คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

24.05.2024

เชื่อว่ามีคุณแม่หลาย ๆ คน ที่ก่อนตั้งครรภ์ติดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีสารคาเฟอีน เพราะช่วยให้ตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น พอคุณแม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ จึงอาจมีความกังวลว่าสารคาเฟอีนจากกาแฟจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ และการดื่มกาแฟที่มีรสหวาน อาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมถึงทำให้ขาดแคลเซียมได้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถดื่มได้ในปริมาณคาเฟอีนที่เหมาะสม เช่น ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/วัน และไม่ควรดื่มติดต่อกันตลอดช่วงการตั้งครรภ์ จึงจะปลอดภัยกว่า

headphones

PLAYING: คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การดื่มกาแฟ ร่างกายจะได้รับสารที่ชื่อว่า คาเฟอีน ซึ่งมีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น หรือความดันโลหิตสูง อาจส่งผลต่อการหลับไม่ดี ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กและแคลเซียมไม่พอ
  • หากเป็นไปได้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจค่อย ๆ ลดปริมาณดื่มกาแฟลง และไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 50 มิลลิกรัมต่อวัน และรับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • การดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนแทน เช่น นมจืด น้ำผลไม้ที่ไม่หวานจนเกินไป จะช่วยทดแทนรสหวานจากกาแฟลงได้ ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์มากกว่า และยังช่วยเพิ่มความสดชื่น ลดการกระหายน้ำลงได้อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณหมอแนะนำอย่างไร

กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา โกโก้ หากดื่มระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงเบาหวานต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น หรือความดันโลหิตสูง และฤทธิ์ของคาเฟอีนอาจทำให้คุณแม่นอนไม่หลับ อาจส่งผลต่อการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มกาแฟลง และไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 50 มิลลิกรัมต่อวันและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งกาแฟ 1 แก้ว จะมีคาเฟอีนโดยประมาณ 63-165 มิลลิกรัม หรือชา 1 แก้ว จะมีคาเฟอีนโดยประมาณ 26-48 มิลลิกรัม

 

ในกาแฟมีอะไรบ้าง ที่ส่งผลกับการตั้งครรภ์โดยตรง

คาเฟอีน

ส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยมากมาย ทั้งการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอาจมีปริมาณน้ำตาลสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง และยังส่งผลต่อการพักผ่อนไม่เพียงพอของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้

 

น้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

หากคุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มมีอาการกระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าคุณแม่อาจมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด ลูกในครรภ์น้ำหนักแรกคลอดมากผิดปกติ และระดับน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำทันทีหลังคลอด ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบหายใจ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้

 

คาเฟอีน ส่งผลเสียอะไรบ้างกับคนท้อง

คาเฟอีน ถือว่าเป็นสารที่สามารถส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์และคุณแม่เอง โดยอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ดังนี้

1. ทำให้ลูกในครรภ์อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

คาเฟอีนจะส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย ซึ่งสวนทางกับความต้องการธาตุเหล็กในการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ อีกทั้งคาเฟอีนยังไปกระตุ้นการปัสสาวะ ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่สูญเสียแคลเซียมได้

 

2. อาจเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ขณะตั้งครรภ์

โดยส่วนใหญ่คาเฟอีนที่คุณแม่ได้รับจะมาจากเมนูอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และคาเฟอีนยังอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเต้นหัวใจของลูกน้อยเร็วขึ้นได้

 

3. พักผ่อนไม่เพียงพอ

ผลที่ตามมาจากการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายตื่นตัว ไม่ค่อยรู้สึกง่วง ซึ่งหากเราเป็นคนปกติที่อยู่ในวัยทำงานทั่วไป ก็อาจจะเป็นผลดี แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับ ซึ่งการพักผ่อนให้เพียงพอถือเป็นเรื่องสำคัญมากของคุณแม่ตั้งครรภ์

 

คนท้องกินกาแฟได้ไหม หากกินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ จะส่งผลอะไรบ้าง

 

คาเฟอีน ส่งผลเสียอะไรกับลูกในท้องบ้าง

1. อาจผ่านรกไปสู่ลูกในครรภ์

เมื่อลูกในครรภ์ได้รับคาเฟอีน ร่างกายจะขับคาเฟอีนออกได้ไม่ดีนัก ซึ่งอาจส่งผลไปกระตุ้นการตื่นตัว ทำให้ลูกนอนไม่หลับหรือมีผลกับการเคลื่อนไหวร่างกายในครรภ์

 

2. เสี่ยงพิการแต่กำเนิด

รวมถึงอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ แม้จะยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยัน แต่เพื่อลดความเสี่ยง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงการได้รับสารคาเฟอีนให้มากที่สุด

 

3. น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์

รวมถึงภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจส่งผลให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายยังไม่สมบูรณ์

 

4. เสี่ยงต่อภาวะแท้ง

มีผลการศึกษาว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับคาเฟอีนเลยถึง 2 เท่า

 

คนท้องกินกาแฟ ทำไมถึงควรดื่มน้ำเปล่าให้มาก

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มกาแฟ จะทำให้ร่างกายได้รับคาเฟอีน ซึ่งมีผลให้ร่างกายขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ จึงควรดื่มน้ำทดแทนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย ลดภาวะขาดน้ำจากการปัสสาวะบ่อยภายหลังได้รับคาเฟอีน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยแก่ลูกน้อยและคุณแม่ตั้งครรภ์ ทางที่ดีที่สุดจึงควรหลีกเลี่ยง หรือรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนให้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง

 

คนท้องติดกาแฟมาก คุณแม่ลดกาแฟด้วยวิธีไหนดี

1. ค่อย ๆ ลดปริมาณกาแฟลง

เพราะคาเฟอีนในกาแฟอาจส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่และลูกในครรภ์ อีกทั้งมีผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน จะมีโอกาสเกิดภาวะแท้ง หรือครรภ์ผิดปกติมากขึ้นด้วย

 

2. หันไปลองเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนแทน

เนื่องจากช่วยทดแทนรสหวานของเครื่องดื่มกาแฟ หรือชาได้ อีกทั้ง นมจืด หรือน้ำผลไม้ ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์มากกว่า และยังช่วยเพิ่มความสดชื่น ลดการกระหายน้ำลงได้อีกด้วย

 

กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยม ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เหมาะสำหรับวัยทำงานที่ต้องการตัวช่วยกระตุ้น ไม่ให้รู้สึกง่วงในระหว่างทำงาน แต่สำหรับคุณแม่ที่เริ่มรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรเริ่มลดปริมาณการบริโภคกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลงให้ได้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพราะผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์มีมากกว่าผลดี และเชื่อว่าคุณแม่ทุกท่านต้องการให้ลูกน้อยมีความปลอดภัย สุขภาพร่างกายแข็งแรง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงหรืองดดื่มก็จะดีที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คนท้องกินกาแฟ โกโก้ หรือชาเขียวได้ไหม, โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. ดื่มกาแฟขณะตั้งครรภ์ อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่ ?, PobPad
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์กับเครื่องดื่มคาเฟอีน ที่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลนนทเวช
  5. ครีมเทียมที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว – น้ำมันปาล์ม ไม่ใช่แหล่งไขมันทรานส์, กรมอนามัย

อ้างอิง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก