10 อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการคนท้องระยะแรก เป็นอย่างไร
อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา
อาการคนท้องในช่วงระยะ 1-2 สัปดาห์แรก
- ประจำเดือนขาด
ในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาปกติอย่างสม่ำเสมอ อาการขาดประจำเดือน เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่การที่ประจำเดือนขาด อาจเกิดจากสาเหตุอื่นด้วยเช่นกัน เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน ความเครียด น้ำหนักตัวที่ลดหรือเพิ่มมากเกินไป ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือความผิดปกติของมดลูก เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความแน่ใจลองครองใช้เครื่องมือตรวจครรภ์ หรือเข้าตรวจครรภ์กับแพทย์ก่อนจะดีที่สุด - เลือดออกทางช่องคลอด
หลังจากที่เกิดการปฏิสนธิได้ประมาณ 6 - 12 วัน ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ลักษณะคล้ายกับสีของประจำเดือนแต่สีจางกว่าออกเป็นสีแดงอ่อน หรือสีชมพู และจะหายไปภายใน 1-2 วัน อาการนี้เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนในผนังมดลูก ทำให้มีเลือดไหลซึมออกเล็กน้อย แต่ถ้าคุณแม่พบว่ามีเลือดไหลออกมาพร้อม ๆ กับอาการปวดท้องร่วมด้วย แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะท้องนอกมดลูกหรือการแท้งบุตรได้ - จมูกไวต่อกลิ่น
อาการเหม็น ได้กลิ่นจนอยากอาเจียน อาการแพ้ท้องที่หญิงตั้งครรภ์หลายคนต้องเผชิญ แม้เมื่อก่อนจะเคยเป็นสิ่งที่ชอบ อาหารที่ชอบ หรือสิ่งที่หอมมาก่อน แต่พอตั้งครรภ์แล้วกลับไม่ได้รู้สึกเหมือนเดิมแค่เห็น หรือได้กลิ่นเพียงนิดเดียวก็รู้สึกเหม็นไปหมด อาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายคนท้องที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้จมูกมีความไวต่อกลิ่นเป็นพิเศษ ในว่าที่คุณแม่มือใหม่บางคนเป็นหนักถึงขั้นเหม็นสามีตัวเองก็มี - คลื่นไส้ และอาเจียน
อาการคลื่นไส้และอาเจียนมักเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังจากเริ่มมีการตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในอาการแพ้ท้องยอดฮิตของอาการคนท้องเลยก็ว่าได้ สำหรับบางคนอาการคลื่นไส้อาเจียนอาจไม่เกิดขึ้นเลย บางคนอาจเกิดขึ้น 2-3 เดือนหลังจากตั้งครรภ์ ในทางกลับกันบางคนอาจรู้สึกแพ้ท้องในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ก็ได้ - คัดเต้านม
ในสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จะมีอาการเต้านมคัดตึง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเต้านม เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการคนท้องที่เกิดจากการปรับสภาพที่รวดเร็วของต่อมน้ำนม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเต้านมขยายใหญ่ขึ้นมากขึ้น จนทำให้เต้านมบวม ตึง หัวนมเจ็บและไวต่อสิ่งสัมผัสคล้ายกับอาการช่วงมีประจำเดือน แล้วจะมีอาการอยู่แบบนี้ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง - มีตกขาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อาการตกขาวของคนท้อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จนทำให้เกิดเลือดมีการคั่งมากบริเวณช่องคลอด และคอมดลูก ทำให้ต่อมต่าง ๆ ในคอมดลูกต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่วนน้ำที่หลั่งน้ำออกมาจากช่องคลอดเมื่อเจอเข้ากับเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นปกติในช่องคลอดของผู้หญิงทุกคน จึงเกิดการย่อยเซลล์เหล่านั้นให้สลายกลายเป็นตกขาวออกจากช่องคลอดนั่นเอง สำหรับตกขาวประเภทนี้จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่ถ้าตกขาวมีการเปลี่ยนสี มีกลิ่น และเกิดอาการคันร่วมด้วยเมื่อไหร่แสดงว่ามีการติดเชื้อ คุณแม่ต้องไปพบแพทย์ - รู้สึกเหนื่อยง่าย
อาการเหนื่อยเมื่อยล้า เป็นอาการของคนท้องที่เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่งมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หรืออาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ รวมกัน ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกง่วงนอน และเพลียง่ายอยู่ตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย อาการแบบนี้เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ต้องการให้คุณแม่ได้พักผ่อน และลดกิจกรรมต่าง ๆ ลง นอนหลับพักผ่อนเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวเพื่อรอต้อนรับสมาชิกใหม่ - ปัสสาวะบ่อย
หลังจากที่คุณแม่ประจำเดือนขาดไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ เนื่องจากการขยายตัวของมดลูกในอุ้งเชิงกรานที่ขยายไปเบียดกระเพราะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น และเกิดจากปริมาณของเลือดที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เลือดไหลผ่านไตมากกว่าเดิม ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นร่างกายจึงมีการขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่อาการปัสสาวะบ่อย ๆ อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ ทุกคน แต่คุณแม่จะเริ่มถึงอาการปัสสาวะบ่อยมากขึ้น เมื่อมีมีอายุครรภ์มากขึ้น และจะเป็นบ่อยมากในช่วงใกล้คลอด - อารมณ์แปรปรวน ขี้น้อยใจ หงุดหงิดง่าย
ไม่ใช่แค่สภาวะทางร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง สภาวะทางอารมณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็การเปลี่ยนแปลงด้วย ทำให้คนท้องมีอาการหงุดหงิด เหวี่ยง วัน ฉุนเฉียว โกรธง่ายมากกว่าปกติ ในหญิงตั้งครรภ์บางคนอยู่ ๆ ก็รู้สึกอารมณ์อ่อนไหว เศร้า ซึม อยากร้องไห้ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนไม่ใช่เป็นคนเจ้าน้ำตา หรือเป็นคนขี้น้อยใจ อาการทั้งหมดนี้เป็นเพียงผลจากฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งในบางครั้งคุณแม่เองอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ - ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับทารกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น รวมกึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจไม่พบอาการท้องผูก แต่จะพบบ่อยในช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาส 2-3 สาเหตุมาจากการบีบตัวของลำไส้จากมดลูกกดทับ เพราะเมื่อทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ทำให้มดลูกขยายไปกดทับลำไส้ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องผูกขึ้นได้ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การทานอาหารที่มีกากใยสูง ๆ ย่อยง่าย และดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ เพื่อให้บรรเทาอาการท้องผูกลดน้อยลง

เคล็ดลับดูแลตัวเอง เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้องมากขึ้น หากมีอาการแพ้ท้องจนทานอาหารไม่ได้ ควรแบ่งอาหารทานในปริมาณน้อยแต่ทานให้บ่อยขึ้น แล้วลองจิบน้ำขิงเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง
- เลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง คุณประโยชน์ครบถ้วน โดนเน้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ในแต่ละมื้อ แทนอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน อาหารรสจัด ผงชูรส หรือของหมักดอง เป็นต้น
- ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ให้น้อยที่สุด และเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากที่สุด ได้แก่ แอลกอฮอล์ และบุหรี่
- นอนพักผ่อนระหว่างวัน โดยที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหาเวลานอนงีบประมาณ 30-60 นาทีต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ไม่รู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่ายจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- พยายามดูแลสุขภาพช่องปากอยู่เสมอ ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้หลายสัปดาห์ ควรใส่ใจสุขภาพฟันอยู่เสมอ เนื่องจากคนท้องมักมีปัญหาฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย
- เข้ารับการดูแลครรภ์จากคุณหมอ เพื่อลดโอกาสที่ทารกในครรภ์จะเกิดมามีความผิดปกติ ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลาของการฝากครรภ์คุณหมอจะให้คำแนะนำ และติดตามการตั้งครรภ์ของคุณแม่อย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ทานยาบำรุงครรภ์ที่สำคัญในช่วง 3 เดือนแรก เช่น วิตามินบี 9 หรือ โฟลิค เป็นต้น
- การออกกำลังระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำได้ เพราะสามารถช่วยให้ลดการเกิดเบาหวานและความดันโลหิตสูงของคนท้อง รวมถึงการคลอดลูกก่อนกำหนด แต่การออกกำลังควรทำอย่างระมัดระวังไม่ควรหักโหมเกินไป โดยกิจกรรมที่แนะนำ เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน และการยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- พยายามสำรวจและสังเกตอาการระหว่างตั้งครรภ์ของคนท้องอยู่เสมอ หากพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด แนะนำให้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
พัฒนาการทารกในครรภ์ระยะ 1 – 2 สัปดาห์
ในช่วงสัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่รู้ไม่ว่าตอนนี้ทารกมีขนาดเหมือนวุ้นไข่ที่ฝั่งตัวอยู่ในผนังมดลูกแล้วนะ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจะสร้างรกและสายสะดือเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงอาหารระหว่างแม่มาให้ลูกน้อย ในขณะที่ลูกจะมีการขับถ่ายของเสียจากลูกไปสู่แม่ ในช่วงนี้ทารกน้อยจะอยู่ในถุงน้ำที่ห่อหุ้มรอบตัวเพื่อคุ้มครองทารกในครรภ์ให้ปลอดภัย
พอมาถึงช่วงสัปดาห์ที่ 2 – 3 ของการตั้งครรภ์ ทารกน้อยจะเริ่มมีการเสริมสร้างประสาทไขสันหลัง และกระดูกสันหลัง รวมทั้งเส้นประสาทอื่น ๆ ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ควรเริ่มที่จะมีอาการคนท้องต่าง ๆ เช่น อาการแพ้ท้อง อ่อนเพลีย อารมร์แปรปรวน เพราะผลมาจากฮอร์โมนและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคนท้อง
อาการของคนท้องในระยะแรกอาจมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนมีอาการแพ้ท้องมากตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ บางคนแทบไม่แสดงอาการอะไรเลยจนกลายเป็นว่าท้องไม่รู้ตัวและมารู้ตัวอีกทีตอนที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจนผิดสังเกต เช่น ประจำเดือนขาด คลื่นไส้ วิงเวียน เหม็นอาหาร และอยากทานอาหารแปลก ๆ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เมื่อคุณสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถทดสอบเบื้องต้นได้จากชุดตรวจครรภ์ หรือถ้ายังไม่แน่ใจสามารถเข้ารับการตรวจครรภ์จากแพทย์ได้ หากคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรเริ่มต้นดูแลตนเองทันที โดยเน้นทานอาหารที่ให้คุณค่าทางสารอาหารสูง และเตรียมพร้อมทุกการเรียนรู้ของลูกน้อยด้วย สฟิงโกไมอีลิน เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต และพัฒนาการรอบด้านของลูกน้อยตั้งแต่ 1000 วันแรกของชีวิต
หากคุณแม่มือใหม่ มีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพการตั้งครรภ์ โภชนาการ และพัฒนาการลูกน้อย สามารถปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชียวชาญได้ที่ S-Mom Club ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงสมัครสมาชิกฟรีที่ https://www.s-momclub.com/profile/register
S-Mom Club พร้อมเคียงข้างช่วงเวลาสำคัญของคุณและลูกน้อย
บทความแนะนำ

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก
ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

ฤกษ์ผ่าคลอด 2566 ฤกษ์คลอด วัน เวลาดี เสริมดวงลูกรัก
สำหรับลูกน้อยที่เกิดในปี 2566 ตรงกับนักษัตรเถาะ มักเป็นคนที่นุ่มนวล มารยาทงาม มีสัมมาคารวะ เป็นที่รักของผู้ใหญ่และคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกำลังวางแผนการตั้งครรภ์ หรือหาฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอดมหามงคล เพื่อส่งเสริมดวงให้ลูกน้อยในปีนี้ S-Mom Club มีฤกษ์ผ่าคลอดสุดเฮงสำหรับปีนี้มาแนะนำค่ะ