ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เม.ย. 18, 2024
2นาที

แท้งคุกคามเป็นเรื่องน่ากลัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งท้องของคุณแม่ จะมีเลือดออกเล็กน้อยทางอวัยวะเพศโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ ต้องมีการวินิจฉัยจากคุณหมอ ถ้ามีอาการนี้เพื่อตรวจสอบว่าหัวใจของลูกรักที่ยังไม่เกิดมานั้นยังเต้นอยู่หรือเปล่า กรณีที่มีภาวะนี้คุณหมอจะแนะนำให้หยุดทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง อยากให้คุณแม่พักผ่อนอย่างเต็มที่ และดูอาการภายใต้คำแนะนำของคุณหมอ ถ้าคุณแม่ท้องเรียนรู้ภาวะคุกคามนี้ จะทำให้สังเกตตัวเองได้เร็ว อาการของคุณแม่จะได้ผ่อนหนักกลายเป็นเบา และอาจเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดีในความดูแลของคุณหมอได้


สรุป

  • ภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสแรก หรือในช่วงสามเดือนแรกของอายุครรภ์คุณแม่ คุณแม่ควรเฝ้าระวังอาการเลือดออกทางอวัยวะเพศ และปวดท้อง
  • หากสงสัยว่ามีความเสี่ยง ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีเพื่อจะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติม ตรวจหาความผิดปกติหรือสาเหตุ และให้คำแนะนำในการระวังการดูแลสุขภาพ
  • คุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน ไม่ใช่เพราะการแท้งมาก่อนทำให้เกิดการแท้งซ้ำ แต่เป็นเพราะการแท้งก่อนหน้าหรือการแท้งครั้งแรกมีสาเหตุที่ยังไม่ได้ถูกระบุ คุณแม่สามารถขอเข้ารับการตรวจจากคุณหมอได้เพื่อหาสาเหตุนั้น หรืออาจไปหาคุณหมอเพื่อตรวจประเมินแต่เนิ่น ๆ หากมีประวัติแท้งลูกจะได้วางแผนการตั้งครรภ์
  • หากมีภาวะแท้งคุกคามควรจะอยู่เฉย ๆ ให้มาก ใช้แรงให้น้อย โดยคอยดูแลรักษาสุขภาพสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อน รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ออกกำลังกายตามคำแนะนำของคุณหมอ จะทำให้ครรภ์แข็งแรง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แท้งคุกคาม เกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่แท้จริงของภาวะแท้งคุกคามยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่

  • การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการตั้งท้อง
  • การบาดเจ็บที่ช่องท้อง ได้รับแรงกระแทก
  • คุณแม่มีอายุมาก (อายุเกิน 35 ปี)
  • การใช้หรือสัมผัสยาหรือสารเคมีบางชนิด
  • โรคที่ยังไม่ได้รับการจัดการหรือดูแลอย่างเหมาะสม เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ เป็นปัญหาสุขภาพในตัวแม่ที่เพิ่มความเสี่ยง

 

นอกจากนี้ถ้าคุณแม่รับประทานยาหรืออาหารเสริมบางอย่างอยู่เป็นประจำก่อนตั้งท้อง เมื่อพบคุณหมอควรแจ้งไปตามจริงเพื่อให้คุณหมอดูแลแนะนำต่อ จะได้ปลอดภัยระหว่างตั้งท้อง หลีกเลี่ยงภาวะแท้งคุกคามนี้

 

อาการของภาวะเเท้งคุกคาม

อาการตั้งครรภ์มีเลือดออก  ตั้งแต่เริ่มต้นของการตั้งท้องเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในคุณแม่ที่เผชิญกับภาวะแท้งคุกคาม คุณแม่จะสังเกตเห็นเลือดที่มีสีชมพูอ่อนปนอยู่บนกระดาษชำระหลังจากที่คุณแม่เช็ดทำความสะอาด หรือเลือดออกเยอะและมีลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นมา บางคนอาจมีอาการปวดเหมือนประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างไปพร้อมกันด้วย คุณแม่หลายคนที่ประสบภาวะเสี่ยงนี้มาก่อนสังเกตเห็นว่ามีตกขาวเพิ่มขึ้นด้วย

 

ทำไมต้องเฝ้าระวังภาวะแท้งคุกคาม ในช่วง 3 เดือนแรก

ช่วงไตรมาสแรกคือช่วงระยะสามเดือนแรก ความเป็นไปได้ที่แท้งคุกคามจะกลายเป็นแท้งจริงคือ 50:50 หากเลือดหยุดไหล คุณแม่ตั้งท้องจะยังสามารถอุ้มท้องต่อไปได้ แต่ในทางกลับกันหากเลือดยังไหลอยู่ต่อเนื่อง เรื่อย ๆ บ่อย ๆ และปวดท้องส่วนล่าง ก็มีโอกาสแท้งได้ ดังนั้นยิ่งจดจำและสังเกตได้เร็วแต่เนิ่น ๆ รีบปรึกษากับคุณหมอเมื่อมีข้อสงสัย ก็มีโอกาสจะได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างทันท่วงที

 

ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแท้งคุกคาม

ช่วงเวลาตั้งท้อง เป็นช่วงแห่งความสุขและความหวัง แต่การอุ้มท้องอาจไม่ได้ราบรื่นเสมอไป สิ่งสำคัญคือคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงควรทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง จะได้พูดคุยกับคุณหมอสำหรับแนวทางดูแลสุขภาพ

1. คุณแม่ที่ถุงตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์

ถุงตั้งครรภ์เป็นโครงสร้างที่เต็มไปด้วยของเหลวซึ่งล้อมรอบตัวอ่อน ที่กำลังพัฒนาในระยะแรกของการตั้งท้อง ในคุณแม่บางท่าน ขนาดของถุงตั้งครรภ์ไม่สอดคล้องกับระยะเวลาที่คาดว่าตั้งท้อง เป็นความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการอัลตราซาวด์ บ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแท้งบุตร และมีแนวโน้มจะแสดงอาการของภาวะแท้งคุกคามออกมาก่อนเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม คุณหมอจะต้องนัดติดตามเพื่อตรวจอาการ ในการตรวจอัลตราซาวด์เพียงหนเดียวไม่ได้ยืนยันได้ว่าจะเกิดการแท้งขึ้น

 

2. คุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน

ประมาณ 1 ใน 100 ของคุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน พบว่ามีการแท้งบุตรซ้ำ ไม่ใช่เพราะว่าการแท้งหรอก จะเห็นว่าคุณแม่กลับตัวเลขสถิติแล้ว อีก 99 ใน 100 คนสามารถตั้งท้องได้ด้วยสุขภาพดี นั่นแสดงว่าสาเหตุของการแท้งครั้งแรกเป็นเหตุให้เกิดการแท้งอีกครั้ง และอาจเป็นสาเหตุในการแท้งครั้งต่อ ๆ ไปด้วย ซึ่งสาเหตุก็อาจเนื่องมาจาก ปัญหาการแข็งตัวของเลือด ปัญหาฮอร์โมน ความผิดปกติของภูมิต้านทาน น้ำตาลในเลือดสูง หรือกลุ่มอาการรังไข่หลายใบ (PCOS) หากคุณแม่ประสบการแท้งบุตรมาก่อน อาจจะปรึกษากับคุณหมอเพื่อทำการทดสอบหาสาเหตุที่แท้จริงที่เป็นไปได้ เพื่อจะวางแผนตั้งท้องอย่างปลอดภัย

 

3. คุณแม่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

สามารถเจอกับการสูญเสียจากภาวะแท้งคุกคามในระยะแรกได้ มีงานวิจัยทางคลินิก พบว่าอัตราสูญเสียในระยะแรกคิดเป็น 9-17 เปอร์เซ็นต์ ในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี และเพิ่มเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผู้หญิงอายุ 35 ปีกับ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออายุ 40 ปี และเพิ่มสูงขึ้นไปอีกเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออายุ 45 ปี ดังนั้นถ้าคุณแม่มีอายุมาก ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งท้องไม่ควรผิดนัดคุณหมอ และควรใส่ใจสุขภาพอย่างมาก

 

เคล็ดลับดูแลครรภ์ให้แข็งแรง ป้องกันแท้งคุกคาม

 

สิ่งที่คุณแม่ต้องทำ เมื่อสังเกตว่ามีความผิดปกติ

การรับรู้ว่ามีอาการที่น่าสงสัยในระหว่างตั้งท้อง อาจเป็นสาเหตุให้คุณแม่วิตกกังวลอย่างมาก แต่ขณะเดียวกัน ความรู้และความเข้าใจถึงสิ่งที่ควรทำก็จะช่วยลดความตึงเครียดลง และเพิ่มโอกาสสร้างความปลอดภัยให้แก่สุขภาพเพื่อลูกน้อยที่จะเกิด ต่อไปนี้เป็นการดำเนินการที่จำเป็นเมื่อเผชิญกับอาการที่น่าสงสัย

  • รีบไปปรึกษาแพทย์ทันที ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ ก็ตามที่น่าสงสัยว่าเป็นภาวะแท้งคุกคาม เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือปวดท้องมาก อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ทันที เวลาเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อการตั้งท้อง คุณหมอจะได้รีบทดสอบและประเมินภาวะสุขภาพของคุณแม่ ระบุสถานะของการตั้งท้อง และแนะนำวิธีการดูแลร่างกายหรือรักษาที่เหมาะสม
  • งดการเดินทาง สิ่งที่คุณหมอต้องการจริง ๆ คือให้ครรภ์คุณแม่ไม่กระทบกระเทือน คุณแม่ควรจะอยู่ให้นิ่ง ๆ มาก ๆ อาจจะนอนเฉย ๆ พักอยู่เป็นชั่วโมง ๆ ระหว่างวัน เจรจากับที่ทำงานขอทำงานจากบ้านจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แนะนำให้เลื่อนหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็นออกไปก่อนจนกว่าคุณหมอจะเห็นชอบให้กลับมาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ
  • งดการทำงานบ้าน หรือออกกำลังกาย นอกจากงดเดินทางแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้ลดกิจกรรมอื่น ๆ ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้มีน้อยรายที่พบว่าคุณหมอสั่งห้ามทำอะไรมากแต่เน้นให้นอนพักอยู่เฉย ๆ ในแต่ละวัน แต่ก็มีจริง ๆ ที่คุณแม่ที่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น เพราะจะปลอดภัยกว่าทั้งคุณแม่และคุณลูก ถ้าเลี่ยงทำกิจกรรมที่อาจจะกระเทือนไปถึงครรภ์ได้ การเดินขึ้นลงบันไดก็ควรทำน้อยครั้งที่สุด หรือพึ่งพาสมาชิกคนอื่นในครอบครัวเพื่อจะได้พักผ่อนอยู่เฉย ๆ

 

เคล็ดลับดูแลครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรง

1. ทานวิตามินที่จำเป็นสำหรับคนท้อง

โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างตั้งท้อง การรับประทานวิตามินสามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการได้  วิตามินเหล่านี้มักประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็น เช่น กรดโฟลิก เหล็ก แคลเซียม และวิตามินบีต่าง ๆ กรดโฟลิกมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงท้องระยะแรก  จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค และป้องกันภาวะแท้ง

 

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทั้งทางร่างกายและจิตใจของคุณแม่ตั้งท้อง คุณแม่ต้องจัดลำดับความสำคัญของการพักผ่อน สร้างสภาพแวดล้อมในการนอนที่สะดวกสบาย และฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของคุณแม่

 

3. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นที่รู้กันว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก และยังมีผลเสียต่อลูกน้อยอีกด้วย

 

4. ออกกำลังกายเบา ๆ

การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์ต่อคุณแม่ เช่น อารมณ์ดีขึ้น ลดความเครียด และสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะก่อนคลอด เมื่อได้รับคำแนะนำจากคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันการเพิ่มน้ำหนักมากเกินไปในระหว่างตั้งท้อง และช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้นด้วย

 

5. เน้นสารอาหารที่มีประโยชน์

คุณแม่ควรใส่ใจกับการรับประทานอาหาร จัดลำดับความสำคัญเลือกรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง  ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ รวมผลไม้ ผัก โปรตีนไร้ไขมัน ธัญพืชเต็มเมล็ด และผลิตภัณฑ์จากนมหลากหลายชนิดในมื้ออาหารของคุณแม่และครอบครัวด้วย อาหารที่มีเส้นใยสูงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกด้วย

 

เพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพของคุณแม่ตั้งท้องที่ดี ความรู้ การเฝ้าระวัง และการดูแลตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่ดีสำหรับคุณแม่  การทำความเข้าใจสาเหตุและอาการของการแท้งคุกคามในช่วงสามเดือนแรก ช่วยให้รีบตัดสินใจไปพบคุณหมอได้ทันที เพื่อจะได้คลายความสงสัยและปลอดภัยในการดูแลของคุณหมอ ตลอดเวลาของการตั้งครรภ์ การดูแลโภชนาการให้เหมาะสม การนอนหลับที่เพียงพอ ใช้ชีวิตให้ห่างจากควันบุหรี่และแอลกอฮอล์ จะช่วยให้มั่นใจถึงความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังเติบโต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. What is threatened miscarriage?, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. Threatened Abortion (Threatened Miscarriage), Healthline
  3. What Causes a Threatened Miscarriage?, Parents
  4. Small Gestational Sac in Early Pregnancy, Verywell Family
  5. Pregnancy After Miscarriage: Answers to Your Questions, Healthline
  6. Early Pregnancy Loss, ACOG
  7. Signs of Threatened Miscarriage, What to Expect
  8. คุณแม่ยุคใหม่... ใส่ใจทานวิตามิน, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  9. เคล็ดลับการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  10. การเตรียมตัวตั้งครรภ์ของคุณแม่ยุคดิจิตอลที่อยากมีลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  11. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

1นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
บทความ
ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด คุณแม่ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กหรือเปล่านะ ไปดูวิธีตรวจครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะเกินไปจะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ท้อง

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน