดูแลตัวเองและลูกน้อยให้แข็งแรง เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องและเหมาะสม รวมถึงระมัดระวังพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร ดังนี้

  • ใส่ใจเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เช่น ขนมปังโฮลเกรน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมไขมันต่ำ เต้าหู้ ถั่ว ไข่ ธัญพืช ผักและผลไม้ ดื่มน้ำเยอะ ๆ กินโฟเลตเพื่อป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด กินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และดีเอชเอ เพื่อบำรุงสมองทารก หลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงคืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะอาจเสี่ยงให้เกิดโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) และโรคลิสเทอเรีย (Listeriosis) เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่นำไปสู่ภาวะแท้งบุตร รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน สารเสพติด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกผิดปกติ เช่น มีใบหน้าไม่สมบูรณ์ ระบบส่วนกลางเสื่อม บกพร่องด้านการเรียนรู้การเข้าใจ ทำลายปอดที่กำลังพัฒนา อัตราการเต้นของหัวใจทารกเปลี่ยนแปลง หรืออาจนำไปสู่การแท้งบุตรได้
  • เริ่มทาครีมบำรุงผิวแตกลาย การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้ผิวหนังบอบบางลง เกิดสิว ฝ้า บนใบหน้าได้ง่าย รวมถึงหน้าท้องและเต้านมที่เริ่มขยาย ทำให้เกิดรอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้อง สะโพก ก้น และหน้าอก คุณแม่จึงควรทาครีมบำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมความยืดหยุ่นให้แก่ผิว ป้องกันผิวแตก ท้องลายจากการตั้งครรภ์ รวมถึงทาครีมกันแดดทุกครั้งเมื่อต้องออกแดดเพื่อป้องกันฝ้าด้วย
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล หรือการทำงานหนัก เพราะการที่คุณแม่ออกแรงเยอะเกินไป อาจส่งผลร้ายได้ เช่น เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ไปจนถึงมีเลือดออกทางช่องคลอด และอาจส่งผลให้ทารกเคลื่อนไหวน้อยลง เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สูติแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์อาจให้คำแนะนำถึงสิ่งที่คุณแม่ควรทำ และไม่ควรทำในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือน ขอให้คุณแม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่มั่นใจในเรื่องใดควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ รวมถึง ก่อนใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

คุณแม่กำลังจะผ่านไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์แล้ว ลูกน้อยกำลังค่อย ๆ เติบโต ขอให้อดทนกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ เมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 ความเสี่ยงต่าง ๆ จะลดลง คุณแม่จะรู้สึกสบายขึ้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. What to Expect at 3 Months Pregnant, Healthline
  2. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. ท้อง 3 เดือน กับความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้, POBPAD
  5. ท้อง 3 เดือน การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่และทารกในครรภ์, Hello คุณหมอ
  6. 8 ข้อห้ามคนท้อง 1–3 เดือน สิ่งที่คุณแม่ควรระวังเพื่อลูกน้อยในครรภ์, POBPAD

อ้างอิง ณ วันที่ 2 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม ถ้าอยากกิน ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ กินยังไงไม่ให้กระทบกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ไปดูกัน

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์กินสับปะรดได้หรือเปล่า กินมากไปอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ชาไทยมีคาเฟอีนไหม กินทุกวันอันตรายหรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์กัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกินและช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กับสุขภาพกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก