ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

25.09.2019

คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจเจอปัญหาลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือลูกกินนมน้อย ซึ่งทำให้คุณแม่กังวลใจว่าลูกน้อยในวัยทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและกระทบต่อพัฒนาการและการเติบโตตามวัย หากลูกไม่กินนมแม่เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่ไม่สร้างน้ำนมใหม่ และนมแม่จะค่อย ๆ ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้มีวิธีการแก้ไขและเทคนิคที่ทำให้ลูกกินนมน้อยกลับมากินนมแม่ได้มากขึ้น

headphones

PLAYING: ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

อ่าน 4 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกไม่ยอมกินนม ปัญหาหนักใจที่คุณแม่แก้ไขได้

การที่ลูกกินนมน้อยหรือลูกไม่กินนม อาจเกิดได้จากทั้งตัวลูกน้อย หรือตัวคุณแม่ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อม ที่เริ่มต้นแก้ไขได้ทันที โดยเริ่มต้นค้นหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากปัจจัยใด

 

สาเหตุที่ลูกกินนมน้อย หรือ ลูกไม่ยอมกินนมแม่

การที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ อาจเป็นสิ่งสะท้อนถึงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับลูก โดยลูกกำลังสื่อสารให้คุณแม่ได้รับรู้ถึงสาเหตุที่ลูกกินนมน้อยหรือลูกไม่กินนม นั่นคือ

1. ปัญหานมแม่หรือการให้นม

การที่ลูกไม่ยอมกินนมหรือลูกกินนมน้อย อาจมีสาเหตุจากคุณแม่ให้นมไม่ถูกวิธี คุณแม่ควรให้นมลูก ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ทำให้ลูกไม่สบายตัวหรือดูดนมได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจยังเกิดจากปริมาณนมแม่ที่ลดลง ลูกดูดนมแม่น้อยลงส่งผลให้ต่อมน้ำนมผลิตนมน้อยลงไปด้วยหรือการที่คุณแม่มีน้ำนมมากและไหลเร็ว ก็ทำให้ลูกกินไม่ทันและสะบัดหน้าหนีได้เช่นกัน

 

2. ลูกน้อยไม่สบาย

ความเจ็บป่วยเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกกินนมน้อยหรือลูกไม่ยอมกินนมแม่ ซึ่งเป็นได้ทั้งอาการเจ็บปาก เจ็บคอ หรือกลืนนมแล้วเจ็บ จากการเป็นหวัด เป็นไข้ ติดเชื้อในหู ติดเชื้อในลำคอ มีแผลในช่องปาก หรือปัญหาลิ้นติด มีพังผืด ใต้ลิ้น นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่ทารกอาจรู้สึกเจ็บและคันเหงือกเพราะฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรสังเกตอย่างใกล้ชิดว่ามีสาเหตุจากสิ่งไหนที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนม หรือควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

 

3. ลูกน้อยอยู่ในช่วงเริ่มกินอาหารบด

เมื่อเข้าสู่วัยที่เริ่มกินอาหารบดได้ ทารกบางคนอาจติดใจรสชาติอาหารชนิดใหม่ที่แปลกไปจากเดิม ทำให้คุณแม่ประสบปัญหาลูกไม่ยอมกินนมเหมือนเดิม หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่คุณแม่ให้ทารกกินอาหารบดมากเกินไปจนอิ่มและไม่อยากกินนม

 

4. การกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่าง

อาจเป็นไปได้ว่ามีสิ่งอื่นที่น่าสนใจอยู่รอบตัว ทำให้ทารกเบี่ยงเบนความสนใจจากการดูดนมแม่ เช่น เสียงดัง หรือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่รู้จักการเล่น การดูโทรทัศน์ หรือการเล่นแท็บเล็ต ก็ทำให้ทารกสนใจสิ่งเหล่านี้มากกว่าได้ นอกจากนี้การที่เปลี่ยนเครื่องใช้ที่ให้กลิ่นใหม่ เช่น สบู่ แชมพู หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ก็ทำให้ทารกไม่คุ้นชินจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนมแม่ได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับการรับมือเมื่อลูกไม่ยอมกินนมแม่

การรับมือกับปัญหาลูกไม่ยอมกินนมแม่ ทำได้หลายวิธี สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 

  • เมื่อลูกกินนมน้อย ควรปรับเปลี่ยนท่าป้อนนมหรือท่าให้นมลูก เพื่อให้ทารกรู้สึกสบายตัวและกินนมได้ง่ายขึ้น
  • กอด สัมผัส ปลอบโยน และโอบอุ้มทารกระหว่างให้นม เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ดูดนมแม่ได้อย่างสบายใจ
  • ให้นมลูกน้อยในห้องที่เงียบและไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนหรือเบี่ยงเบนความสนใจ
  • ควรให้นมตรงเวลาเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัด และนำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนมแม่
  • กำหนดปริมาณนมและอาหารสำหรับทารกในแต่ละมื้ออย่างเหมาะสม รวมถึงรอเวลาที่ทารกหิวนมและอยากนม จึงค่อยป้อนนม
  • พยายามยื่นเต้าให้ลูกทุกครั้งที่ลูกมีท่าทีว่าต้องการดูดนม หรือหากลูกไม่ยอมกินนม ควรหยุดและลองทำใหม่อีกครั้งเมื่อลูกจะนอนหรือง่วงมาก

 

ลูกไม่กินนม เทคนิคช่วยให้ลูกทานนมแม่ได้ง่ายขึ้น

 

เทคนิคช่วยให้ลูกกินนมแม่ได้ง่ายขึ้น

การให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้ง่ายขึ้น ควรเริ่มจากหลักการให้นมที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม โดยใช้หลัก ดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี ดังนี้

  1. ดูดเร็ว - คุณแม่ควรให้นมลูก ด้วยการให้ลูกน้อยลูกดูดนมตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังคลอด จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น
  2. ดูดบ่อย - การให้นมลูกในช่วงแรกเกิด - 1 เดือน ลูกควรได้ดูดนมแม่ทุกครั้งเมื่อต้องการ อย่างน้อย 8 ครั้งหรือมากกว่า ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมง ควรปลุกลูกให้ดูดนมแม่ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เด็ก จะดูดนมแต่ละมื้อได้มากขึ้น และปรับตัวมากินนมในช่วงกลางวันบ่อยกว่า กลางคืน
  3. ดูดถูกวิธี - การให้นมลูก ด้วยการเอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี จะทำให้ลูกดูดนมได้เต็มที่ คุณแม่ไม่เจ็บ

 

เพราะนมแม่ คือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และการให้นมของคุณแม่ยังเป็นการแสดงความรัก สร้างความผูกพันที่ดี คุณแม่จึงควรหาสาเหตุของการที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือลูกกินนมน้อย และช่วยให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ได้อย่างสบายกายและใจจนครบวัยให้นม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน