คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 8, 2024
9นาที

ในช่วงตั้งครรภ์มีอาการเกิดขึ้นมากมาย โดยหนึ่งในนั้นคืออาการปวดท้องน้อย ที่สามารถเกิดได้จากอาการต่าง ๆ เช่น มดลูกขยายตัว กล้ามเนื้อตึงตัว อาการเจ็บครรภ์หลอก ปัญหาระบบย่อยอาหาร หรืออาจเป็นสัญญาณผิดปกติอื่น ๆ ของสุขภาพในขณะที่ตั้งครรภ์ ควรพบคุณหมอทันทีหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น

 

สรุป

  • ปวดหน่วงท้องน้อยช่วงตั้งครรภ์ มีลักษณะคล้ายกับปวดประจำเดือน เกิดจากมดลูกขยายตัวจึงมีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณดังกล่าวมากขึ้น
  • แม่ท้องสามารถบรรเทาอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น ประคบร้อน นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นั่งยกขาสูงจากพื้นเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น ออกกำลังกายเบา ๆ ยืดเหยียด หรือโยคะสำหรับคนท้อง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ปวดท้องน้อยหากมีอาการปวดแบบผิดปกติ ได้แก่ มีไข้สูง มีเลือดไหลทางช่องคลอด อ่อนเพลีย หน้ามืด อาเจียน หรือปัสสาวะแสบขัด หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อความปลอดภัยของแม่ท้องและทารกในครรภ์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์ อันตรายไหม

ปวดท้องน้อยขณะที่ตั้งครรภ์ มีทั้งที่เป็นอันตรายและไม่อันตราย สังเกตได้ ดังนี้

ปวดหน่วงท้องน้อยแบบไม่อันตราย

  • กล้ามเนื้อตึงตัว ในช่วงที่ตั้งครรภ์น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น อาจทำให้กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อด้านข้าง และหน้าท้องตึง ส่งผลให้แม่ท้องปวดหน่วงท้องน้อยได้
  • มดลูกขยายตัว ตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เมื่อเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อมดลูกขยายตัว ทำให้แม่ท้องมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้ อาการปวดหน่วงท้องน้อยมีลักษณะคล้ายปวดประจำเดือน ปวดใกล้ ๆ ขาหนีบ ข้างใดข้างหนึ่งหรือปวดทั้งสองข้าง
  • อาการท้องแข็ง เนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) เจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องหลอก มักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ทำให้แม่ท้องปวดหน่วงท้องน้อยได้ อาการปวดแม่ท้องจะมีอาการปวดท้องหน่วง ๆ แต่ไม่รุนแรง ระยะเวลาปวดประมาณ 5-10 นาที จะคลายได้เอง
  • ท้องผูก การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ ส่งผลให้ลำไส้และระบบย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้ขับถ่ายยากขึ้น อาจทำให้แม่ท้องรู้สึกปวดหน่วงท้องน้อยได้

 

ปวดหน่วงท้องน้อยแบบอันตราย

  • แท้ง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน ความผิดปกติของตัวอ่อน เพราะตัวอ่อนที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่สมบูรณ์ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ การแท้งมักเกิดในช่วงไตรมาสแรกหรือในช่วง 1-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
  • ไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงตั้งครรภ์ เกิดจากไส้ติ่งติดเชื้อเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน สังเกตจากอาการปวดหน่วงท้องน้อยบริเวณด้านขวา รวมถึงใต้ลิ้นปี่หรือรอบ ๆ สะดือ ปวดนำมาก่อน อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยได้
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทำให้คุณแม่ท้องมีอาการปวดท้องน้อย แสบขัดขณะที่ปัสสาวะ ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
  • นิ่วในถุงน้ำดี การทำงานของระบบย่อยอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลให้คุณแม่ท้องไม่อยากอาหาร มีอาการปวดท้องน้อยใต้ชายโครงด้านขวา จุกเสียดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

 

ปวดหน่วงท้องน้อย เป็นตะคริวที่ท้องน้อย

อาการปวดท้องน้อย (Cramping) เป็นอีกอาการหนึ่งของแม่ท้องที่มีอายุครรภ์ 1-2 สัปดาห์ หลังจากปฏิสนธิ อาการปวดหน่วงท้องน้อยมีลักษณะปวดแบบหน่วง ๆ คล้ายเป็นตะคริว ปวดบริเวณปีกมดลูก สาเหตุเกิดจากร่างกายเริ่มผลิตฮอร์โมนเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงตัวอ่อนที่ฝังตัวในผนังมดลูก รวมถึงร่างกายรองรับการขยายตัวของมดลูกตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการปวดดังกล่าวจะมีอาการปวด 2-3 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มบรรเทาเบาบางลงและหายปวด หากมีอาการปวดมากขึ้น ปวดหน่วงท้องน้อยรุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตราย เช่น ท้องนอกมดลูก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ได้

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก ก็ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้

ร่างกายในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ระบบลำไส้และระบบย่อยอาหารทำงานได้ลดลง ขนาดของมดลูกที่โตขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์กระทบต่อการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาหารหรือของเหลวต่าง ๆ เคลื่อนตัวได้ช้าลง ส่งผลให้แม่ท้องเกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด และท้องผูกได้ ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยได้

 

ดังนั้น แม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารคนท้องที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้มากขึ้น และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะสำหรับคนท้อง อาจช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น และไม่ควรซื้อยาถ่ายมารับประทานเองอย่างยิ่ง ต้องเป็นยาที่คุณหมอสั่งเท่านั้น

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก ก็ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้

 

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดท้องน้อย คือ อาการปวดบริเวณท้องน้อยตั้งแต่สะดือลงไปสำหรับแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายของแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก อาการปวดท้องน้อยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน ได้แก่ รีแลกซิน (Relaxin) เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) ส่งผลให้ข้อต่อและเส้นเอ็นบริเวณกระดูกเชิงกรานคลายตัว จนนำไปสู่อาการปวดท้องน้อยได้
  • ท้องผูก เป็นอีกอาการหนึ่งที่ทำให้แม่ท้องปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยได้
  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ปวดท้องน้อยตามมาได้ ปัสสาวะแสบขัด ปวดปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • ภาวะแท้งคุกคาม มักเกิดในช่วงก่อน 20 สัปดาห์ จะมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด มีเนื้อเยื่อสีออกเทาหรือลิ่มเลือดออกมาทางช่องคลอด ปวดท้องรุนแรง และปวดหลังช่วงล่าง
  • ท้องนอกมดลูก เกิดจากไข่และอสุจิปฏิสนธิแล้ว ฝังตัวที่นอกมดลูก เป็นภาวะที่อันตรายทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย มีเลือดไหลจากช่องคลอด และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบริเวณหัวไหล่ หรืออุจจาระบ่อย

 

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ระวังภาวะแท้งคุกคาม

แท้งคุกคาม (Threatened abortion) คือ ภาวะผิดปกติในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โอกาสเกิดกับแม่ท้องได้ถึงร้อยละ 20-25 แม่ท้องที่มีอาการเช่นนี้ประมาณร้อยละ 50 จะมีการแท้งเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วย อาการคือ แม่ท้องจะมีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็นเลือดสดออกมากะปริบกะปรอยหรือมูกเลือดก็ได้ เลือดหรือมูกเลือดจะออกมาเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์

 

แม่ท้องจะมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน ปวดบีบ ๆ รัด ๆ บริเวณกลางท้องน้อย และอาจปวดร้าวไปที่หลัง อาการเลือดออกนี้อาจพบได้ในช่วง 4-5 สัปดาห์หลังจากหมดประจำเดือนครั้งสุดท้ายหรือประมาณ 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ เป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวเข้าไปในเนื้อมดลูก ซึ่งแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติอาจมีเลือดออกได้แต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม

ภาวะแท้งคุกคาม มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์อย่างไรก็ตามมีปัจจัยต่าง ๆ สนับสนุนหรือสัมพันธ์ให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม จนเกิดการแท้งจริง ดังนี้

  • เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ได้แก่ ทารกมีโครโมโซมที่ผิดปกติ ทารกในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด หรือได้รับยาหรือสารเคมีที่ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์
  • แม่ท้องมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง
  • อายุของแม่ตั้งครรภ์ มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ได้แก่ แม่ท้องที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสแท้งได้ร้อยละ 15 หรือแม่ท้องที่มีอายุน้อยกว่า 15-34 ปี มีโอกาสแท้งได้ร้อยละ 4
  • มดลูกหรือโพรงมดลูกมีความผิดปกติ เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือพังผืดในโพรงมดลูก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แม่ท้องเสี่ยงแท้งคุกคามได้
  • ขาดฮอร์โมนเพศที่ช่วยประคับประคองการตั้งครรภ์
  • แม่ท้องเคยมีประวัติแท้งมาก่อน
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบมดลูกหรือบริเวณท้องน้อย การติดเชื้อที่ช่องคลอด น้ำหนักตัวที่มากหรือเป็นโรคอ้วน แม่ท้องที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือติดสารเสพติด

 

วิธีบรรเทาอาการปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์

แม่ท้องสามารถบรรเทาอาการปวดหน่วงท้องน้อยในช่วงตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประคบร้อน การประคบร้อนด้วยกระเป๋าน้ำร้อนอุ่น ๆ หรือผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน ประคบครั้งละประมาณ 3-5 นาที ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงผ่อนคลายลงได้ วิธีนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้ดี
  2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ แม่ท้องควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายของแม่ท้องเกิดการผ่อนคลาย และอาจช่วยลดอาการปวดหน่วงท้องน้อยที่เกิดขึ้นได้
  3. ออกกำลังกาย การออกกำลังเบา ๆ ช่วยยืดเหยียดอุ้งเชิงกราน ยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ เช่น โยคะสำหรับคนท้อง
  4. แบ่งมื้อในการรับประทานอาหาร แม่ท้องควรแบ่งมื้อในการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อต่อวัน เพื่อให้ระบบย่อยอาหารดูดซึมอาหารได้ดี ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และท้องอืด
  5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาหารหรือเครื่องดื่มที่ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น น้ำอัดลม อาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลให้เกิดกรดในกระเพาะทำให้แม่ท้องเกิดอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้จึงควรหลีกเลี่ยง

 

ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์แบบไหน ต้องรีบไปพบแพทย์

อาการปวดท้องน้อยในช่วงตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์ เช่น

  1. มีไข้สูงร่วมด้วย แม่ท้องที่มีอาการปวดท้องน้อย ร่วมกับมีไข้ และมีตกขาวผิดปกติ อาจเกิดจากอาการมดลูกอักเสบ ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน
  2. มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดผิดปกติ ในช่วงตั้งครรภ์ แม่ท้องมีอาการปวดท้องน้อยและมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดร่วมด้วย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในช่วงตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ตั้งครรภ์นอกมดลูก รวมถึงการแท้งลูก
  3. อ่อนเพลีย หน้ามืด หากแม่ท้องมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด พักผ่อนแล้วไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์
  4. มีปัสสาวะแสบขัด แม่ท้องที่มีอาการเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ หรือปัสสาวะแสบขัด ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ

 

อาการปวดหน่วงท้องน้อยในช่วงตั้งครรภ์ มีทั้งอาการปวดหน่วงท้องน้อยที่อาจเป็นอาการปกติ เกิดจากมดลูกขยายตัวตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และอาการปวดหน่วงท้องน้อยในช่วงตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย เช่น ภาวะแท้งคุกคาม ตั้งครรภ์นอกมดลูก แม่ท้องควรสังเกตว่า มีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการปวดหน่วงท้องน้อยหรือไม่ เช่น มีเลือดออกกะปริบกะปรอย มีมูกเลือด หรือเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก หากพบอาการผิดปกติ หรือคุณแม่กังวลและไม่มั่นใจควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร, hellokhunmor
  2. 18 อาการคนท้องเริ่มแรก ข้อสังเกต วิธียืนยันการตั้งครรภ์, Medpark hospital
  3. อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรทราบ, pobpad
  4. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  5. ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ < 14 สัปดาห์), โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  6. ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. HOW TO ดูแลตัวเอง…เมื่อปวดท้องประจำเดือน, โรงพยาบาลเวชธานี
  8. ปวดท้อง ตำแหน่งไหนบอกโรคอะไรบ้าง ?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ (แต่ไม่ใช่ประจำเดือน), โรงพยาบาลสมิติเวช
  10. แท้งลูก (Abortion), โรงพยาบาลสินแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม
บทความ
เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน คุณแม่ท้องหรือเปล่า ไปดูสาเหตุของประจำเดือนมาช้ากัน

9นาที อ่าน

View details คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง
บทความ
คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร หากคนท้องปวดหลังบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไหม ไปดูวิธีลดอาการปวดหลังของคุณแม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ
บทความ
คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์
บทความ
อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการท้องไม่รู้ตัวของคุณแม่ท้องแรก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าท้องแล้ว

5นาที อ่าน

View details คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง
บทความ
คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร ต่างจากคนที่ไม่ได้ท้องไหม สีปัสสาวะคนท้องแต่ละสีบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของอย่างไร มีวิธีสังเกตสีปัสสาวะคนท้องยังไงบ้าง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี
บทความ
ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า คุณแม่ชอบกินชาเขียว ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายกับลูก

5นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

6นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำชง คุณแม่ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

7นาที อ่าน

View details อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง
บทความ
อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เหมือนจะตั้งครรภ์ แบบนี้ใช่อาการตั้งท้องหรือเปล่า จะรู้ได้อย่างไรว่าตั้งท้องไหม ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน

View details ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว สัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง ไปดูอาการท้องลมที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังท้องลมอยู่กัน

5นาที อ่าน