คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร วิธีดูแลคนท้องปวดหลังพร้อมวิธีแก้ปวด

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร วิธีดูแลคนท้องปวดหลังพร้อมวิธีแก้ปวด

02.04.2024

ปัญหาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางร่างกาย คนท้องปวดหลังเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรดูแล ปรับพฤติกรรมในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อรับมือบรรเทาอาการปวดหลัง และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังซ้ำได้อีก หากดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยวิธีง่าย ๆ ที่บ้านแล้วอาการปวดหลังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดเรื้อรัง หรืออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์

headphones

PLAYING: คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร วิธีดูแลคนท้องปวดหลังพร้อมวิธีแก้ปวด

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • คนท้องปวดหลัง เกิดขึ้นจากที่ร่างกายที่ปรับเปลี่ยนไปเพื่อแบกรับน้ำหนักของมดลูก และทารกที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • คนท้องปวดหลัง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำหนักที่มากขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการเดิน ยืน นั่ง นอน ที่ผิดท่า ไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลังตามมา
  • เมื่อคนท้องปวดหลัง ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เดิน นอน นั่ง ยืน หยิบของ ในท่าที่เหมาะสมถูกวิธี หมั่นออกกำลังกาย หรือกายบริหาร เพื่อลดการหดเกร็ง ลดการแอ่นหลัง เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหว เกิดความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ลดการปวดหลังได้
  • หากคนท้องปวดหลัง ดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรปรึกษาคุณหมอ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการคนท้องปวดหลังขณะตั้งครรภ์

เมื่อการตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายนั้นเปลี่ยนไป คุณแม่ที่ต้องแบกรับน้ำหนักทารกที่ใหญ่ขึ้น การเดิน นั่งนาน ๆ อิริยาบถต่าง ๆ สวมรองเท้ามีส้นที่สูง ทำให้คนท้องปวดหลังได้ อาการปวดหลังมักเป็นเรื่องที่พบเจอได้ในทุกช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ เมื่อถึงไตรมาสที่ 3 พบเจออาการปวดหลังได้มากสุดที่อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ขึ้นไป

 

อาการคนท้องปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุใด

คนท้องปวดหลังเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะมดลูกจะมีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และต้องแบกรับน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปวดหลังได้
  • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงร่างกาย น้ำหนักของคุณแม่ก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ท้องที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้แรงถ่วงอยู่ทางด้านหน้า ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น หลังของคุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักไว้เป็นเวลานาน ๆ ทำให้มีอาการปวดหลัง
  • เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น จะมีการทรงตัว และอิริยาบถในท่าที่เปลี่ยนไปจากเดิม ครรภ์ที่ใหญ่จะทำให้เดินตัวแอ่นไปทางด้านหลัง คุณแม่มีการเดิน นั่ง การเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ ในท่าแบบเดิมที่เคยชิน ไม่ถูกวิธี ทำให้ปวดหลังได้ ยิ่งเมื่อต้องทำงานที่นั่ง หรือยืน เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้พัก จะส่งผลทำให้ปวดหลังได้มากขึ้น
  • เมื่ออายุครรภ์เริ่มมากขึ้น ทารกน้อยในครรภ์ก็เติบโตขึ้นด้วย ทำให้มดลูกนั้นขยายใหญ่ไปด้วย ทำให้กล้ามเนื้อส่วนกลางลำตัวของคุณแม่นั้นแยกตัว จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลัง
  • ความเครียด ความวิตกกังวล ความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว จะส่งผลให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ตึงตัว ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้
  • ทารกในครรภ์ดึงแคลเซียมของคุณแม่ไปใช้ในการสร้างฟัน สร้างกระดูก ทำให้มีอาการปวดหลังตามมา
  • เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนต่าง ๆ ของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการเพิ่มฮอร์โมนรีแลกซิน ที่สร้างออกมาจากรังไข่ ทำให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ หย่อนตัว ยืดออก ทำให้อุ้งเชิงกรานขยายตัว เอ็นยึดข้อต่อกระดูกหลังส่วนล่างหย่อน เพื่อพร้อมรับมดลูกที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น กระดูกส่วนล่างแอ่นมากขึ้น มีผลทำให้คุณแม่ปวดหลังจากการตั้งครรภ์
  • การไหลเวียนของเลือดลดลงจากเดิม เกิดจากการไปกดทับหลอดเลือดเวนาคาวาที่ตัวมดลูก ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนน้อยมีการเผาผลาญมาก จึงเกิดกรดแลกติกกระตุ้นประสาทความรับรู้สึกปวดกล้ามเนื้อ ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้ในเวลากลางคืน

 

เมื่อมีอาการคนท้องปวดหลัง ทำอย่างไรให้หายปวด

  • นอนพักส่วนหลัง เมื่อมีอาการปวดหลัง คุณแม่อาจพักและลดแรงกดของกระดูกสันหลังด้วยการนอนพัก
  • อยู่ในท่าที่เหมาะสม คุณแม่ควรปรับอิริยาบถ ท่าทางต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ยืน เดิน นอน หยิบของให้ถูกท่า เพื่อบรรเทาความล้าของกล้ามเนื้อส่วนหลัง
  • เมื่อมีอาการปวดหลัง ควรงดในการยกของหนัก หากมีความจำเป็นต้องอุ้มลูกน้อยด้วย ควรอุ้มในท่าที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย คุณแม่อาจช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อหลังด้วยการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามที่แพทย์แนะนำ การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้
  • กายบริหาร ท่าบริหารเป็นวิธีที่ง่าย และเพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทานของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหว ลดการหดเกร็ง ลดการแอ่นหลัง ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อเกิดความสมดุล บรรเทาอาการปวดหลัง คุณแม่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำกายบริหาร เพื่อทำกายบริหารสำหรับคนท้องให้ถูกท่าถูกวิธี
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ทานอาหารคนท้อง ที่มีประโยชน์ ไม่ควรให้ครรภ์ใหญ่จนทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ควบคุมให้น้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำ
  • ค่อยนวดคลึงบริเวณที่ปวดเพื่อผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นปลายประสาท ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ประคบเย็นหากมีการอักเสบปวดบวมที่หลัง หรือประคบร้อนบริเวณที่ปวดตึงกล้ามเนื้อด้านหลัง
  • หากคนท้องปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังไม่บรรเทา ควรปรึกษาคุณหมอ หรือนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 

การป้องกันอาการคนท้องปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์ ทำได้อย่างไร

 

การป้องกันการปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์ ทำได้อย่างไร

ท่านอนคนท้อง ท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่าหยิบ เก็บสิ่งของ หรืออิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้

  • ท่านอนที่ถูกวิธี ก่อนที่จะเอนตัวลงนอน ควรเริ่มจากท่านั่ง ค่อย ๆ เอนตัวลงนอนในท่าตะแคงใช้ศอกพยุงน้ำหนักร่างกาย ใช้มือช่วยเคลื่อนตัวสู่ท่านอน นอนในท่าตะแคง อาจใช้หมอนสอดรองระหว่างขาขณะนอน ไม่ควรใช้หมอนรองบริเวณหัวไหล่ ไม่ควรนอนที่นอนที่ยุบตามน้ำหนักตัว ควรเลือกที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป
  • ท่านั่งที่ถูกวิธี ไม่ควรนั่งไขว้ห้าง นั่งเก้าอี้ที่มีที่วางแขน มีพนักพิง นั่งหลังตรงไม่ห่อตัว หรือจะใช้หมอนหนุนขณะนั่งเก้าอี้ก็ได้
  • ท่ายืนที่ถูกวิธี เมื่อยืนควรยืนตัวตรง ผายหน้าอก ปล่อยหัวไหล่ให้ผ่อนคลาย หลังตรง ยกศีรษะยืดคอ ไม่เอาศีรษะไปด้านหลัง ไม่เกร็งหัวเข่า กระจายน้ำหนักของร่างกายในการยืนให้สม่ำเสมอ
  • ท่าเดินที่ถูกวิธี ก้าวเดินไปข้างหน้า ด้วยศีรษะ หลัง ไหล่ตรง หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่มีส้นสูงเกินไป สวมใส่รองเท้าที่สบายเท้าไม่บีบรัดเกินไป
  • ท่าก้มหยิบของที่ถูกวิธี ยืนแยกเท้า ความกว้างเท่าช่วงของสะโพก ปลายเท้าเฉียงเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลาง ค่อย ๆ หย่อนตัวลง งอเข่า ใช้แขนและไหล่ยกของ หยิบของ ให้ลำตัวชิดกับของมากที่สุด แล้วใช้ขาพยุงตัวขึ้น ไม่ใช้แรงที่หลัง คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก แต่หากมีความจำเป็นต้องยกของหนัก หรือต้องอุ้มลูก ควรก้มหยิบ ยกของ เก็บของ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ไม่ควรหยิบของที่อยู่สูงมาก ๆ อาจทำให้หลังเกิดอันตรายได้

 

คนท้องปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากคุณแม่จะต้องพบเจอกับอาการปวดหลัง ไม่สบายตัว การดูแลตัวเอง รับมือกับอาการปวดหลังอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาการปวดนั้นบรรเทาลง หากมีอาการแทรกซ้อน หรือปวดหลังเรื้อรัง กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ควรซื้อยาทานเองโดยเด็ดขาด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. อาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ของหญิงที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  5. กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างขณะตั้งครรภ์, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. คนท้องปวดหลัง กับวิธีรับมือง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน, Pobpad
  7. ปวดหลังขณะตั้งครรภ์: การดูแลตนเองและการป้องกัน, สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. การบริหารร่างกายของหญิงตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง สามารถกินวิตามินซีได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

คนท้องเป็นภูมิแพ้ กับ 2 สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้คนท้อง เพื่อให้คุณแม่หาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อยจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและลดความเสี่ยงทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์ อันตรายไหม หากคุณแม่ปวดหน่วงน้องท้องน้อยตั้งครรภ์และมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ควรรู้อะไรก่อนบ้าง สัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก