ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

09.05.2024

ในความเป็นจริงแล้วไม่มีคำว่าแพ้แลคโตส มีแต่เด็กที่เกิดอาการหลังกินนมที่มีน้ำตาลแลคโตส เช่น ท้องอืด อาเจียน ปวดท้องหรือท้องเสีย ซึ่งเกิดจากระบบการย่อยน้ำตาลแลคโตส เช่นในกรณีที่เด็กมีปัญหาท้องเสียเรื้อรังซึ่งอาจจะเกิดจาการแพ้นมวัว หรือการติดเชื้อไวรัสโรต้าหรือ โนโรไวรัส จะทำให้เกิดการหลุดลอกของเซลเยื่อบุลำไส้ที่เป็นตัวสร้างน้ำย่อยแลคเตสไปชั่วคราว เมื่อลูกหายจากอาการท้องเสียแล้ว เซลเหล่านี้ก็จะฟื้นตัวกลับมาสร้างน้ำย่อยได้เหมือนเดิม ดังนั้นอาการที่เกิดหลังกินนมที่มีน้ำตาลแลคโตสนั้นเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น และไม่ได้เกิดจากการแพ้แต่อย่างไร ในขณะที่นมแม่ก็มีน้ำตาลแลคโตสในปริมาณสูงเช่นกัน คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการนี้อย่างไรบ้างไปดูกันเลย

headphones

PLAYING: ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • ไม่มีคำว่าแพ้แลคโตส ทารกที่ทานนมที่มี้น้ำตาลแลคโตสแล้วเกิดอาการผิดปกติ จากการที่ลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติในนมหรือผลิตภัณฑ์นม ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องเสียหรือปั่นป่วนในท้องแบบเฉียบพลัน คลื่นไส้ และท้องอืด
  • อาการย่อยแลคโตสไม่ได้ ค่อนข้างเป็นอาการที่มักพบได้ จึงเป็นเรื่องยากที่คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจ ดังนั้นจึงควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันและอาการต่าง ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์
  • หากลูกน้อยที่ทานนมแม่อยู่นั้น คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่า ซึ่งจะทำให้ลูกยังสามารถดื่มน้ำนมแม่ได้โดยไม่มีอาการจากการย่อยน้ำตาลแลคโตส เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์มากมาย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกไม่สามารถกินแลคโตสได้

คืออาการที่เกิดขึ้นจากการกินนมที่มีน้ำตาลแลคโตสแล้วไม่สามารถย่อยได้ ทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะหลังจากมีอาการป่วยติดเชื้อที่พบได้บ่อย ๆ คือ ไวรัสลงกระเพาะ ซึ่งจะทำให้มีท้องเสียรุนแรง จนเซลบุลำไส้ที่สร้างน้ำย่อยแลคเตสเสียหายไป แพทย์จึงแนะนำให้กินนมสูตรแลคโตสฟรีชั่วคราวสัก 1 สัปดาห์ เพื่อรอให้เซลฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ปกติ ก็จะสามารถกลับไปกินนมสูตรปกติที่มีน้ำตาลอยู่ตามธรรมชาติ โดยปกติน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลแลคโตสอยู่แล้ว โดยเฉพาะในน้ำนมแม่มีน้ำตาลแลคโตสอยู่ถึง 7% และการมีเอ็นไซม์แลคเตสไม่เพียงพอเรียกว่าภาวะพร่องเอ็นไซม์แลคเตส
 

สัญญาณที่บอกว่าลูกแพ้แลคโตส

 

โดยทั่วไปแล้วอาการย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  • ระดับปฐมภูมิในทารก เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากของประเทศไทย และต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
  • ระดับทุติยภูมิ ในเด็กทารก พบได้มากกว่า เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเยื่อบุผิวลำไส้เล็กที่สร้างเอ็นไซม์แลคเตสู่ถูกทำให้เสียหาย จาการติดเชื้อในลำไส้แล้วทำให้มีอาการท้องเสีย ทำให้เอ็นไซม์แลคเตสทำงานได้น้อยลง

 

อาการที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในทารก

มักเกิดขึ้นหลังจากกินนมหรือผลิตภัณฑ์นมไปแล้ว 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง โดยอาการที่พบ มีดังนี้

 

บ่อยครั้งที่จะเกิดอาการขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแลคโตสเกินขีดจำกัดของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ร่างกายสามารถรับแลคโตสปริมาณเล็กน้อยจากโยเกิร์ตได้โดยไม่แสดงอาการออกมา แต่การดื่มนมหนึ่งแก้วอาจทำให้ได้รับแลคโตสมากเกินไป จนทำให้แสดงอาการออกมา อาการของการย่อยน้ำตาลแลคโตส ค่อนข้างเป็นอาการที่มักพบได้ทั่วไป จึงเป็นเรื่องยากที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้ว่าลูกมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นจึงควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันและอาการต่าง ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์

 

จะมีวิธีรับมือกับปัญหาการย่อยน้ำตาลแลคโตสได้อย่างไร

วิธีง่าย ๆ ก็คือ ในช่วงที่มีปัญหาท้องเสีย ควรงดนมวัวที่มีน้ำตาลแลคโตส เปลี่ยนไปทานนมสูตรที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตสชั่วคราวสัก 1 สัปดาห์ เมื่ออาการท้องเสียดีขึ้นแล้วสัก 4-5 วันค่อยกลับไปทานนมสูตรปกติเหมือนเดิมได้ การงดนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นการตัดอาหารกลุ่มสำคัญจากอาหารที่ลูกกิน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพตามมา เพราะนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งของแคลเซียม ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน และน้ำตาลแลคโตสยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีมากขึ้นด้วย โดยหากลูกน้อยที่ทานนมแม่อยู่นั้น คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่านั่นเอง ทำให้ลูกยังสามารถดื่มน้ำนมแม่ได้โดยไม่มีอาการจากปริมาณน้ำตาลแลคโตส เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์มากมาย มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย อีกทั้งโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย รวมถึงมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ถ้ายังมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่



อ้างอิง:

  1. ไขข้อข้องใจ..โรคแพ้โปรตีนนมวัวและการย่อยแลกโทสบกพร่อง ต่างกันอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก