วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

09.05.2023

สำหรับผู้ญิงหรือว่าที่คุณแม่ที่กำลังวางแผนการตั้งครรภ์ การทำความเข้าใจเรื่องวันตกไข่หรือวิธีนับวันตกไข่ รวมถึงวงจรของวันไข่ตกในแต่ละรอบเดือน การนับวันตกไข่จึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ผู้หญิงสามารถคาดการณ์ช่วงวันที่ไข่ตกที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

headphones

PLAYING: วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • วันไข่ตก หรือวันตกไข่ คืออะไร วันที่ไข่ในรังไข่สุกหรือโตเต็มแล้วตกลงสู่ปลายท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ เมื่อถึงวันไข่ตก ไข่จะอยู่ในท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง โดยผู้หญิงทุกคนจะมีวันไข่ตกได้เพียง 1 ครั้งต่อรอบเดือน 
  • ผู้หญิงส่วนใหญ่มีรอบเดือนอยู่ที่รอบละ 28-35 วัน ในกรณีที่ผู้หญิงมีระยะห่างของรอบเดือนทุก 28 วันอย่างสม่ำเสมอ ไข่จะตกในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิเยื่อบุมดลูกจะหลุดออกไปและกลายเป็นประจำเดือน
  • วิธีการนับวันตกไข่สามารถทำได้โดยการจดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง หรือใช้เครื่องมือในการช่วยคำนวณวันไข่ตกเพื่อความสะดวกและความแม่นยำในการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
  • อาการไข่ตกของผู้หญิงมีตั้งแต่มีมูกใสมากกว่าปกติ ปวดท้องข้างใดข้างหนึ่ง เต้านมนิ่ม มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น ท้องอืด และอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงบางคนและบางอาการเท่านั้น

 

ทำความเข้าใจเรื่องวันไข่ตก

วันไข่ตกเป็นกระบวนการธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ผู้หญิงทุกคนจะมีวันไข่ตกได้เพียง 1 ครั้งต่อรอบเดือน โดยใช้เวลารอบละ 28-35 วัน จนกว่าจะถึงช่วงวัยหมดประจำเดือน รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน ซึ่งวิธีการนับวันตกไข่ให้เริ่มนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน  เมื่อถึงวันไข่ตกไข่จะอยู่ในท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง เพื่อรอให้อสุจิมาผสม หากคุณแม่ต้องการวางแผนการตั้งครรภ์ควรทำความเข้าใจเรื่องวันไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

 

วันไข่ตกคืออะไร

วันไข่ตก คือวันที่ไข่ในรังไข่สุกแล้วตกลงสู่ปลายท่อนำไข่เพื่อรอการผสมจากอสุจิ โดยผู้หญิงแต่ละคนจะมีวันไข่ตกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรอบของประจำเดือน ถ้าหลังจากไข่ตกแล้วไม่มีอสุจิมาผสมหรือผสมไม่สำเร็จ อีก 14 วัน ผู้หญิงจะกลับมามีรอบเดือนอีกครั้ง

 

เข้าใจวงจรวันไข่ตก

วงจรวันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ในแต่ละรอบเดือนของผู้หญิงจะมีวันไข่ตกเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ไข่จะตกช่วง 2 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนรอบใหม่จะมา โดยจะมีช่วงที่ไข่รอผสมกับอสุจิอยู่ที่ท่อนำไข่เพียง 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าผู้หญิงมีรอบเดือนตรงสม่ำเสมอทุก ๆ 28 วัน ไข่จะตกในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน เมื่ออสุจิมาเจอกับไข่ที่รออยู่แล้วเกิดการปฏิสนธิขึ้น ไข่จะเข้าไปฝังตัวที่เยื่อบุผนังมดลูกแล้วกลายเป็นตัวอ่อนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในที่สุด หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด

 

ไข่ตกจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

วงจรการเกิดไข่ตกจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงแต่ละคนโดยใช่รอบละ 28-35 วัน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 

  • ระยะก่อนไข่ตก:  โดยนับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน
  • ระยะไข่ตก: ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน ในช่วงที่เกิดไข่ตก รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งจะปล่อยไข่ใบที่โตเต็มที่หรือไข่ที่สุกแล้วออกไปยังท่อนำไข่ท่อใดท่อใดท่อหนึ่งเพื่อรอให้อสุจิมาปฏิสนธิ ในช่วงเวลานี้เยื่อบุมดลูกของคุณก็จะหนาขึ้นเช่นกันเพื่อเตรียมมดลูกสำหรับการฝังไข่ที่มีการปฏิสนธิ
  • ระยะหลังไข่ตก: หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หรือไข่ไม่มีการฝังตัวเข้าไปในมดลูก เยื่อบุมดลูกจะหลุดออกไปและประจำเดือนจะมา

 

ไข่ตกเกิดขึ้นนานแค่ไหน ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน

ในแต่ละรอบของช่วงไข่ตกจะมีระยะเวลาอยู่ในท่อนำไข่เพียง 12-24 ชั่วโมง หรือมีวันไข่ตกอยู่ที่ประมาณ 1 วัน แต่สิ่งที่คุณควรทราบคือ อสุจิสามารถอยู่ในมดลูกได้ 48-72 ชั่วโมง หากคุณมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันไข่ตก 1-2 วัน ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

 

การนับวันตกไข่ สำคัญอย่างไร

วันไข่ตกเป็นช่วงเวลาที่ไข่พร้อมในการปฏิสนธิมากที่สุด หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดการตั้งครรภ์มากที่สุด เพื่อโอกาสที่ดีที่สุดในการตั้งครรภ์ คุณควรมีเพศสัมพันธ์ทุกวันหรือวันเว้นวันในระหว่าง 5 วันก่อนที่จะมีการตกไข่ วันที่ไข่ตก และวันหลังจากไข่ตก 1 วัน รวมแล้วประมาณ 7 วัน

 

การนับวันตกไข่ สำคัญอย่างไร สำหรับคุณแม่อยากมีลูก

 

วิธีนับวันตกไข่ สำหรับว่าที่คุณแม่ มีอะไรบ้าง

การนับรอบเดือนของผู้หญิงควรเริ่มนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนในรอบปัจจุบันไปจนถึงวันวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งถัดไป จึงจะได้ระยะห่างของรอบเดือนหรือความยาวของรอบเดือนแต่ละรอบ จากนั้นมาหาวิธีนับไข่ตก ดังนี้

 

1. จดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง

การจดบันทึกรอบเดือนของตัวเองจะช่วยให้ผู้หญิงคาดการณ์วันไข่ตกได้ คือ

  • ในผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ อาจใช้การจดบันทึกรอบเดือนและควรจดอย่างน้อย 2 รอบเดือน วิธีคำนวณวันไข่ตก ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือน – 14 เช่น เดือนก่อนหน้านี้ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ 6 เม.ย. เดือนล่าสุด มีประจำเดือนวันแรก คือ วันที่ 7 พ.ค. แสดงว่า รอบเดือนห่างกัน 32 วัน ดังนั้น ให้นำ 32-14 จะได้ 18 หมายความว่า จะมีช่วงที่ไข่ตกในอีก 18 วันของรอบเดือนถัดไป หรือก็คือวันที่ 24 มิ.ย. นั่นเอง
  • ในกรณีที่ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอแนะนำให้มีการจดบันทึกรอบเดือนให้นานกว่านั้น โดยจดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนจนถึงวันสุดท้ายของรอบเดือน เพื่อดูความยาวของรอบเดือน โดยว่าที่คุณแม่สามารถนับอายุครรภ์ได้ด้วยตัวเอง หรือใช้ วิธีคำนวณวันไข่ตก ดังนี้
    • ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือนที่สั้นที่สุด หรือวันแรกที่พร้อมตั้งครรภ์ – 18 ส่วนระยะห่างระหว่างรอบเดือนที่ยาวที่สุด - 11 เช่น รอบเดือนที่สั้นที่สุด คือ 28 วัน – 18 จะได้วันที่ 10
    • ส่วนรอบเดือนที่ยาวที่สุด หรือ วันสุดท้ายที่พร้อมตั้งครรภ์ คือ 32 วัน - 11 จะได้วันที่ 21
    • ดังนั้นช่วงวันไข่ตกจะอยู่ระหว่างวันที่ 10 ถึงวันที่ 21 ในรอบเดือนถัดไป

 

2. ใช้เครื่องมือคํานวณวันไข่ตก

  • ใช้ที่ตรวจไข่ตก : ชุดตรวจไข่ตก (LH ovulation test) เป็นการตรวจหาฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ในปัสสาวะ ปกติร่างกายของผู้หญิงจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดอยู่แล้วในปริมาณเล็กน้อย เมื่อถึงช่วงไข่ตกร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน LH เพิ่มขึ้น เมื่อใช้ชุดตรวจไข่ตกจะขึ้นผลเป็นบวกหรือขึ้น 2 ขีด โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจไข่ตก คือ ช่วงบ่าย 2 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมน LH ในร่างกายสูงที่สุด
  • ใช้ตัวช่วยนับวันตกไข่ เช่น แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรมคำนวณวันไข่ตก: เพื่อความสะดวกและความแม่นยำคุณสามารถเลือกใช้การจดบันทึกรอบเดือนโดยใช้แอปนับวันตกไข่ได้ เพราะแอปส่วนใหญ่จะช่วยวิเคราะห์และคาดการณ์วันไข่ตกได้อย่างแม่นยำ บางแอปอาจมีการแจ้งเตือนวันที่ไข่ตกได้ด้วย นอกจากนี้ว่าที่คุณแม่ยังสามารถใช้ตัวช่วยที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของเราอย่างโปรแกรมคำนวณวันไข่ตกได้อีกด้วย

 

อาการไข่ตก ช่วงที่มีไข่ตก ผู้หญิงจะมีอาการอย่างไร

อาการไข่ตกเป็นสัญญาณที่บอกว่าไข่กำลังสุกเต็มที่พร้อมเคลื่อนตัวไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ในช่วงไข่ตกนี้ร่างกายของผู้หญิงจึงมีการแสดงอาการต่าง ๆ คือ

  1. อุณภูมิร่างกายจะสูงขึ้น: ก่อนไข่ตกอุณหภูมิในร่างกายของผู้หญิงอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เมื่อวันที่ไข่ตกอุณภูมิจะสูงขึ้น ผู้หญิงบางคนอาจจะไม่ทันสังเกตการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ 
  2. เกิดมูกใสบริเวณปากมดลูก: ในวันที่ไข่ตกผู้หญิงจะมีมูกใสออกมาในปริมาณมากบริเวณที่ปากมดลูก คล้ายไข่ขาวดิบ ทั้งยังมีลักษณะยืดยาวและเหนียวข้นที่มากกว่าปกติ เพื่อให้อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกผ่านมูกที่ยืดยาวได้ง่ายขึ้น 
  3. อารมณ์ทางเพศที่เพิ่มสูงขึ้น: ช่วงไข่ตกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงร่างกายจึงมีการสูบฉีดเลือดที่มากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณช่องคลอดที่จะมีมากเป็นพิเศษส่งผลให้ผู้หญิงมีอารมณ์ทางเพศที่มากขึ้นและยังทำให้ดูมีน้ำมีนวลมากขึ้นด้วย
  4. เต้านมนิ่มขึ้น คัดตึงเต้านม: อาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีปริมาณสูงกว่าปกติส่งผลให้กรดไขมันกาโมลีนิก (Gamolenic Acid) ลดลง ในช่วงวันไข่ตกของผู้หญิงจึงมีอาการคัดตึงเต้านม
  5. ปวดท้องข้างเดียว หรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน: อาการปวดท้องเพียงข้างใดข้างหนึ่งจากไข่ตก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนจึงส่งผลให้ผนังรังไข่บวมและตึงขึ้น หรืออาจเกิดจากท่อนำไข่บีบรัดตัว ทำให้หลาย ๆ คนจึงรู้สึกปวดท้องหรืออุ้งเชิงกราน ขึ้นมา
  6. ท้องอืดหรือท้องผูก: ช่วงที่เกิดการตกไข่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องผูกขึ้นได้ เพราะฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารทำงานได้ต่ำลง

 

บทความแนะนำ

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่์ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่์ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูวิธีเตรียมความพร้อมกัน

การนับลูกดิ้น ลูกดิ้นตอนกี่เดือน สัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพลูกน้อย

การนับลูกดิ้น ลูกดิ้นตอนกี่เดือน สัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพลูกน้อย

การนับลูกดิ้น บอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ไปดูสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์กัน

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องอะไรบ้าง ที่บอกให้รู้ว่าคุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์